กิจกรรม CP CSR Talk ครั้งที่2 ชวนคนซีพี “ถอดบทเรียนคนซีพีกับโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน”

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 สำนักประสานกิจการสัมพันธ์เชิญชวนชาวซีพีร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การทำงานด้านสังคมเพื่อร่วมสร้างสรรค์ แก้ปัญหา พัฒนาสังคม ทางออนไลน์ โดยมี

คณะกรรมการคัดเลือกโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน นำโดย ดร.สดุดี สุพรรณไพ รองกรรมการผู้จัดการ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมภิบาลและกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กลุ่มการค้าระหว่างประเทศ/ประธานคณะกรรมการพิจารณาโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน, คุณสุธี สมุทระประภูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสำนักพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ/กรรมการพิจารณาโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน, คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ สยามแม็คโคร/กรรมการพิจารณาโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน, อาจารย์พิไลลักษณ์พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านปฏิบัติการความยั่งยืนและกิจการเพื่อสังคม ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือ/อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์/กรรมการพิจารณาโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน มาร่วมแบ่งปันโดยมีชาวซีพีร่วม 90 คน เข้าร่วม

โดยมีสาระสำคัญ จากวงเสวนาพอสรุปได้ว่า

-ที่ผ่านมาคนซีพีทำกิจกรรมสังคมเยอะมากแต่ขาดโฟกัสและกระจัดกระจาย เป็นเรื่องของการบริจาค ช่วยเหลือ สังคมสงเคราะห์

-ภาพของคนซีพีเป็นคนเก่งมากกว่าคนดี

-ต่อมาเริ่มมีแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เข้ามา เกิดความเข้าใจนำไปสู่ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนขึ้น เริ่มเห็นว่าการทำงานสังคมมีเป้าหมาย ทิศทาง แนวทาง เกิดโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนเพื่อรองรับ สนับสนุนคนซีพีออกมาช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของสังคม และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความยั่งยืน

– 6ปีกับการขับเคลื่อนการประกวดโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนมีพัฒนาการที่ดีเป็นลำดับ

1.ในเชิงปริมาณ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเน้นอยู่ในไทยขยายสู่ประเทศที่ซีพีไปลงทุน มีความสนใจเพิ่มขึ้น

2.ในเชิงคุณภาพ มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากงานช่วยเหลือ งาน CSR เบื้องต้นเริ่มมี CSV จากการตั้งโจทย์ภายในของหน่วยงานสู่การตั้งโจทย์ หา PAIN POINT ของชุมชน สังคมเพิ่มมากขึ้น

3.ในเชิงกระบวนการทำงาน จากการวางแผนเชิงกิจกรรมมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่มีเป้าหมาย มีตัวชี้วัดเพิ่มขึ้น แต่ยังมีผลที่เป็น OUTPUT มากกว่า แต่ก็เริ่มมีแนวโน้มขยับมาเรื่องของ OUTCOME และ IMPACT มากขึ้น

จากโครงการพื้นฐาน มีแนวโน้มการก้าวไปสู่การโครงการตัวอย่าง เป็นต้นแบบ มีการขยายผล มีการยกระดับเป็น SOCIAL ENTERPRISE,SOCIAL BUSINESS มากขึ้น

-แต่จะทำอย่างไรที่จะทำให้พนักงานตื่นตัวเพิ่มขึ้น ทั้งระดับหน่วยงาน พนักงาน ชมรมพนักงานทั่วโลก

4.ด้านกระบวนการตั้งแต่เริ่มเขียนโครงการจนการตัดสิน-จากจุดเริ่มต้นของการกำหนดกติกา หลักเกณฑ์มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนจากการทำงานสังคมทั่วไป เริ่มมีกรอบ แนวทาง ประเด็นทางสังคม จนมาเป็นประเภทโครงการเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งเริ่มต้น ประเภทต้นกล้าที่ดำเนินการระยะหนึ่งและประเภทโครงการร่มเงาที่ทำมาจนเกิดผลิดอกออกผล ส่งผลต่อชุมชนสังคมที่ยั่งยืน แต่ก็มีข้อคิดเห็นว่าควรจะมีการกำหนด THEME และประเภททางสังคม

