ที่มาของคำว่า”เกษตรกรคือคู่ชีวิต” เป็นแนวคิดซีพีมีมาแต่ยุคเจียไต๋

ในห้วง 100ปี ซีพี มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์ให้ชาวซีพีได้เรียนรู้ถึงที่มาของแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือที่มาของคำว่า “เกษตรกรคือคู่ชีวิต” คำนี้มีความหมายและมีที่มาอย่างไร CP Story ชวนชาวซีพีไปหาคำตอบกัน

คุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารคนหนึ่งของเครือซีพี ที่เข้ามาร่วมทำงานกับเครือซีพีเมื่อปี 2522 ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลงานด้านประสานกิจการสัมพันธ์และงานด้านภาพลักษณ์เครือฯซึ่งมีโอกาสได้รับฟังเรื่องราวของกิจการเจียไต๋และเครือเจริญโภคภัณฑ์จากคำบอกเล่า ผู้บริหารของครอบครัวเจียรวนนท์ เล่าให้ทีมงานCP Story ว่า

ยุคเริ่มต้นของเจียไต๋คือท่านเจี่ยเอ็กชอหรือคุณพ่อของท่านประธานทั้ง 4 ท่าน เจี่ยเอ็กชอเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ มีความคิดกว้างไกลและมีความสามารถในเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ ตั้งแต่อยู่ซัวเถา มีวิสัยทัศน์คือมองว่าการขายเมล็ดพันธุ์ได้ ไม่เพียงแต่ที่เมืองซัวเถาแต่ต้องขายออกไปในโลกกว้าง จึงมาที่ฮ่องกงและมารู้จักเมืองไทย ซึ่งเมืองไทยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนก็อุดมสมบูรณ์ ฉะนั้นเมื่อท่านมาอยู่เมืองไทยท่านมองว่าเมืองไทยมีโอกาสที่จะปลูกผัก ปลูกอะไรได้มากมาย ปี 2464 ท่านจึงได้มาเริ่มต้นเปิดร้านขายเมล็ดพันธุ์ผักชื่อว่าร้านเจียไต๋

ท่านเจี่ยเอ็กชอเล็งเห็นว่าเมล็ดพันธุ์ผักที่ผลิตจะนำมาขายใคร ก็ต้องขายให้เกษตรกร เวลานั้นที่วัดเกาะ ชาวบ้านที่ปลูกผักจะอยู่ทางฝั่งธนบุรี พายเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยก่อนยังใช้สตางค์รู ท่านเจี่ยเอ็กชอกับท่านเจี่ยเซียวฮุย น้องชาย ทั้ง 2ท่านก็เน้นว่าเกษตรกรเราจะต้องให้ของดีที่สุดกับเขาและตั้งใจผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างมีคุณภาพ อันนี้คือหัวใจสำคัญ ท่านทั้งสองเห็นว่าเกษตรกรที่ปลูกผักไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี ท่านจึงเห็นว่าทำอย่างไรที่จะหาของดีที่สุดให้กับเกษตรกรได้ เกษตรกรชาวสวนนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกแล้วก็งอกงามดี

เป็นการสะท้อนถึงวิธีคิด วิธีทำงานของผู้ก่อตั้งเจียไต๋ คือการคิดถึงคนอื่นก่อน คิดถึงว่าจะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน แม้ว่าร้านจะสามารถขายเมล็ดพันธุ์ได้ แต่ลูกค้าคือชาวสวนที่ซื้อไปก็ต้องได้ประโยชน์ จุดนี้ถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญ และในเวลาต่อมาท่านยังคิดถึงว่าหากชาวสวนนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกแล้วไม่งอกงามจะทำอย่างไร ท่านจึงริเริ่มแนวคิดที่ทันสมัยคือการระบุวันหมดอายุของเมล็ดพันธุ์ และท่านยังมีความคิดที่ทันสมัยที่จะให้สินค้ามียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้า โดยใช้ตราเรือบินเป็นเครื่องหมายการค้า ท่านมีความคิดที่ล้ำสมัย

