คุณพงษ์เทพ เจียรวนนท์ บทเรียนการทำงานในซีพี “ไม่รู้-ไปเรียนรู้-รู้ -ทำให้สำเร็จ”

คุณพงษ์เทพ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกลุ่มธุรกิจสัตว์เลี้ยง 1ในผู้บริหารของเจียไต๋และเครือซีพีที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญอีกคนหนึ่งภายหลังเดินทางไปใช้ชีวิตเรียนหนังสือที่ประเทศออสเตรเลียตั้งแต่อายุ 11 ขวบที่ต้องเรียนรู้ ใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดนด้วยตนเอง และภายหลังเรียนจบระดับปริญญา กลับมาช่วยกิจการของเจียไต๋และเครือซีพี โดยมีบทบาทสำคัญในกิจการด้านการจำหน่ายอาหารสัตว์ของเครือฯ ซึ่งเป็นหัวใจของซีพี อีกทั้งบทบาทในการดูแล ฟื้นฟูกิจการของเจียไต๋จากช่วงวิกฤตค่าเงินบาท และกลับมามีบทบาทสำคัญในเครือฯตามภารกิจที่ท่านประธานอาวุโสมอบหมาย มีประสบการณ์ความรอบรู้เรื่องของสัตว์ เรื่องพืช รวมทั้งการดูแลธุรกิจที่สำคัญของเครือฯในปัจจุบันคือธุรกิจสัตว์เลี้ยง และยังมีเรื่องของธุรกิจไอศกรีมภายใต้แบรนด์เอเต้ เป็นแบบอย่างของผู้บริหารที่มีความเป็นวิชาการ เป็นแบบอย่างของการเรียนรู้อีกคนของเครือฯ

คุณพงษ์เทพเล่าให้คณะทำงานด้านContent 100 ซีพีถึงประสบการณ์การทำงานว่าเข้ามาทำงานที่ซีพีในปี๑๙๗๔หรือพ.ศ.2517 โดยเข้ามาทำงานด้านวิชาการอาหารสัตว์อยู่กับดร.ชิงชัย โลหะวัฒนกุล ประมาณ 1ปีท่านประธานอาวุโสได้มอบหมายให้มาช่วยงานด้านแพลนนิ่งต่อมาท่านประธานอาวุโสมีแนวทางการปรับปรุง พัฒนางานด้านขายเพราะเวลานั้นมีโรงงานอาหารสัตว์ที่ตรอกจันทน์และโรงงานอาหารสัตว์ที่บางนา ซึ่งเวลานั้นท่านประธานอาวุโสเป็นผู้นำเกี่ยวกับเรื่องการขาย ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทไม่มีฝ่ายสินเชื่อ ท่านประธานอาวุโสเข้ามามาจัด เสริมทางด้านฝ่ายสินค้า ทำให้มีมาตรฐานการขาย

“ผมร่วมงานด้านการขายอาหารสัตว์อยู่ปีกว่า หลังจากนั้นท่านประธานประเสริฐ พุ่งกุมารกลับมาจากดูแลกิจการที่มาเลเซีย ผมเลยมาเรียนรู้งานใหม่ที่บริษัทกรุงเทพค้าสัตว์ ซึ่งเวลานั้นธุรกิจไก่ยังไม่ได้มีห่วงโซ่อาหารที่ครบวงจร เริ่มมีฟาร์มที่บ้านบึง โรงฟักที่บางพระ โครงการเลี้ยงไก่กระทงก็เริ่มแล้ว มีทุกอย่างขาดเพียงขั้นตอนที่สำคัญคือด้านโรงงานชำแหละ ผมมีโอกาสเพราะตอนนั้นคนยังไม่มาก เป็นช่วงโอกาสที่ดีที่จะกิจการซีพีเข้าสู่แนวทางแบบครบวงจร และเป็นช่วงโอกาสที่ดีที่เวลาท่านประธานอาวุโสเดินทางไป ดูงานต่างประเทศผมมีโอกาสไปด้วยได้เห็น การเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยได้เรียนรู้เรื่องของอินทิเกรชั่น เรื่องของการเลี้ยงไก่ การส่งเสริมเกษตรกร การจับไก่เพื่อเข้าสู่โรงงานชำแหละ ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความรู้ อาศัยการบริหารจัดการ ได้เรียนรู้ถึงแนวคิด เทคนิค เทคโนโลยีฯลฯที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีการนำความรู้ จากต่างประเทศมาดัดแปลง ให้เกิดประสิทธิภาพ”

