คุณเอี่ยม งามดำรงค์ จากเด็กรับใช้ในร้านเจียไต๋ใฝ่รู้สู้งานสู่ประธานกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ ฝากคนรุ่นใหม่ 3 ประโยชน์ดีที่สุด

คุณเอี่ยม งามดำรงค์ รองประธานอาวุโส เครือฯ เป็นอีก1ในผู้สร้างประวัติศาสตร์ซีพีได้ถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งเริ่มต้นทำงานอยู่กับเจียไต๋ในยุคเริ่มแรกและก้าวสู่การเป็นผู้บริหารเครือซีพีกับคณะทำงานด้านContent 100ปีซีพีว่ามาทำงานกับเจียไต๋ เป็นห้องแถวประมาณ4-5ห้องมีเก้าอี้นั่ง 3ตัวเหมือนเก้าอี้ดนตรี สลับกันนั่ง ข้างบนก็เป็นที่พักอาศัยของคุณแม่ท่านประธานอาวุโส คุณอาและพี่น้องพักอยู่ และก็มีโกดังเก็บเมล็ดพันธุ์ผัก ยังมีห้องเล็กๆสุดท้ายอีกห้องหนึ่ง เป็นบันไดขึ้นไปบนดาดฟ้า เมล็ดพันธุ์ผักสมัยก่อนจะบรรจุเป็นปี๊ปแล้วก็บัดกรีวางไว้ตามบันไดขึ้นไปดาดฟ้า ตอนนั้นมาอยู่ที่ร้านปี2501 ตอนอายุ13ปี

“ถามว่าอะไรทำให้มาอยู่ที่เจียไต๋ ผมเกิดที่โรงพยาบาลหัวเฉียว อาศัยอยู่เซียงกง เวลาพูดถึงเซียงกงคนจะบอกโอ้โหเป็นถิ่นที่คนมีเงิน เพราะว่าค้าเครื่องยนต์เก่าๆ แต่ไม่ใช่นะ ผมอยู่ในรูหนู เช่าห้องเล็กๆห้องหนึ่งมีห้องเล็กๆ5-6ห้อง เช่าห้องเล็กๆห้องเดียว ผมโตจากที่นั้นจนกระทั่งอายุ8ขวบเป็นเด็กเซ่อๆโง่ๆ คือไม่ได้ค่อยไปไหน อยู่แต่ในบริเวณบ้าน อายุ8ขวบยังพูดไทยไม่ได้ พูดแต่ภาษา แต้จิ๋ว อยู่กับครอบครัว มีแต่คนแต้จิ๋ว สิ่งแวดล้อมมีแต่คน จีน แล้วก็ไม่มีโอกาสเหมือนเด็กสมัยนี้ไปเที่ยวเล่นสนุกสนาน พอถึงเวลาที่ต้องเข้าเรียน ผมคิดว่าตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่คงงงว่าจะให้ไปเรียนที่ไหน ไม่เหมือนวันนี้ต้องวางแผนว่าเด็กอายุเท่าไหร่ต้องทำอย่างไรและกลัวว่าเด็กไม่เคยออกไปข้างบนอกก็กลัวรถรา ถึงแม้ว่าสมัยนั้นจะไม่ค่อยมีรถรา และไม่รู้จะไปเรียนตรงไหน เรียนที่ไหน โรงเรียนอะไร

อย่างนี้ก็ให้ส่งไปที่บ้านที่ดำเนินสะดวกบ้านคุณตาคุณยายคุณน้าทำสวนอยู่ยิ่งไม่มีรถราเลย ตามสวนก็ส่งไป ข้างๆประมาณ2-3 กิโลเมตรก็มีโรงเรียนวัดอยู่กลางทุ่งนาวัดแช่ไหมีแค่ประถม4 ก็ให้ไปอยู่และไปเรียนไปถึงก็เรียนสระอะสระอา แล้วก็พูดไทยไม่เป็น คุณครูก็ปวดหัว เวลาไปก็ต้องเอาปิ่นโตไป เดินเท้า เปล่าไปโรงเรียน ไม่มียูนิฟอร์มไม่มีกระเป๋าเรียน แล้วก็เด็กกรุงเทพไปอยู่ต่างจังหวัดต้องข้ามสะพานไม้ไผ่ ข้ามไม่เป็น เป็นครอบครัวยากจน พ่อแม่น้องสาวสองคน ผมเป็นคนโต มีปู่ด้วย ตอนนั้นที่ส่งไปเรียนที่ต่างจังหวัดปีนั้นพ่อก็เสียชีวิต การคมนาคมสมัยนั้นลำบากมาก คุณป้าหรือพี่สาวแม่ก็พาจากดำเนินสะดวกมากรุงเทพตั้งแต่เช้ามาถึงบ่ายไม่สามารถกลับมาวันเดียวได้ ต้องพรุ่งนี้พากลับมา ปรากฏว่าพากลับมาถึงพ่อก็เสียชีวิตแล้ว มาถึงก็เปิดผ้าป้อนข้าวคนจีนเค้าต้องป้อนข้าวให้พ่อแม่ เสร็จปั๊ปสัปเหร่อมาคอยแล้ว เดินจากเซียงกงแบกศพไปวัดปทุมคงคาเผาเลย ตายเช้า เผาบ่าย วันรุ่งขึ้นคุณปู่พาไปเอากระดูกแล้วเอาไปฝากไว้ที่วัดเล่งเน่งยี่จนกระทั่งคุณปู่เสีย ตอนนั้นเรามีปัญญาแล้วเอาศพไปฝังที่โพธาราม เอากระดูกคุณพ่อไปฝังรวมกับคุณปู่ที่โพธาราม”