ไม่เพียงเท่านั้น ทั้ง2ท่านช่วยกันก่อร่างสร้างรากฐานการทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ที่จับต้องได้ในเรื่องของคุณภาพของสินค้า นี่คือที่มาของคำว่าซื่อสัตย์ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะต้องทุ่มเท ศึกษา ใส่ใจเอาของดีที่สุดให้กับลูกค้า เพื่อลูกค้าจะได้ประโยชน์สูงสุด ท่านผู้ก่อตั้งทั้งสองมีจิตใจที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์เป็นพื้นฐาน

คุณอภัยชนม์บอกว่า จากคำบอกเล่าสมัยก่อนลูกค้าที่มาซื้อเมล็ดพันธุ์สมัยนั้นยังใช้สตางค์รูที่นิยมใช้ติดเข็มกลัดกับกางเกง มีลูกค้าลืมสตางค์รูไว้ในร้าน ท่านเจี่ยเซียวฮุยท่านจำได้ว่าลูกค้าที่ลืมสตางค์ไว้เป็นใคร ก็เก็บสตางค์ไว้คืนกับลูกค้า เกิดความประทับใจของลูกค้า เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจที่ยาวนาน เห็นได้จากลูกค้าคู่ค้าของเจียไต๋ยังมีอยู่ ถึงปัจจุบัน

กล่าวได้ว่าในยุคของเจียไต๋ ผู้ก่อตั้งทั้งสอง มีแนวความคิดที่คิดถึงประโยชน์ที่เกษตรกรต้องได้รับ ทำอย่างไรให้เกษตรกรหรือชาวสวนที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ไปปลูกได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพ และปลูกฝังในเรื่องการทำธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ จากแนวความคิดและจิตใจดังกล่าวได้ถ่ายทอดสู่ลูกหลานและพนักงานในยุคของเจริญโภคภัณฑ์ในเวลาต่อมา

ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการเมื่อ 100 ปีมาแล้ว ท่านเจี่ย เอ็กชอ เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์คุณภาพดี ตระหนักรู้ถึงหลักความจริงข้อนี้ ท่านได้ทุ่มเทศึกษาพัฒนาสายพันธุ์ผักชนิดใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักมาก โตเร็ว แข็งแรง โดยเริ่มบุกเบิกทำแปลงคัดเมล็ดพันธุ์ขึ้นที่เมืองซัวเถา ประเทศจีน เพื่อให้เกษตรกรนำเมล็ดพันธุ์ดีๆ ที่คัดเลือกไว้ไปปลูก อีกทั้งรับซื้อผลผลิตเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นและส่งมาขายที่เมืองไทย ทำให้เมล็ดพันธุ์ภายใต้ตราเครื่องบินของเจียไต๋ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากเกษตรกรและสามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็วทั่วประเทศไทย กลายเป็นตราสินค้าเมล็ดพันธุ์ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้น เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก และทำให้ผู้บริโภคมีผักรับประทานได้หลากหลายแม้ไม่ใช่ฤดูกาล

ส่วนท่านเจี่ยเซียวฮุย มีทักษะด้านการตลาด เข้าใจความต้องการของลูกค้าและคู่ค้าเป็นอย่างดี เล่าว่าการใช้ตรา ‘เรือบิน ’ อันเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นเป็นตราสินค้า เพื่อเป็นการสื่อถึงคุณภาพและความก้าวหน้าทันสมัยของสินค้าเจียไต๋ สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ที่ล้ำหน้าของผู้ก่อตั้งทั้งสองท่าน