กอบกู้ฟื้นฟูเจียไต๋ร่วมกับพี่น้องทีมงาน
คุณพงษ์เทพเล่าว่ามีช่วงเวลาหนึ่งที่ท่านกลับไปช่วยดูแลกิจการของเจียไต๋ช่วงนั้นมีเหตุการณ์ที่ประเทศไทยมีการประกาศลดค่าเงิน ทำให้เจียไต๋ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน

“ตอนนั้นท่านประธานอาวุโสได้มอบให้คุณธีรยุทธ พิทยาอิสรกุลเข้าไปช่วยทางเจียไต๋ผมก็มีโอกาสตามไป ไม่นานคุณธีรยุทธ์ต้องไปดูแลกิจการในจีน ผมจึงรับไม้ต่อ แต่ผมโชคดีมากที่มีน้องชายที่ทุ่มเทคือคุณมนู เจียรวนนท์และคุณมนัส เจียรวนนท์ คุณมนูเก่งเรื่องโอเปเรชั่น คุณมนัสเก่งเรื่องเทคโนโลยีและให้ช่วยเรื่องการพัฒนาโครงสร้างระบบ คุณมนูดูแลเรื่องปุ๋ย คุณมนัสดูแลเรื่องเมล็ดพันธุ์ และทำงานวิจัยต่างๆ ส่วนผมดูแลเรื่องยา เราแบ่งกันดูแลรับผิดชอบ และผมก็ดูแลทั่วไป ส่วนคุณวัชรชัย เจียรวนนท์อยู่กับคุณมนัสแต่ส่วนใหญ่ประจำอยู่ที่เมืองกาญจน์ คุณวัชรชัยมีพรสวรรค์ในเรื่องพืชอย่างเมล่อน ช่วงเวลานั้นพี่น้องทำงานอยู่ร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน กินร่วมกัน อยู่บ้านเดียวกัน คุยงานกันอาทิตย์ละเจ็ดวันจนสามารถฟื้นฟูกิจการกลับคืนมา”

กลับคืนซีพีเรียนรู้โลกกว้าง
หลังจากอยู่ที่เจียไต๋ร่วม 10 ปี คุณพงษ์เทพได้กลับมาดูแลงานวิชาการอาหารสัตว์ที่ซีพีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับสัตว์บก โดยดร.ชิงชัยไปดูแลด้าสัตว์น้ำ ที่กำลังเติบโต

“ช่วงนั้นก็มีเรื่องท้าทายใหม่ๆ เป็นช่วงที่คุณธีรยุทธดูแลเมืองจีน ดูแลเกษตรเมืองจีนส่วนผมก็อัตโนมัติไปดูแลด้านวิชาการ ก็ไปช่วยท่านดูแลอาหารสัตว์ที่เมืองจีน ซึ่งเมืองจีนตอนนั้นไม่เหมือนสมัยนี้ การขยายตัวค่อนข่างเร็วมาก จากวันที่ผมเข้าไปจนออกมามี 100กว่าโรงงาน หลังจากนั้นผมก็มีโอกาสไปที่อเมริกาในปี๑๙๙๙ คุณธีรยุทธก็ไปดูกิจการที่โอกลาโฮมา ท่านประธานอาวุโสบอกให้ผมไปช่วยคุณธีรยุทธอีก ก็เลยดูแลควบทั้งวิชาการอาหารสัตว์และโครงการที่โอกลาโฮมา ซึ่งที่โอกลาโฮมาก็มีเรื่องของเอเวี่ยน กิจการสัตว์ปีกพ่วงเข้ามา ช่วงนั้นใช้เวลาอยู่อเมริกาห้าปี.”

สร้าง2ธุรกิจใหม่ให้ซีพี
จากนั้นในปี2000 คุณพงษ์เทพก็ ได้รับมอบหมายจากประธานอาวุโสให้มาพัฒนาด้านสัตว์เลี้ยงให้เป็นธุรกิจอย่างจริงจัง โดย ก่อนหน้านี้ซีพีก็มีการขายอาหารสุนัขแต่ยังไม่ค่อยเดิน เทียบกับคู่แข่งยังไม่ได้ คุณพงษ์เทพใช้เวลาไม่นานก็สามารถผลักดันธุรกิจสัตว์เลี้ยงขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในเมืองไทยรวมทั้งตลาดในSoutheast Asia อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี และคาดว่าภายในหนึ่งปีเราจะขยับมาที่ 15 ของโลก สองปีที่แล้วเราขยับมาอยู่ที่21แล้ว