“และเพื่อให้มีชีวิตเลี้ยงครอบครัว คุณแม่เป็นม้ายตอนอายุ29มีลูกสามคน และคุณปู่ ต้องหาบผลไม้ไปขาย ขายอยู่ในแถวเซียงกง ทรงวาด มีโอกาสไปขายผลไม้ให้กับท่านชนม์เจริญ ตอนนั้นผมก็จบป.4แล้ว โชคดีอันหนึ่งของผมคือหัวดี เรียนเก่ง เรื่องเลขนี่เด็ดขาดเลย เกือบสอบได้ที่หนึ่งทุกปี จบป.4คุณครูถามว่าแล้วจะไปเรียนต่อที่ไหนก็บอกครูว่าไม่ได้เรียนต่อกลับกรุงเทพต้องไปช่วยหารายได้ให้ครอบครัว กลับมากรุงเทพก็หางานทำ คุณปู่เป็นคนช่วยหางานให้ ปรากฏว่างานแรกได้ที่ห้างโต๊ะกังที่เยาวราชให้ไปเป็นเด็กรับใช้ ปรากฎว่าเค้ารับแล้ว วันรุ่งขึ้นหรือวันเดียวไม่แน่ใจ กลับมาเค้าบอกปฏิเสธไม่รับยังเด็กไป ปฏิเสธก็เลยไปหางานใหม่ หาไปหามา มีญาติห่างๆหางานที่โรงพิมพ์ที่โรงงานสว่างเป็นโรงพิมพ์ เงินเดือนครั้งแรก 60 บาททำมาได้เดือนสองเดือนเค้าเพิ่มให้80บาท พอดีแม่ขายผลไม้เจอ ท่านชนม์เจริญท่านก็ถามว่าครอบครัวมีใครบ้าง

คุณแม่ก็บอกว่ามีลูกชายกับลูกสาว แล้วถามว่าลูกชายทำอะไร คุณแม่ ก็บอกเลยว่าทำงานโรงพิมพ์ ท่านเลยนะแนะนำว่าเอาลูกชายมาทำงานกับฉันดีกว่า มาทำงานที่เจียไต๋ อนาคตดีกว่า ตอนนั้นผมทำที่โรงพิมพ์ได้สักสามเดือน แม่ก็มาเล่าให้ฟังว่าวันนี้ได้เจอเถ้าแก่เจียไต๋ ท่านชวนให้มาทำงานที่เจียไต๋ เราก็อิดเอื้อน แม่ถามความเห็นคนแถวร้านเจียไต๋ก็บอกมีโอกาสมาทำที่นี่คงมีโอกาสดีกว่า คนในละแวกนั้นรู้จัดเจียไต๋แล้วแล้วก็รู้ว่าเจียไต๋เป็นบริษัทที่ดี สุดท้ายก็มา แปลกอยู่อย่างหนึ่ง แม่ผมถามท่านชนม์เจริญว่าต้องเอาเด็กมาให้ท่านดูไหม ท่านบอกไม่ต้อง ผมจึงพูดมาถึงวันนี้ว่าผมเข้ามาทำงานโดยไม่ต้องถูกดูตัว ไม่ต้องถูกสัมภาษณ์ ก็พอดีตรุษจีน ท่านก็บอกว่าตรุษจีนท่านจะไปพักผ่อนที่หัวหิน กลับมา หลังตรุษจีนคุณพาลูกคุณมาเลย เราก็ไปลางานที่โรงพิมพ์ เถ้าแก่โรงพิมพ์บ่นเสียดายได้เด็กขยันดี ก็จะย้ายล่ะแต่ก็ดีนะเห็นบอกว่าไปที่มีอนาคตดีกว่าก็สนับสนุน บอกว่าถ้าไปแล้วไม่สนุก ไม่ชอบหรือไม่อะไรกลับมาใหม่ได้ยินดีต้อนรับ”

คุณเอี่ยมเล่าว่าพอมาถึงร้านท่านก็ไม่ได้ให้ทำอะไร เราก็รู้หน้าที่เรา เด็กอายุ 13ขวบทำอะไรได้ มีโต๊ะทำงานก็เช็คโต๊ะ เช็ดโต๊ะ เทกระโถนอะไรต่อ อะไรก็ทำเป็นงานบริการ มาทำงานตั้งแต่ 7โมงเช้าถึง5โมงเย็น ตอนเช้าก็มาทานที่ร้านๆจัดอาหารไว้ให้3มื้อ เช้ากลางวันเย็น มีจ้างเชฟมาทำอาหารให้ ตอน นั้นพนักงาน เฉพาะหน้าร้านก็ประมาณ10กว่าคน แล้วผมมาเปลี่ยนงานที่ร้านเจียไต๋ได้เงินเดือนเพิ่ม เป็น 120 ปีที่สองจาก120เป็น180 ปีที่สามก็300 ตอนที่ท่านชนม์เจริญให้มาทำงานก็มีมร.แกรมเบล ทำงานอยู่ก็บอกเป็นเด็กรับใช้มร.แกรมเบล แต่ผมก็รับใช้หมดเลยนะ แม้กระทั่งญาติครอบครัวของท่าน ท่านใช้ให้ทำอะไรทำหมด ตี๋ไปซื้อของหน่อย มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็หางานทำ เค้ากำลังตากเมล็ดพันธุ์ผักอยู่เราก็ไปช่วยเค้าช่วยหมด ผมจำได้ว่าอายุประมาณสัก 15ผมก็แบกปุ๋ย 50กิโลกรัมทำทุกอย่างไม่เกี่ยง