จนมาถึง ท่านประธานจรัญ เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยหลังเรียนจบจากประเทศจีนท่านได้มาช่วยกิจการของคุณพ่อและคุณอาที่ร้านเจียไต๋ โดยเวลานั้นเป็นช่วงที่ท่านเจี่ยเอ็กชอไปขยายกิจการที่สิงคโปร์และให้ท่านเจี่ยเซียวฮุยดูแลกิจการในเมืองไทย ประธานจรัญ จึงได้มาช่วยคุณอาหรือท่านชนม์เจริญที่ดูแลร้านและดูแลหลานๆทั้งหมดในเมืองไทย ระหว่างนั้นก็มองหาธุรกิจอื่นๆ โดยท่านประธานจรัญได้แนวความคิดจากคุณสงวน ประเดิมสุข พี่เขยของท่านเข้ามาช่วยหนุนโดยเริ่มต้นมาจากแนวคิดท่านประธานจรัญที่อยากจะจำหน่ายวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มเติมจากการขายเมล็ดพันธุ์ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิม ประธานจรัญมีหัวการค้ามาตั้งแต่เด็กและชอบคิดอะไรที่ใหม่ๆโดยเฉพาะการค้าขาย ซึ่งสมัยนั้นเมื่อ 70ปีที่แล้วคนที่เลี้ยงม้าคือหน่วยงานทหารแถวหมอชิต ซึ่งมีการเลี้ยงหมูด้วย หน่วยงานราชการที่เลี้ยงม้า เลี้ยงหมูก็ต้องไปหาอาหารสัตว์มาเลี้ยง ซึ่งเวลานั้นยังไม่มีคำว่าอาหารสัตว์ สำเร็จรูป ต้องไปหาวัตถุดิบมาส่งให้หน่วยงานทหารไว้เลี้ยงม้า เลี้ยงหมู

ประธานจรัญกับคุณสงวน พี่เขยก็เห็นโอกาสในการขายวัตถุดิบทำอาหารสัตว์ เพื่อจัดส่งให้โรงบดอาหารสตัว์ของหลวงวีรวัฒน์โยธิน ซึ่งต่อมาหลวงวีรวัฒน์โยธินเห็นว่าทางหน่วยทหารมีเครื่องบดวัตถุดิบก็ให้ท่านเอาเครื่องไปเพื่อบดวัตถุดิบแล้วส่งมาเป็นอารเพื่อให้สัตว์ทานเลย ทำให้ท่านประธานจรัญเห็นโอกาสที่จะเกิดธุรกิจใหม่ต่อจากเจียไต๋ เลยทำเป็นอาหารไก่ อาหารหมู

เมื่อท่านประธานจรัญได้เครื่องบดมาก็ขอใช้พื้นที่ที่บ้านตรอกจันทน์ซึ่งเป็นที่อยู่ของครอบครัวเจียรวนนท์จากคุณอา เพื่อทำอาหารม้า อาหารหมู ซึ่งทำ อยู่หลายปี ท่านก็มีแนวคิดว่าอาหารที่ผลิตควรจะมีเครื่องหมายการค้า คุณสงวน พี่เขยท่านก็ไปปรึกษาพระยาทรงอักษร อดีตหัวหน้ากอง บริษัทเกษตรกรรมทหารผ่านศึกๆว่าท่านประธานจรัญอยากทำอาหารสัตว์แบบมีเครื่องหมายการค้า พระยาทรงอักษรบอกถ้าอยากทำอาหารสัตว์มียี่ห้อ ก็ถามว่าคุณทำอะไร อาหารสัตว์คืออะไร ก็คือเอาวัตถุดิบทางการเกษตรมาทำเป็นอาหารเพื่อให้สัตว์กิน พระยาทรงอักษรก็บอกว่า ของพวกนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่าCommodity แปลเป็นคำไทยคือสินค้าโภคภัณฑ์ ท่านก็เห็นว่าเจ้าของชื่อเจริญและทำเกี่ยวกับคอมมอดิตี้ ก็เลยให้ชื่อว่าเจริญโภคภัณฑ์ นี่คือที่มาของชื่อร้านเจริญโภคภัณฑ์ตั้งแต่ ปี2453

จากแนวความคิดในการทำธุรกิจบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและให้ความสำคัญเรื่องของคุณภาพสินค้า สิ่งนี้ได้ถ่ายทอดสู่รุ่นลูก ท่านประธานจรัญและพี่น้องทั้ง 4 ยังคงยึดมั่นในแนวทางดังกล่าวแม้จะออกมาตั้งเป็นกิจการใหม่

ในยุคของเจริญโภคภัณฑ์ คนอาจไม่ทราบว่าทำไมเจริญโภคภัณฑ์ถึงเติบโตจมาจนถึงวันนี้ ด้วยเพราะเจริญโภคภัณฑ์ยังคงยึดมั่นแนวคิดในการคิดถึงคนอื่นก่อน คิดถึงเกษตรกร ชาวสวน ต้องซื่อสัตย์ ต้องทำของที่มีคุณภาพ วัฒนธรรมนี้ได้ถ่ายทอดถึงท่านประธานจรัญและคณะ แต่ท่านก็มีหลักการเพิ่มเติมที่ชี้ให้เห็นว่าเจริญโภคภัณฑ์เป็นคนคิดถึงการสร้างโอกาสและสร้างให้เกิดประโยชน์ร่วมกันหรือในภาษาการบริหารสมัยใหม่ที่เรียกสว่า วิน วิน

ย้อนภาพไปเมื่อ70ปีก่อน คนไทย ยกเว้นหน่วยทหารที่เลี้ยงสัตว์เพื่อเลี้ยงคนทั้งกองทัพ ทำให้มีปริมาณของสัตว์เลี้ยงมากขณะที่ชาวบ้านจะเลี้ยงหมู เลี้ยงสัตว์ตามหลังบ้าน เวลานั้นคนไทยยังไม่เข้าใจในอาหารหมู อาหารไก่ ทำให้คนเข้าใจว่าเจริญโภคภัณฑ์ขายอาหารข้าวมันไก่ คนไทยยังไม่รู้จักธุรกิจอาหารสัตว์เหมือนปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงหลังบ้านให้กินเศษอาหารของคน แต่ท่านประธานจรัญกลับมองว่าเป็นวิธีการเปลี่ยนจากสิ่งที่เหลือทิ้งไม่มีค่าให้เกิดมูลค่าได้ นำสิ่งของที่คนอื่นไม่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ อย่างรำปลายข้าว สมัยก่อนโรงสีถือเป็นเป็นของเหลือทิ้ง ใครที่เลี้ยงหมูจะมาเอาไปเลี้ยงสุกร ยินดีให้เปล่าๆ หรืออย่างปลาตัวเล็กๆที่เรียกว่าปลาเบญจพรรณถูกโยนทิ้งน้ำหมด เพราะว่าปลาตัวเล็กขายไม่ได้ ต่อมามีคนนำไปเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่จึงเรียกปลาพวกนี้ว่าปลาเป็ด ปลาไก่ มีคนขอให้ชาวประมงขายในราคาถูก

ฉะนั้นสิ่งของที่คนไม่ต้องการแต่ท่านประธานจรัญและคณะกลับมองว่าสิ่งนี้ยังสามารถนำกลับไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับสัตว์ได้ทำให้เกิดเป็นมูลค่าได้ ฉะนั้นเจริญโภคภัณฑ์จึงเริ่มต้นธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งสมัยก่อนใช้คนเป็นคนผสม ยังไม่มีเครื่องจักร เป็นการสั่งซื้อแล้วชั่งขาย ค่อยๆพัฒนาขึ้นมาจนมาถึงอีก2พี่น้องคือท่านระธานมนตรีและท่านประธานสุเมธมาช่วยท่านประธานจรัญทำธุรกิจอาหารสัตว์ต่อเนื่องจนกระทั่งมาถึงช่วงที่ท่านประธานธนินท์ ท่านก็ช่วยพี่ชายทำงานในร้าน เรียนรู้ทุกอย่างและท่านก็เริ่มมองเห็นว่าธุรกิจของเจริญโภคภัณฑ์ดังกล่าวแล้วจะทำอย่างไรให้ได้มาตรฐาน เพราะช่วงแรกๆอาหารสัตว์ยังต้องใช้แรงงานคนในการผสม อาจจะมีความไม่แน่นอนในมาตรฐานจำเป็นต้องอาศัยเครื่องจักรเพื่อให้สินค้าได้มาตรฐาน และที่สำคัญที่สืบทอดกันมาแต่ยุคเจียไต๋คือเรื่องของคุณภาพ ท่านประธานธนินท์เห็นว่าจะต้องหาคนที่มีความรู้มาช่วยพัฒนาเรื่องของคุณภาพ ใช้วิชาการ เทคโนโลยีเข้ามาและต่อมาเมื่อเติบโตพัฒนาเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมก็มาให้ความสำคัญในเรื่องของประสิทธิภาพ ด้วยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจของเจริญโภคภัณฑ์เติบโตได้

