สำนักประสานกิจการสัมพันธ์ จัดงานเสวนา CP-CSR TALK ครั้งที่ 6 ชวนคนซีพีย้อนรอยเส้นทางการขับเคลือน CSR สู่ความยั่งยืน : กรณีซีพีเอฟ เป็นแนวคิดให้คนซีพีนำไปดำเนินงานเพื่อสังคมให้ประสบความสำเร็จ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 สำนักประสานกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรม CP-CSR Talk ครั้งที่ 6 ขึ้น ในหัวข้อการเสวนาเรื่อง “ย้อนรอยเส้นทางการขับเคลือน CSR สู่ความยั่งยืน…ก้าวสู่ทศวรรษยั่งยืนได้ด้วยมือเรา(Sustainability in Action) by CPF” โดยได้รับเกียรติจาก คุณวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซีพีเอฟ ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุย พร้อมเปิดแนวคิด ยุทธศาสตร์ และความสำเร็จงานด้านความรับผิดชอบสังคมและความยั่งยืนของซีพีเอฟ

คุณวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ในยุคแรกๆที่มีการทำCSR ส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การสนับสนุน การช่วยเหลือชุมชนและสังคม การบริจาค พอยุคต่อมาภาพรวมของงาน CSR เริ่มมีความคาดหวังมากขึ้น เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท (Stakeholders) มีมากและชัดเจน ทำให้การทำงานจะไม่ใช่แค่ “การให้” อย่างเดียว ต้องมีกลไกและเครื่องมือใหม่ๆที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด อาทิCreating Shared Value (CSV) รวมถึงการจัดกระบวนการทำงานภายในทั้งหมด เพื่อสามารถทำงานได้ถูกต้องและตอบโจทย์กับ Stakeholders และบริษัทได้ประโยชน์ร่วมกัน กลายเป็นแนวคิดความยั่งยืน

สำหรับงานด้าน CSR ของซีพีเอฟ มีการดำเนินงานต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการวางรากฐานที่ดี อาทิ โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน มีการเก็บข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญในการนำไปพัฒนาโครงการต่างๆ สู่ความยั่งยืนนอกจากนี้ยังมีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นกับ Stakeholders ถึงโครงการต่างๆทำให้เกิดการเรียนรู้ว่ามีจุดไหนที่ต้องแก้ไข ประกอบกับช่วงเวลานั้น กระแสของความยั่งยืนเริ่มมีมากขึ้น พร้อมกับผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้น ซีพีเอฟในฐานะที่เป็นธุรกิจอาหารขนาดใหญ่ ที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นเรื่องสำคัญในขั้นแรกจึงต้องทำความเข้าใจในธุรกิจของเราเองเป็นสำคัญ

ขั้นต่อมา จะเป็นการลงพื้นที่ พร้อมกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟ และนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อปิดช่องว่างปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตลำดับต่อมา ต้องดูเทรนในช่วงนั้นๆ เป็นการพัฒนาที่ไม่สิ้นสุดคือความยั่งยืน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต เมื่อเข้าใจในทุกขั้นตอนแล้ว ก็จะนำมาใช้วางยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมและตอบโจทย์ความคาดหวังของStakeholders ทำให้เกิดเป็นแนวคิด ในการทำงานCSR คือ “เข้าใจเรา เข้าใจโลก เข้าใจทำ”

เข้าใจเรา คือ ทำให้ทุกคนในองค์กรรู้จักตัวองค์กรเองว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรในการทำงาน CSR ทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจเรื่อง CSR ให้ตรงกันว่างาน CSR เป็นของทุกคน ทุกหน่วยงาน เข้าใจโลก คือ สังคม ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะทำ CSR ตอบกลุ่มคนเหล่านี้อย่างไร อะไรบ้าง เข้าใจทำ คือ ทำอย่างมีแนวคิดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีขับเคลื่อนงานด้านความรับผิดชอบสังคมและความยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมการทำ CSR ระดับผู้บริหารและ พนักงาน/การมีข้อมูลที่ชัดเจนของพื้นที่/การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ทั้งภายใน ภายนอกอย่างต่อเนื่อง/การผนึกกำลังกับภาคีเครือข่าย เพราะงานด้าน CSR ไม่สามารถทำได้เพียงองค์กรต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ

นอกจากนี้การทำงาน CSR ต้องมีการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับพนักงาน จนเกิดความร่วมมือตามความถนัดและเนื้องานของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ให้พนักงานมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ต้องปูพื้นทำความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญ เพื่อให้มองเห็นเป้าหมายและเดินไปสู่ความยั่งยืนร่วมกัน ผ่าน 3 เป้าหมาย และ 9 ความมุ่งมั่น ได้แก่ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารความยั่งยืน

สำหรับเป้าหมายปี 2030 ของซีพีเอฟ ในกระบวนการทำงานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้เรียนรู้และมีประสบการมากพอ ต่อไปต้องเชื่อมโยงกับความสำเร็จของโลก ในฐานะที่บริษัทขยายไป 17 ประเทศทั่วโลก จึงต้องมองเป้าหมายในระดับยูเอ็น ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งการทำงานจะต้องจัดโครงการที่สร้างการร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร อาทิ กินเกลี้ยงเลี้ยงโลก การใช้ทรัพยากรในการผลิต การใช้พลังงาน การปลูกป่า จึงได้นำกลไก CSR ในการขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจ ความมีส่วนร่วม และเกิดความเชื่อมั่นในบริษัท โดยคิดถึงปัญหาส่วนรวม และช่วยแก้ปัญหากับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในหลายๆด้าน

คุณวุฒิชัย กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันปัญหาโลกในเรื่องของทรัพยากรที่ทุกคนรับรู้อยู่แล้วจะทำ อย่างไรให้อยู่ได้ และไม่เพิ่มผลกระทบเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน ดังนั้นการทำงานสังคมจึงต้องเน้นไปที่ตัวบุคคลมากขึ้น ไม่ใช่เพียงองค์กรอย่างเดียว หากมีคนร่วมมือมากขึ้น ผลลัพธ์ก็จะออกมามากขึ้น สามารถเปิดเผยอย่างโปร่งใสต่อสาธารณชนและ Stakeholders ให้เข้าใจและเห็นความตั้งใจของบริษัทที่ทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ยังได้รับการประเมินความยั่งยืนในระดับโลก คัดเลือกจากบริษัทที่มี Market Cap. หรือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่สูง โดยมีการประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดนจะประเมินกิจกรรมภายในองค์กรเป็นหลัก อาทิ กระบวนการผลิตในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากร การจัดการการเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงาน ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทที่ทำธุรกิจขนาดใหญ่มีความรับผิดชอบต่อสังคม นำไปสู่ความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจ

อนึ่งอีกปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน CSR ซีพีเอฟคือการมีกลไกการขับเคลื่อนโดยมีคณะกรรมการทั้งระดับนโยบายและคณะทำงานที่มีตัวแทนจากหน่วยงานสายงานต่างๆร่วมกัน ทำให้งานCSR และงานความยั่งยืนตั้งแต่ CEO ถึงพนักงานมีส่วนร่วมกัน งาน CSR จึงจะถูกขับเคลื่อนทั้งองค์กรและมีพลัง รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมCSRและความยั่งยืน ให้มีการร่วมมือกันทั้งร่วมคิด ร่วมทำร่วมพัฒนา สร้างความเข้าใจ ไว้ใจ ให้ใจในการทำงานCSR มีเป้าหมาย มีประกาศนโยบายต่างๆ มีคณะกรรมการ คณะทำงานรองรับการขับเคลื่อน การสร้างนักCSRระดับโรงงาน และฟาร์ม

10 ปี ของการปรับกระบวนทัศน์การทำงาน CSR และงานความยั่งยืนทำให้ CPF มีกรอบยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ มีโมเดล มีแพลตฟอร์มในการทำงาน CSR ซึ่งคุณวุฒิชัยบอกยินดีที่ BU ในซีพีจะขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยน ให้ข้อคิดรวมทั้งการร่วมมือในการทำโครงการแก้ปัญหาสังคม โดยเฉพาะเรื่องที่สามารถร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาclimate change เรื่องการปลูกป่า-ปลูกต้นไม้ เรื่องการจัดการ food waste เช่น แคมเปญ “กินเกลี้ยงเลี้ยงโลก กล้าจากป่า พนาในเมือง”

หน่วยงานไหนในเครือฯที่สนใจอยากขับเคลื่อนงานCSR งานความยั่งยืนสามารถพูดคุยขอคำแนะนำจากทีมงานได้

######