“ตอนนั้นลูกชายท่านชนม์เจริญนับแต่ท่านวัลลภไปกับท่านเชิดชัยไปอยู่ออสเตรเลีย ไปเรียนหนังสือ ที่ผมรู้จักก็มีดร.ประทีป คุณพงษ์เทพ คุณภัทนีย์ คุณมนู คุณมนัส คุณวัชรชัย ท่านจรัญ ท่านมนตรี อยู่เมืองไทยแล้วเปิดร้านเจริญโภคภัณฑ์ หน้าร้านจะมีท่านประเสริฐ ท่านมินเป็นเสมียนทำบัญชี อยู่ในห้องของคุณอาหญิงของท่านประธานอาวุโส ช่วงนั้นท่านประธาน ท่านสุเมธยังไม่ได้กลับมา มีแต่ท่านจรัญ ท่านมนตรีบริหารเจริญโภคภัณฑ์เวลานั้นดร.ประทีป อายุน่าจะ11 เรียนที่โรงเรียนโกศล มีภาษา จีนด้วย แต่ละคนเรียนคนละที่ และบางทีคนในครอบครัวไม่ว่างก็จะให้ผมจ้างแท็กซี่ไปรับเด็กๆ ผมพอเป็นภาษาจีนท่านมนูกลับมา ผมก็ช่วยติวภาษาจีนให้ ทั้งแต้จิ๋ว จีนกลาง เพราะผมไปเรียนของผมตอนกลางคืน ส่วนมร.แกรมเบลท่านชนม์เจริญให้ติวภาษาอังกฤษ ท่านชนม์เจริญบอกให้ผมนั่งเรียนด้วย

ฉะนั้น ผมถือว่ามร.แกรมเบลเป็นอาจารย์ผมที่สอนABC ผม ผมเรียนABCจากท่านแล้วท่านก็สอนพิเศษตอนเย็นมีผู้ใหญ่อย่างท่านแสง ท่านสุเมธมาเรียน เราอยู่ข้างๆก็คอยฟังคอยดู แต่ตอนมาติวดร.ประทีปผมก็มีโอกาสมานั่งเรียน อีกสักระยะหนึ่งคนชื่อชนอยู่ข้างเจียไต๋โตกว่าผมสองปีท่านก็แนะนำให้ผมไปเรียนYMCA ที่วรจักร ผมไม่ต้องไปเรียนเบื้องต้น ผมเรียนขั้นสองขั้นหนึ่งไปแล้วและจากวรจักรกลับมาตอนนั้นเราไปเรียนตอน1ทุ่มไม่ถึงชั่วโมง กลับมาแถววัดเกาะก็มีการแอบสอนภาษาจีนกลางแต่เป็นครูแต้จิ๋วสอน ตอนที่ไปเรียนกลางคืนไม่ได้มีสอนวิชาอื่น สอนแต่ภาษาก็เรียนภาษทั้งสองอย่าง เรียนหมด เรียนแล้วก็มานั่งเขียนหนังสือที่ออฟฟิศเพราะที่บ้านไฟสว่างไม่พอ นั่งอยู่ออฟฟิศจนถึงประมาณ 4 ทุ่มถึงจะกลับบ้านพรุ่งนี้เช้าก็มาทำงานใหม่ ทำแบบนี้เหมือนเดิม”