ทั้ง4พี่น้องได้แปรเจตนาคุณพ่อและประกาศว่าเจริญโภคภัณฑ์ทำธุรกิจอาหารสัตว์และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ฉะนั้นเกษตรกรที่มาเป็นลูกค้าคือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โดยใช้คำว่า เกษตรกรคือคู่ชีวิต หากเกษตรกรอยู่ไม่ได้ บริษัทก็อยู่ไม่ได้ นี่คือคำขวัญของซีพี ในเวลานั้น คือการคิดถึงเกษตรกรก่อน เพราะซีพีผลิตอาหารสัตว์ไปขายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ฉะนั้นหัวใจของซีพีคือถ้าจะขายอาหารสัตว์ให้เกษตรกรเราต้องเอาของที่ดีที่สุดเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เอาไปเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูแล้วสำเร็จ สามารถเลี้ยงให้เติบโต ไม่เป็นโรค พอถึงเวลาเข้าตลาดก็สามารถขายได้ เมื่อเกษตรกรขายได้ มีรายได้ บริษัทก็ได้เงินคืน เพราะการทำเกษตรเป็นธุรกิจที่ไม่ง่าย จะเก็บเงินจากเกษตรกรได้เกษตรกรต้องเลี้ยงไก่ เลี้ยงสัตว์ได้สำเร็จและขายได้ ซึ่งไม่มีใครอยากทำธุรกิจแบบนี้ ฉะนั้นการทำธุรกิจแบบนี้ต้องอดทน มีความจริงใจ ตั้งใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ซีพียึดมั่นในการร่วมรับความเสี่ยงกับพี่น้องเกษตรกร

ฉะนั้นคำว่าเกษตรกรคือคู่ชีวิตจึงเป็นเรื่องที่ซีพียึดมั่นเพราะหากเกษตรกรอยู่ไม่ได้บริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน หากพิจารณาในผลผลิตของเกษตรกร100% ร้อยละ70 บริษัทมีส่วนร่วมเป็นส่วนผสมกัน ว่าลูกค้าของเราต้องได้ของดี และต้องเกิดประโยชน์ต่อเขา เมื่อเค้าเกิดประโยชน์เราถึงได้ประโยชน์ ไม่ใช่เราได้ประโยชน์ก่อน ลูกค้าต้องได้ประโยชน์ก่อน