-การเขียนโครงการ โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนเห็นปัญหาเรื่องนี้ ที่ผ่านมา มีความพยายามในการจัดอบรมการเขียนโครงการ มีการจัดทำรูปแบบการเขียนโครงการ ซึ่งเรื่องนี้ทางส่วนกลางและ BU อาจจะร่วมมือกันเพื่อให้คนทำงานสังคมมีทักษะการเขียนโครงการ

-ในขั้นตอนการกลั่นกรอง พิจารณาคัดเลือก มีข้อจำกัดในเรื่องของกรรมการที่ไม่สามารถเห็นเนื้องาน หน้างานของแต่ละโครงการ ทำให้กรรมการพิจารณาบน PAPER หากมีการแก้ปัญหามีทางออกดังกล่าวจะช่วยให้การพิจารณาคัดโครงการได้ดี ซึ่งมีทางออกด้วยการใช้เทคโนโลยีการประชุมนำเสนอทางออนไลน์ในอนาคตฝากเป็นเรื่องพิจารณาต่อไป

-ในส่วนของการนำเสนอหลายโครงการไม่มีความโดดเด่นในการนำเสนอ ขาดภาพข้อมูลที่ทำให้กรรมการใช้ประกอบการตัดสินใจ จึงเป็นการบ้านของแต่ละ BU และส่วนกลางจะช่วยอบรม ถ่ายทอดเทคนิคการนำเสนอให้สั้น กระชับ ตรงประเด็น มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทำให้กรรมการเห็นความน่าสนใจ ความโดดเด่นของโครงการ อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอฝากกรรมการน่าจะมี FEED BACK แต่ละโครงการได้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง โครงการ ขาดอะไร ต้องเติมอะไร จะพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไรแต่ละโครงการจะได้รับรู้ เรียนรู้

-อย่างไรก็ตามแม้หลายโครงการที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการกลั่นกรองภายในองค์กร แต่ในมุมมองของกรรมการตัดสินรอบสุดท้ายจากภายนอกอาจมีมิติการมองที่แตกต่างออกไป แต่มีการเสนอว่าน่าจะเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ประสบการณ์งานสังคมเพิ่มเข้ามา

-ในเรื่องของการยกย่องการทำความดี ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้กำลังใจ รักษาจิตใจที่ดีงามของคนซีพีที่พยายามทำโครงการที่ตอบโจทย์ เป้าหมายการแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน สังคม โดยมีความยั่งยืน จะมี ECOSYSTEM อะไร แนวนโยบายอะไรที่จะสนับสนุนการทำโครงการฯ ยกย่อง เป็นกำลังใจให้คนทำงานแม้จะไม่ได้ผ่านเข้าไปถึงรอบสุดท้าย อาจจะมีประเภท หมวดรางวัล หรือจัดงาน CSR DAY ให้เป็นตลาดนัดความดี โครงการต่างๆมีเวทีนำเสนอ แสดงหรือแชร์

-กล่าวโดยรวม วงเสวนามองไปทางเดียวกันคือโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนเป็นโครงการที่ดี ที่ตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือฯ ไม่เพียงสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน 4 แสน กว่าคนในการทำงานสังคม แต่ยังยกระดับจิตใจของพนักงานการเอาศักยภาพของความเก่ง ความดีของพนักงานมารวมพลังกันคิดค้น พัฒนาโครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมที่มีมากมายและสลับซับซ้อน ที่จะยกระดับการพัฒนาที่นำไปสู่ความยั่งยืนและทำให้องค์กรดำเนินการด้านสังคมควบคู่กับธุรกิจอย่างสมดุลนำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

-อย่างไรก็ตามการเสวนาวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปสุดท้าย เพราะยังมีประเด็นสำคัญและประเด็นปลีกย่อยที่อาจยังไม่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน คงเป็นการบ้านร่วมกันของทุกส่วนทั้งคณะกรรมการอำนาวยการโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ คณะกรรมการกลั่นกรอง คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและคณะกรรมการตัดสิน ตลอดจนหน่วยงาน พนักงาน ชมรมพนักงานที่จะช่วยกันพัฒนาปรับปรุงการทำงานทั้งหมดเพื่อให้โครงการซีพีเพื่อความยั่งยืนเติบโตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