คุณเอี่ยมเล่าอีกว่าพูดถึงเรื่องความโอบอ้อมอารี ความใจดีของท่านชนม์เจริญท่านเป็นคนใจดีมาก ท่านสอนผม อบรมผม ท่านบอกว่าอย่าท้อแท้ เราไม่มีโอกาสเรียน ถ้าเรามีความมุ่งมั่นที่จะเรียนหรืออะไรก็แล้วแต่ก็เปรียบเหมือนคนมีโอกาสเรียนเหมือนนั่งรถอะไรก็เป็นไม่ใช่ อยู่ที่เราจะทำหรือไม่ทำ จะรับทำหรือไม่ จนถึงวันนี้ผมก็รับที่จะทำ ไม่ปฏิเสธ อย่างที่บอกผมหัวดีเรียนอะไรก็เรียนได้ดี มีช่วงหนึ่งท่านเชิดชัยกลับมาทำส่งออกอยู่แถวสุริวงศ์ อยู่สักพักหนึ่งแล้วก็กลับมาอยู่ที่วัดเกาะทำเรื่องจดหมายโต้ตอบ ซึ่งก่อนนี้มร.แกรมเบลเป็นคนทำ แล้ววันดีคืนดีท่านเรียกผมมา จดหมายภาษาอังกฤษให้ผมเอาไปตอบ ผมก็ตกใจว่าเป็นลมแน่นอน ภาษาอังกฤษผมยังงูๆปลาๆให้ผมตอบเป็นภาษาอังกฤษเป็นไปได้อย่างไร ตอนนั้นอายุราว 20ได้ ตอนนั้นผมก็ย้ายไปช่วยงานหลายแห่งนะอย่างที่สุริวงศ์ ตรงนั้นก็เคยเป็นออฟฟิศ ซีพีเคยไปเช่า ชั้น 3 ออฟฟิศสวย ทันสมัยตอนนั้นทำพืชไร่ส่งออกโดยท่านมนตรี ท่านสุเมธไปนั่งประจำ ท่านประธานธนินท์กลับมาแล้วก็มารับผิดชอบอาหารสัตว์ที่วัดเกาะ ที่วัดเกาะก็ย้ายออฟฟิศมาที่หัววงเวียน ห้องใหญ่ขึ้นเป็นสองชั้น เป็นที่เช่าทั้งนั้น แม้แต่ออฟฟิศเลขที่ 88 ก็เช่าเจ้าของอยู่ชั้นบนแล้วก็เป็นหน้าร้านมีโต๊ะสัก6-7ตัวข้างหลังเข้าไปก็กั้นเป็นห้อง มีแอร์ในห้องนั้นก็จะมีท่านประเสริฐ ท่านประธานธนินท์ทำงานอยู่ คุณปทุมที่จ่ายเงินกลางก็อยู่ ท่านจะเป็นคนเขียนภาษาไทยตอบโต้กับลูกค้า เวลานั้นซีพีก็ร่วมทุนกับไต้หวันทำโรงทอกระสอบปอบรรจุพืชไร่ที่ปากช่อง ส่วนโรงที่สีคิ้วร่วมกับนิวไทยเวลานั้นนิวไทยก็ส่งออกพืชไร่เหมือนกัน สมัยนั้นก็ทำพืชไร่ส่งออกซึ่งไม่มีอะไรมากใบกระถิน ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด

“พูดถึงเลขที่88 ข้างหน้าเป็นร้านข้างหลังจะเป็นบล็อกๆเป็นรางไม้น่าจะสิบกว่าบล็อกใส่ ปลายข้าว ข้าวโพดบด รำ คนมาซื้อขอนี่กิโลหนึ่ง อันนี้กิโลหนึ่ง ขายปลีก แล้วมีโรงงานที่ตรอกจันทน์เป็นโรงผสม พวกนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบมาตั้งขาย คนมาซื้อเราก็ตักขาย ชั่งเป็นกิโลเอาไปผสมเลี้ยงสัตว์ตามหลังบ้านหรือเรียกว่าแบคยาร์ด เวลาที่ร้านเจียไต๋ไม่มีงาน ผมก็มาช่วยร้านซีพี ช่วยหยิบของ มันแค่ข้ามถนน ร้านเจียไต๋เลขที่102 ร้านซีพีเลขที่88 ผมก็วิ่งไปช่วยระหว่างเจียไต๋กับซีพี มีอะไรให้ช่วยทำก็ทำ มีใครให้ไปซื้อของก็ช่วยซื้อ ตอนนั้นซีพีขาดแคชเชียร์ผมจากเด็กรับใช้ที่เจียไต๋ก็ไปเป็นแคสเชียร์ บอกมาช่วยทำแคสเชียร์ แคสเชียร์ไม่มีอะไรก็รับจ่าย ต้องบอกว่าตอนผมอยู่กับมร.แกรมเบล ผมเรียนรู้งานเอกสาร ส่งออกด้วยตัวเอง มร.แกรมเบลไม่มีเวลามานั่งสอน ที่บอกไปให้บริการมร.แกรมเบล คือเวลาเค้าพิมพ์เอกสาร อย่างเอกสารส่งออก เค้าเรียกว่าอีซีหรือ Exchange Control แบงก์ชาติเค้าคุมเรื่องเงินตรา เวลาส่งออกต้องแจ้งชุดหนึ่งประมาณ 5ใบต้องพิมพ์ก็ต้องใส่แผ่นคาร์บอน ก๊อปปี้ผมก็มีหน้าที่ใส่แล้วก็สแตปเปอร์แล้วก็วาง มร.แกรมเบลหยิบมาแล้วก็พิมพ์เลย พิมพ์แล้วไม่พอข้างหลังเป็น Original ถอดสแตปเปอร์เอาต้นฉบับมาอยู่ข้างหลังแล้วก็ใส่ให้ท่านพิมพ์ ตอนเข้าออฟฟิศเจียไต๋ผมไม่รู้จักเครื่องพิมพ์ดีดเพราะไปอยู่ดำเนินตั้งสี่ปีไปโรงพิมพ์ก็เห็นแต่เครื่องพิมพ์ มาเข้าออฟฟิศเจียไต๋เห็นก็แปลกใจนี่หรือเครื่องพิมพ์ดีด ด้วยเป็นเด็กที่ไม่ประสีประสาก็ไปยืนดูท่านพิมพ์ด้วยความสนใจไม่เคยเห็น