ฉะนั้นจากตรงนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญเพราะฉะนั้นซีพีจึงต้องมุ่งมั่นพยายามผลิตสินค้าอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพ ให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร บริษัทถึงจะได้ประโยชน์ร่วมด้วย นี่คือพื้นฐานการทำธุรกิจตั้งแต่ยุคเจริญโภคภัณฑ์สมัยอยู่ที่ตรอกจันทน์มาจนถึงอาคารทวิชที่บริษัทเริ่มมีการขยายกิจการจนกระทั่งมีกิจการขยายออกไปทางด้านค้าปลีก แม็คโคร โลตัส ประธานธนินท์จึงมีคำกล่าวที่เป็นแนวทางหรือปณิธานของซีพี ว่าธุรกิจต่างๆที่เครือฯจะทำต้องคำนึงถึง 3ประโยชน์คือประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อประชาชน ต่อองค์กร ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ธุรกิจนั้นๆต้องมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาตินั้นๆ ประชาชนหมายถึงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำได้ประโยชน์ แล้วค่อยมาถึงองค์กรคือผู้ถือหุ้น พนักงาน เป็นที่มาของ 3ประโยชน์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่ามาจากรากฐานเดิมตั้งแต่ก่อตั้งเจียไต๋คือมองประโยชน์ของผู้อื่นก่อน คิดถึงคนอื่นก่อน จึงจะมาดูว่าจะทำธุรกิจอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ สังคม ต่อผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้บริโภค ทำแล้วบริษัทอยู่ได้ไหม มีกำไรที่จะสามารถอยู่รอด ยั่งยืน มีการพัฒนาคน คิดถึงสิ่งแวดล้อม

จากแนวคิดตรงนี้ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสัตว์เกิดแล้วต่อมาถึงยุคที่ท่านประธานธนินท์เป็นผู้นำ ท่านริเริ่มนำเทคโนโลยี เอาความรู้วิทยาการที่ทันสมัยมาจากต่างประเทศ ท่านก็ไปเห็นวิธีการของอาร์เบอร์เอเคอร์ในการผลิตพันธุ์ไก่ที่ดีของโลกและชวนมาร่วมทุนกับเรา ซึ่งถือเป็นหัวใจของซีพีในเวลานั้น ซีพีสามารถจับมือกับบริษัทชั้นนำของโลก ประธานธนินท์สามารถนำบริษัทชั้นนำด้านพันธุ์ไก่ของโลกมาจับมือกับเราได้และลงทุนร่วมกับเราได้ซึ่งเป็นคำตอบว่า บริษัทขายไก่สามารถทำโครงการโทรศัพท์

ท่านประธานธนินท์ มองว่าซีพีทำธุรกิจอาหารสัตว์ ขายอาหารไก่ ถ้าคนเลี้ยงไก่อยู่ไม่ได้เราก็อยู่ไม่รอด ฉะนั้นท่านจึงมองว่าแล้วรูปแบบการเลี้ยงไก่ที่เหมาะสมของโลกอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่อาร์เบอร์เอเคอร์ อเมริกา เวลานั้นคนไทยเลี้ยงไก่ 30-50ตัวเท่านั้น สูงสุดก็ 100ตัว แต่อเมริกาคนหนึ่งเลี้ยงไก่ได้หมื่นตัว เขาทำได้อย่างไร ก็ไปเรียนรู้จากเขาแล้วจ้างฝรั่งมา จนวันนี้คนหนึ่งดูแลไก่เป็นแสนตัว โดยใช้เทคโนโลยี

ดังนั้นเราคิดตลอดเวลาในการพัฒนาถ้าจะให้เกษตรกรเลี้ยงไก่หมื่นตัวแบบอเมริกาจะทำอย่างไร ก็ต้องลงทุนสูงขื้น แต่เทคโนโลยีดีขึ้น ผลผลิตก็มากขึ้นคือ 3สูง แต่ต้นทุนต่อหน่วยกลับถูกลง รวมเป็น3สูง1ต่ำตามมา

เกษตรกรจะอยู่รอดได้อย่างไร ซีพีก็ไปเริ่มโครงการส่งเสริมเลี้ยงไก่ที่ศรีราชา และเป็นตัวอย่างของการพิสูจน์คำว่าเกษตรกรคือคู่ชีวิต พอเรามีโอกาสส่งออกไปไก่ไปญี่ปุ่นได้ในปี2516 ผู้นำของเรามองว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง เราจึงทำเรื่องยากยากให้เป็นเรื่องง่ายๆโดยปรับเทคโนโลยีจากอเมริกามาให้เกษตรกรไทยสามารถทำได้ สามารถถ่ายทอดสู่รากหญ้าได้ เพราะการเลี้ยงไก่เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน มีความเสี่ยงมากมาย เราก็ประสานกับภาคราชการ สถาบันการเงินเพื่อเปิดโ อกาสเกษตรกรไทยเรื่องเงินทุนและเป็นที่มาของโครงการ4ประสาน เกษตรกรเป็นผู้เลี้ยง ซีพีเป็นผู้นำความรู้ เทคโนโลยีและด้านตลาดมาให้เกษตรกร จนประสบความสำเร็จ เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ สามารถส่งลูกเรียนในระดับที่สูงขึ้น