อีกกิจการหนึ่งที่คุณพงษ์เทพดูแลมาพร้อมกันคือธุรกิจไอศครีมภายใต้แบรนด์เอเต้โดยเริ่มต้นเป็นไอศครีมแบบพาวเวอร์ แต่ก็พบว่าไอศครีมพาวเวอร์มีข้อจำกัด จึงค่อยๆปรับมาเรื่อยๆจนกระทั่งวันนี้มีโปรดักซ์สมบูรณ์แบบ เป็นครั้งแรกที่เรามีทั้งแท่ง ทั้งโคนทั้งแบบตัก เราก็มาเน้นในอุตสาหกรรมที่คนทำน้อยเราจึงเรียกว่าตระกูลโบราณ อย่างไอศกรีมถั่วดำ เผือก อะไรพวกนี้ แล้วจริงๆมันก็ดีเพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบรสชาติไทยๆ ซึ่งส่วนนี้ก็เติบโตยกเว้นช่วงโควิดที่ภัตตาคารปิด ทุกคนในอุตสาหกรรมนี้ก็ดาวน์หมด แต่หลังโควิดผมเชื่อว่ามันจะพุ่งขึ้นอีก แม้จะห่างจากเบอร์สอง เบอร์หนึ่งเพราะเค้าอยู่ในตลาดก่อน โดยเอเต้กำลังสร้างตลาดของตัวเอง อันนี้คือความท้าทายของอุตสาหกรรม หรืออย่างอาหารสัตว์เลี้ยงก็เหมือนกัน ไม่มีใครคิดเลยว่าซีพีสามารถขึ้นมาติดอันดับอย่างรวดเร็ว เราถือว่าเอเชียเป็นเหมือนบ้านเรา เพราะฉะนั้นเราก็สามารถจะได้ตลาดเพิ่มขึ้นไม่น้อย เรากำลังมีโรงงานในจีน และกำลังจะเสร็จในอินโดนีเซียกับพม่า เพราฉะนั้นเราก็จะมีเมืองไทย อินโดนีเซีย พม่า จีน โดยมีอาหารสุนัข กับแมวไปคู่กัน

บทเรียนซีพี:ไม่รู้-เรียนรู้-จึงรู้-ทำให้สำเร็จ
คุณพงษ์เทพบอกว่าทำงานกับซีพีผมได้เรียนรู้อันหนึ่งว่าถ้าคุณไม่รู้คุณต้องเรียนรู้ ถึงจะรู้ อย่างคุณอดิเรก ศรีประทักษ์ที่ท่านประธานอาวุโสพูดตลอดเวลาว่าคุณอดิเรกเข้ามาความจริงแล้วจบอย่างอื่นแต่สามารถเข้ามาดูแลโรงงาน จากโรงงานท่านก็เอาประสบการณ์อย่างอื่นเข้ามาร่วมจนกระทั่งท่านขึ้นมาระดับผู้บริหารระดับสูงสุดของซีพีเอฟ และก็มีคุณก่อศักดิ์ สมัยก่อนท่านก็อยู่กับอาหารสัตว์ จัดซื้อ เวลาไปทำทำเซเว่นซึ่งคนละอย่างและในเซเว่นก็มีคนที่มาจากจัดซื้อ จากธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ค้าปลีก อย่างคุณปิยะวัฒน์ ขายไก่ก็ยังทำได้ หรืออย่างคุณธนากร เสรีบุรีจากขายยาสัตว์ อันนี้แหละคือซีพี มันไม่ใช่ว่าคนชอบทำงานกับใครหรืออะไร

“อย่างที่ท่านประธานอาวุโสพูดในค่านิยมซีพี ถ้าไม่รู้ก็ไปเรียนรู้ วันนี้เราเริ่มเข้าใจเพราะเราเห็นมาเยอะ อย่างคนรุ่นก่อนไม่มีCPLI แต่จากวันนี้ที่มีสถาบันผู้นำ เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่คนจะใช้หรือไม่ ท่านประธานอาวุโสสร้างทุกอย่าง ซีพีสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างคน สร้างให้เป็นคนที่เรียนรู้ อันนี้แหละคือซีพี ไม่ใช่ว่าใครจะชอบทำงานกับใครแต่ต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งที่องค์กร ผู้บริหารให้โอกาส อย่างที่ท่านประธานอาวุโสให้โอกาสผมให้ไปดูเรื่องของสัตว์เลี้ยง เพราะฉะนั้นเมื่อผมทำก็เป็นที่หน้าที่ของผมที่จะต้องเรียนรู้แม้ผมไม่รู้ ถ้าผมเรียนรู้ได้ โตได้ผมก็เติบโต นี่คือสิ่งที่ซีพีสอนให้ทุกคนที่มีโอกาสแม้จะไม่รู้ในเรื่องนั้นก็ต้องไปเรียนรู้เพื่อให้รู้แล้วทำให้ได้ ทำให้ดีที่สุด หรือตัวอย่างของผู้บริหารอีกหลายๆคนที่ได้รับโอกาสจากท่านประธานไม่ว่าจะเป็นท่านประเสริฐ คุณธีรยุทธ ใครต่อใคร”