ลองคิดดูทำงานอยู่แล้วมีเด็กมานั่งยืนจ้องทำงานจะเป็นอย่างไร เค้าบอกตี๋ไปนั่ง พอออฟฟิศไม่มีใครผมก็ไปนั่งดูพิมพ์ดีดผมก็เริ่มจำตัวอักษาอยู่ตรงไหนบ้าง จากนั้นก็เอากระดาษใส่แล้วลองเคาะเลย คุณธนิศท่านทำอย่างไรรู้ไหมท่านไปซื้อหนังสือหัดพิมพ์ดีดแล้วบอกให้ผมไปนั่งศึกษา ผมหัดพิมพ์ดีดด้วยตัวเอง หนังสือเล่มนี้ผมไม่เคยลืมท่านธนิศ หนึ่งในผู้สนับสนุนผม เสร็จแล้วผมใส่เอกสารให้มร.แกรมเบลพิมพ์แต่ผมไม่ได้ใส่เปล่านะครับแม้ภาษาอังกฤษจะไม่เป็นแต่ผมรู้มันพิมพ์ตัวอะไรแล้วตอนนั้นผมพิมพ์ดีดไทยเป็นแล้ว ผมก็คิดว่าน่าจะพิมพ์ดีดอังกฤษเป็น วันดีคืนดีมร.แกรมเบล แกโหลดงานพวกเอกสารส่งออกชิ้ปเมนท์เยอะก็ต้องพิมพ์เยอะ ผมเสนอตัวเลยมร.แกรมเบลผมช่วยพิมพ์ให้ไหมท่านก็เซอร์ไพรส์ทำเป็นหรือ ท่านก็ให้พิมพ์ เราก็พิมพ์ทั้งที่ไม่รู้เรื่องเลย แต่ทำไมพิมพ์ได้ผมก็ใช้วิธีจำเอาเลยแถวแรกพิมพ์อะไรแถวสองพิมพ์อะไร แถวสามพิมพ์อะไร พอตอนหลังเรารู้ภาษาอังกฤษจึงมารู้ว่านี่คือฟิลฟอร์ม จำได้ดีที่สุด แถวแรกใส่วันที่ แถว 2ใส่ขชื่อธนาคาร แถว3ใส่ชื่อผู้ส่งออก แถวที่4เป็นที่อยู่ผู้ส่งออก แถวที่5เป็นชื่อผู้รับสินค้า ใช้วิธีนี้จำ จนกระทั่งวันหนึ่งเป็น ตอนนั้นเอกสารโต้ตอบก็จะเป็นแถวสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง นำเข้าก็จะเป็นเมล็ดพันธุ์ผักจากญี่ปุ่นบ้าง เอเมริกาบ้าง ถ้าส่งออกก็จะเป็นพวกพืชไร่ ถั่ว กระถินป่น ก็จะบรรจุกระสอบก็ส่งไปสิงคโปร์ มาเลเซีย”

คุณเอี่ยมยังเล่าถึงคุณพ่อท่านประธานธนินท์ว่า ตอนที่ผมมาอยู่เจียไต๋ครั้งแรก ก็รู้จักท่าน ท่านก็รู้จักผม ท่านก็รู้ว่าเด็กคนนี้ทำงานเป็นเด็กออฟฟิศอยู่กับมร.แกรมเบล แต่ไม่รู้เพราะอะไรผู้ใหญ่ในเจียไต๋รักผมหมดว่านอนสอนง่าย จะใช้อะไรทำได้ ท่านเจียเอ็กชออาจจะรู้ว่าผมมีภูมิหลังเป็นอย่างไรท่านก็เลยมีอิมเพรสชั่นสำหรับผม ท่านกลับไปต่างประเทศไม่รู่กี่ปี ผมตอนนั้นจากวัดเกาะก็ไปอยู่ที่สุริวงวงศ์แล้ว ท่านกลับมาถามถึงผมว่าเด็กคนที่เคยอยู่กับมร.แกรมเบล ตอนนี้อยู่ที่ไหน ระยะหลังท่านมาอยู่ที่สิงคโปร์และมาไทยไปมาได้บ่อย ท่านมาทีไรจะโทรศัพท์เรียกผมเพราะบ้านพักเจียไต๋อยู่ที่หัวมุม โทรเรียกให้ไปกินข้าว ข้าวเย็นบ้าง เช้าบ้างกับท่าน แล้วท่านก็เล่าประวัติให้ผมฟังสร้างตัวตั้งแต่อายุสิบหกเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องสร้างครอบครัว และเวลาท่านจะเดินทางไปต่างประเทศท่านก็มอบหมายให้ท่านชนม์เจริญดูแลธุรกิจ ผมอ่อนกว่าท่าประธานธนินท์ 6ปี อ่อนกว่าท่านประธานประเสริฐ 9ปี อ่อนกว่าท่านสุเมธ 11 ปี อ่อนกว่าท่านมนตรี13ปี

“มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ประเทศไทยตัดความสัมพันธ์กับจีน ห้ามค้าขาย เมล็ดพันธุ์จากเมืองจีนก็มาไม่ได้ ท่านก็หาหนทางปลูกผักในเมืองไทยไปถึงฝาง จู่ๆท่านก็มาบอกให้ผมไปกับท่าน คนก็งงกันหมด ไอ้ตี๋นี่มาจากไหนคำว่าโชค ดวงชะตานี่มันประเมินไม่ถูก เด็กอายุ15-16 นั่งเรือบินแล้วกับท่านชนม์เจริญไปเชียงใหม่ ไปตั้งสองครั้ง พอจะไปครั้งที่สามไม่รู้ ผมเรียน มีสอบด้วยก็ไม่ได้ไป แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ที่โน้นอากาศเย็นก็จริงแต่ว่ามันป่าเยอะ แมลงเยอะ สู้แมลงไม่ไหว สุดท้ายต้องเอาพันธุ์ไปจ้างปลูกที่ญี่ปุ่น จ้างปลูกที่ไต้หวัน ผมจำได้ตอนนั้นพอเมล็ดพันธุ์นำเข้าไม่ได้ ราคาพุ่งเหมือนเมืองจีนปัจจุบันหมูขึ้นราคาสามเท่า อย่างที่ผมเล่าไว้มีการบรรจุใส่ปี๊ปไว้ก็กำไรมากและหลังจากนั้นเมล็ดพันธุ์ผักก็ไม่ได้มาจากเมืองจีน”

คุณพ่อท่านประธานอาวุโสเล่าให้ผมฟังว่าท่านเป็นนักพันธุกรรมศาสตร์ ท่านบอกว่าแตงโมจะได้ผลฤดูร้อน เบญจมาศจะดอกบานในฤดูหนาว แต่ท่านมีความสามารถในการเปลี่ยนแตงโมให้ออกในฤดูหนาว ดอกเบญจมาศจะออกดอกในฤดูร้อน วิธีเปลี่ยนของท่าน แล้วท่านก็เล่าประวัติของท่านให้ฟัง

“หลังจากอยู่ที่เจียไต๋ 5ปี ผมก็พอรู้เรื่องงานหลายๆอย่างพอไปเป็นแคชเชียร์ พอเค้าจะย้ายไปสุริวงศ์เค้าก็ดึงผมไปด้วย ท่านสุเมธเป็นคนเรียกผมไปผมก็ไป แต่ผมก็มาเรียนท่านชนม์เจริญท่านสุเมธจะเรียกให้ผมไปอยู่ที่ออฟฟิศสุริวงศ์ มาขออนุญาตท่าน ท่านบอกว่าท่านเป็นคนอนุญาตให้ผมไป ไม่ใช่ท่านสุเมธมาขอ ท่านเห็นว่าผมต้องไปที่นั้นเพราะที่นั้นขอบข่ายงานมันกว้างกว่าติดต่อกับต่างประเทศไปทำงานที่โน้นจะได้มีโอกาสเรียนรู้มากกว่าไปช่วยดูแลเรื่องการส่งออกพืชไร่ออกต่างประเทศ ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นซีพีอินเตอร์เทรด”

คุณเอี่ยมยังได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการค้าระหว่างประเทศของซีพี เนื่องจาก ตอนนั้นรัฐบาลเกรียงศักดิ์มองเห็นว่าทำไมญี่ปุ่นมีเทรดดิ้งเฟิร์ม เกาหลีใต้มีไต้หวันมีค้าขายกับต่างประเทศ นำเข้า ส่งออกกับต่างประเทศจนใหญ่โตเป็นธุรกิจใหญ่อันหนึ่งรัฐบาลไทยก็เห็นว่าควรจะมี ให้บีโอไอส่งเสริมให้มีการตั้งบริษัทเทรดดิ้งเฟิร์มขึ้นมา แต่สิทธิประโยชน์ก็ไม่ค่อยมีอะไร ตอนนั้นปูนซิเมนท์ก็มี มาบุญครองก็มี ซีพีก็มี ซีพีตั้งชื่อเป็นซีพีอินเตอร์เทรด เวลานั้นซีพีก็ไม่น้อยหน้าในเรื่องของการค้า ท่านประธานก็เห็นว่ารัฐบาลให้โอกาสภาคเอกชน เราก็ควรทำ ซึ่งก็มีข้อกำหนดส่งสินค้าไปต่างประเทศประเภท 1 ประเภท2 ประเภท3 ประเภท1ก็เป็นสินค้าเกษตร ประเภท 2 สินค้าอุตสาหกรรม อยู่ในลิสต์หนึ่งและ สองให้ถือว่าเป็นประเภท3 ยกตัวอย่างไข่ไก่ถ้าส่งออกจะอยู่ประเภท3และมีการกำหนดเลยว่าจะต้องส่งออกไปมูลค่าเท่าไหร่ เช่นประเภทหนึ่ง หนึ่งร้อยล้าน ประเภทสองส้องร้อยล้านและประเภทสามห้าสิบล้าน