ลักษณะโรงเรือน แบบเปิด ในช่วงแรกๆ

 

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเลี้ยงไก่ที่ศรีราชา ตั้งแต่เริ่มแรก

หลังจากความสำเร็จในเรื่องส่งเสริมเลี้ยงไก่ที่ศรีราชา ในหลวงรัชกาลที่9ทรงห่วงใยพสกนิกรและริเริ่มโครงการพระราชดำริต่างๆ ในรูปแบบศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่างๆและไปเริ่มต้นที่เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วงนั้นรัฐบาล โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ก็มาชวนซีพี ว่าในหลวงจะทำโครงการให้ชาวบ้านทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ให้ซีพีทำเป็นตัวอย่าง ทำให้ประธานธนินท์คิดต่อจากที่ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงห่วงใยเกษตรกรที่ยากจน ท่านประธานธนินท์จึงได้น้อมนำพระราชดำริมาริเริ่มโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าขึ้นเป็นแห่งแรกและอยู่ไม่ไกลจากเขาหินซ้อน และตรงนั้นเป็นพื้นที่ดินเสื่อม ได้นายอำเภอทิวา พูลสมบัติช่วยรวบรวมพื้นที่และคัดเลือกเกษตรกรที่ยากจนไม่มีที่ทำกินมาจัดสรรอยู่ในหมู่บ้านเลี้ยงสุกร

ซึ่งซีพีก็มีการศึกษาการเลี้ยงสุกรของโลกว่าทำอย่างไร แล้วทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายอย่างไร ท่านก็พบว่าวิธีการเลี้ยงหมูแบบใหม่ 1โรงเรือนมี 2พ่อสามารถไปทับแม่หมูที่เป็นสัดได้ 30แม่ ก็จะเป็นรอบการผลิตได้ แม่หมูจะทยอยผลิตลูกออกมา แม่หมูจะอุ้มท้อง 3เดือน 3อาทิตย์3วัน โปรแกรมถูกวางไว้ทั้งหมด สัตวแพทย์ สัตวบาลของเราต้องไปเรียน เราไปเรียนรู้แล้วแปรออกมาให้เป็นเรื่องที่ง่าย เกษตรกรทำได้

จากประสบการณ์ของซีพี ซีพีเชื่อมั่นว่าถ้าเกษตรกรเข้าถึงโอกาสแล้วได้เรียนรู้ได้เข้าใจ ทำซ้ำก็จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แล้วเกษตรกรจะรู้ว่าเมื่อทำเป็นอาชีพแล้วก็มีรายได้ มีศักดิ์ศรี ต้องทำให้เกษตรกรอยู่รอด มีกำไร ซีพีมองว่าการทำธุรกิจที่ทำให้ฐานรากดีขึ้น และทำให้คนไทยมีอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้นเข้าถึงมากขึ้น นี่คือวิธีคิดของซีพี คนต้นน้ำคือเกษตรกรก็ได้ประโยชน์ คนกลางน้ำ พวกผู้ประกอบการ ได้ประโยชน์ ปลายน้ำคือผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์

ตลอดช่วงการทำธุรกิจของซีพีจึงยึดมั่นในเรื่องของคุณธรรม คุณภาพ บนปรัชญา 3ประโยชน์และมีแนวทางการส่งเสริม ทำงานกับเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องที่ย้ำให้เห็นว่า คำว่า เกษตรกรคือคู่ชีวิตเป็นคำพูดที่จับต้องเป็นรูปธรรมได้