เราต้องยอมรับว่าธุรกิจของแต่ละองค์กรอย่างปูนฯก็วัสดุก่อสร้าง ซีพีก็สินค้าเกษตรเป็นหลัก อุตสาหกรรมก็มีพวกเกษตรอุตสาหกรรมเช่นไก่แช่แข็ง ปลาป่น ก็มีการรีครูทคนเข้ามา โดยนโยบายเน้นให้หาคนใหม่ที่จบปริญญาตรี มีความรู้เรื่องภาษา เข้าใจเรื่องการค้า แต่ด้วยข้อกำหนดที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายการส่งออกในทางปฏิบัติก็มีการไปนำคนมีประสบการณ์แต่ละวงการมา ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องวัฒนธรรมการทำงานที่ยังเป็นสไตล์เดิมๆและไม่เป็นไปตามนโยบายท่านประธานอาวุโสที่ต้องการสร้างทีมใหม่ มีปัญหามากมาย ทั้งเรื่องตัวสินค้า การขาย การส่งสินค้าไม่ได้ แต่เทรดดิ้งเวลานั้นเรายังไม่มีประสบการณ์ไม่เหมือนญี่ปุ่นมีสาขาทั่วโลก จะเอาสินค้าไปขายทั่วโลก มีเครือข่ายเต็มไปหมด ตอนนั้นก็ต้องเข้าไปช่วยกันแก้ปัญหา ทั้งคุณก่อศักดิ์ ผม ก็มารับช่วงต่อจากคุณก่อศักดิ์

ทั้งซีพีอินเตอร์เทรด กรุงเทพโปรดิวส์
คุณเอี่ยมบอกว่าต้องขอบคุณครอบครัวเจียรวนนท์ ตั้งแต่คุณอา คุณพ่อ ลงมาทั้งรุ่นลูกทั้ง สามรุ่นต้องยอมรับว่าผมประทับใจทุกคน ผมต้องบอกว่าซีพีถือเป็นสถาบันของผมที่ให้ทั้งโอกาส ให้ความรู้ ให้ทุกอย่างและผมอยู่มาถึงวันนี้ 62ปีแล้วอย่างที่ผมเล่าถึงภูมิหลังของผมคืออะไรมีความรู้แค่ประถมปีที่สี่และนอกนั้นก็อาศัยการเรียนรู้เอง พยายามขวนขวาย เรียนรู้ สิ่งที่ได้ก็มาจากการทำงานและยังให้โอกาสมาถึงระดับบริหารสูง ผมว่าถ้าผมไม่ได้อยู่ซีพี วันนี้ผมจะเป็นอย่างไรไม่รู้และเราถูกดูแลอย่างดี เจ็บไข้ได้ป่วยท่านประธานอาวุโสช่วยดูแลเป็นธุระเรื่องหมอ มีความเป็นห่วงเป็นใย ผมชอบคำพูดคนจีนบอกเราเติบโตมาด้วยมือเปล่าจากไม่มีอะไรจนมีฐานะเหมือนทุกวันนี้ แล้วท่านยังให้โอกาสทำงานต่อ แล้วเราจะไปบอกเลิกทำงาน ก็คิดถึงคำสอนเรื่องกตัญญู อายุผมมากแล้วแต่ท่านไม่ได้มากำหนดผมว่าผมจะต้องทำงานเช้ากลับเย็น มันเป็นความเคยชินแล้ว ทำไม่ได้ มันเป็นนิสัย ต้องมาทำงานแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เข้ามาที่เจียไต๋ทำงานเจ็ดวันไม่มีวันหยุด

ถามว่าจะฝากอะไรถึงคนซีพีรุ่นใหม่ คุณเอี่ยมบอกว่า ทำไมซีพีมีวันนี้ได้ จะเรียกว่าก้าวหน้าหรือทันสมัยก็เพราะวิสัยทัศน์ของท่านประธานอาวุโส หนึ่งด้วยความเป็นอัจฉริยะ สองมองการณ์ไกล ทุกอย่างท่านมองล่วงหน้า ฉะนั้นอีกร้อยปีท่านก็มอง วางไว้แล้ว เพียงแต่ผู้ที่จะนำไปฏิบัติมากกว่า ท่านพยายามสร้างคนที่จะImplement คนจีนพูดไว้ว่าน้องต้องเก่งกว่าพี่ ลูกต้องเก่งกว่าพ่อ มันถึงจะเจริญก้าวหน้า วันนี้ก็เป็นแบบนี้แล้ว แต่ผมไม่ใช่ชมตัวเองแต่สามารถปรับตัวได้ตามเหตุการณ์ไม่หัวโบราณเหมือนคนทั่วไปคนส่วนใหญ่เป็นมาอย่างไรจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงแต่ผมไม่เป็น ยกตัวอย่างผมมาเป็นได้ทุกวันนี้เพราะเวลานั้นโอกาสมีมาก เพียงแต่คนไม่อยากใฝ่รู้ใฝ่หาให้ตัวเอง เลยไม่มีความสามารถเท่าคนอื่น แต่สำหรับผมแปลก อยากเรียนรู้ อีกส่วนหนึ่งผู้ใหญ่ให้แต่สิ่งดีๆ ผมรู้จัดแยกแยะ ผมเข้ามาทำงานผมต้องมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ รับผิดและชอบแต่คนส่วนใหญ่จะรับชอบไม่รับผิดและมีความผูกพัน มีsense ผมมี3 sense sense of discipline ,sense of responsibility, sense of belonging คือผมทำอะไรเหมือนเป็นเจ้าของมันมีDNAในตัวผมเป็นแบบนี้ ผมมีหลักการของตัวเองว่าจะต้องทำตัวเองอย่างไร สิ่งที่ผมคิดว่าข้อที่ดีที่สุดก็คือ 3ประโยชน์ เพราะฉะนั้นอีกกี่ปีข้างหน้ าถ้ายึด 3 ประโยชน์อันนี้ไว้ มันไปได้ ไม่มีที่สิ้นสุด ทำอะไรคิดถึงประเทศชาติ สังคมได้ประโยชน์แล้วก็บริษัทค่อยได้ประโยชน์ ยึดอันนี้ไว้จะเยี่ยมมาก และต้องรู้จักบุญคุณแผ่นดินเป็นปรัชญาที่ดีๆ

สุดท้ายคุณเอี่ยมให้ข้อคิดว่าผมก็เรียนรู้จากซีพีไม่ได้ไปไหนและไม่ยอมไปไหน ทุกวันนี้คิดอยู่อย่างเดียวสิ่งที่เราทำคืนให้กับบริษัทไม่เท่าไม่คุ้มกับที่เค้าจ่ายเรานะ ผมคิดอยู่อย่างนี้ตลอดผมคิดเป็นนาทีเลย ผมเอารายได้ของผมหารเป็นนาที ทุกนาทีที่ผ่านไปจะต้องจ่ายเงินให้ผมเข้ากระเป๋ารวมทั้งเวลานอนและเวลาหยุด แต่ทุกนาทีที่ผ่านไป ผมทำอะไรให้เค้าได้คุ้มหรือเปล่า คิดแล้วก็เลยมุ่งมั่นทำไม่ได้ไปคิดว่าเราเสียเปรียบ ที่จริงถ้าคิดเป็นเราได้เปรียบ

งานที่เรารับหมอบหมายเป็นหน้าที่เราต้องทำเต็มที่ตามความสามารถของเรา ได้เป้าไม่ได้เป้า ต้องมีเหตุผลมาว่าได้ไม่ได้เพราะอะไรถ้าเราเต็มที่แล้ว ทุ่มเทเต็มที่มันไม่ได้ แล้วเอาความกดดัน ความขัดแย้งต่างๆมาคิด มาคิดจนเบื่อหน่าย เสร็จแล้วก็อดทน ความอดทนสำหรับผมจนวันนี้จะมีปัญหาอะไรต่างๆมันเป็นเรื่องเล็กน้อย เราต้องสร้างคนแล้วสนับสนุนให้คนที่เป็นผู้ช่วยเราได้แสดง เค้าได้ทำงานด้วยความนุก ด้วยความสบายใจ เราก็จะเบาลง พฤติกรรมก็จะเปลี่ยน ยิ้มแย้มแจ่มใส ปัญหาต้องแก้อย่าไปนั้นกับมัน ตอนที่ผมหนุ่มๆมีแรงกดดันจากการทำงาน เคยเอาไปฝันแต่เมื่อตื่นขึ้นก็ยังกังวล ก็ขึ้นกับนิสัยของคน ถ้าอายุมากเข้า ประสบการณ์มากขึ้นก็จะหายไปเอง

ทำอย่างไรให้พนักงานรักกัน ผมเคยคิดอยู่เสมอเป็นจิตสำนึกของแต่ละคนว่าอย่างที่ผมพูดเรามีวินัย ความรับผิดชอบ ผิดก็รู้ผิด ผิดแล้วอย่าไปผิดซ้ำ แล้วองค์กรแต่ก่อนเป็นแบบครอบครัว ผูกพันกัน แต่เดี๋ยวนี่มันใหญ่ อยู่ที่ผู้บังคับบัญชาๆที่ดีต้องรู้จักดูแลลูกน้องรักลูกน้อง คนเราส่วนมากจะเข้าข้างตัวเองเห็นแก่ตัว คิดแต่ว่าเราเสียเปรียบ บริษัทเอาเปรียบ กว่าจะได้ตำแหน่ง ต้องเรียนรู้งานให้ลึกซึ้ง ผมเคยเขียนไว้ว่าสมัยผมไม่มีออฟเจคทีพ ไม่มีเป้าหมาย เดี๋ยวนี้โลกก้าวหน้าไปเร็วมากฉะนั้นต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน ต้องรู้จักเห็นสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและทำตัวให้สอดคล้อง ปรับตัวตลอดจึงไม่เก่าทันสมัยตลอดเวลา ทำงานอะไรก็แล้วแต่ต้อ งให้รู้สาระของงานที่ทำ ผมบอกว่าเช็ดโต๊ะผมก็ต้องรู้ว่าสาระการเช็ดโต๊ะคืออะไร ไม่เหมือนเวลานี้เช็ดรอบเดียวจบ ไม่เหมือนผมเวลานั้นผมเช็ดสามที

คุณเอี่ยม จึงเป็นอีก1 ในตำนานผู้บริหารซีพียุคก่อร่างสร้างประวัติศาสตร์ที่เป็นแบบอย่างของความไม่ยอมแพ้โชคชะตา รักการเรียนรู้ มานะ อดทน จากเด็กป.4ที่ได้รับโอกาสในการทำงานจนก้าวสู่การเป็นประธานกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่น่าศึกษา เรียนรู้ของคนซีพี