ฝากข้อคิดคนรุ่นใหม่/เถ้าแก่น้อย
“ซึ่งสิ่งนี้อยากจะให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ เรียนรู้ถึงการทำงานของซีพีอย่างที่กล่าว ซีพีให้โอกาส ให้เวที ท่านประธานอาวุโสสร้างเวทีให้แล้วถ้าเราไม่รับโอกาสนั้นก็ถือเป็นความผิดพลาดของคนนั้นเอง แต่ช่วงนี้คนที่อายุเจ็ดสิบอย่างผมก็ต้องมาสร้าง สองกิจการคือไอศกรีม กับธุรกิจอาหารสัตว์ ถ้าเราสามารถทำสำเร็จก็ถือเป็นความยิ่งใหญ่ทุกอย่างที่ผมดูแลผมให้ความสำคัญถือเป็นความท้าทายหมด และหากเราขึ้นมาเป็นที่หนึ่งแล้ว ตรงนี้ยิ่งมีความกดดันสูง เหมือนกับคุณเป็นแชมป์แล้ว ไม่ใช่ว่าแชมป์จะโดนโค่นไม่ได้นะ เราขึ้นมาเป็นแชมป์เพราะเราโค่นแชมป์ก่อนหน้าเรา แล้วถ้าคนอื่นเค้าจะเป็นแชมป์เค้าก็ต้องโค่นเรา เพราะฉะนั้นเราก็อย่าให้คนอื่นมาโค่นง่ายๆ เราก็ต้องสร้างคนขึ้นมาที่จะสามารถผนึกกำลัง นี้คือของจริง ในรุ่นของพวกผม คนรุ่นก่อนเราเรียนรู้จากของจริง แต่คนรุ่นใหม่ๆที่เข้ามาถือว่าได้เปรียบมากถ้าเขารู้จักTake Opportunityก็จะไปได้ไกล

คุณพงศ์เทพยังได้ตอบข้อสงสัยว่าทำไมซีพีถึงมาทำธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ต้องพูดภาพรวมก่อน ตอนนั้นซีพีทำกิจการอาหารสัตวมีโรงงานอยู่ที่กม.21 อยู่ในส่วนของธุรกิจสัตว์บกแล้วก็ย้ายมาอยู่กับธุรกิจสัตว์น้ำ ซึ่งเวลานั้นอาหารสัตว์เลี้ยง คู่แข่งรายใหญ่ๆก็ยังไม่ได้เข้ามาในตลาด ตลาดตอนนั้นก็เป็นของซีพี พอคู่แข่งเข้ามาเขามีเทคโนโลยีและมีความชำนาญในธุรกิจนั้นจริงๆ ก็ทิ้งห่างเราไปเลย

“ผมเชื่อว่าเรื่องนี้ท่านประธานอาวุโสเห็นว่าธุรกิจนี้จะต้องมา ให้ความสนใจ ทำอย่างไรให้ธุรกิจนี้โตในตัวเอง ท่านเลยมอบหมายให้ผมมาดูแลธุรกิจสัตว์เลี้ยง ผมก็รับมาดูแลเอาเรื่องของงานวิจัยเข้ามา ปรับปรุง เอาคนที่มีความรู้ทางด้านนี้เข้ามา ซึ่งก็เป็นทีมเดิมของผม และอย่างที่ผมเชื่อว่าเราต้องเรียนรู้ในอุตสาหกรรมใหม่ที่เราเข้าไป ธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตปีหนึ่ง 4-5%และถ้าเราจะโตก็ต้องขยายตลาด

คุณพงษ์เทพได้ให้ข้อคิดกับคนซีพีรุ่นปัจจุบันควรเรียนรู้อะไรจากคนรุ่นก่อน
“ก็ไม่มีอะไรพิเศษ อย่างผมโชคดีเราคิดอะไรเองตั้งแต่เด็กๆ ไปเรียนต่างประเทศ คุณพ่อส่งไปเรียนออสเตรเลียตอนอายุสิบเอ็ดขวบต้อง ช่วยตัวเอง ดูแลตัวเองตั้งแต่อายุน้อย คำว่าเอาชีวิตรอดเป็นเรื่องใหญ่ อีกอย่างสมัยของพวกเราต้องเป็นคนที่สามารถทำได้หลายอย่าง อย่างท่านประธานอาวุโสท่านสามารถบริหารการผลิตได้ บริหารการขายได้ ทุกขั้นตอนของอุตสาหกรรมท่านสามารถจะทำได้หมด ผมถึงว่ามายุคนี้มีวิธีการที่จะเรียนลัด แทนที่คนหนึ่งจะใช้เวลา สามสิบปีที่จะเรียนหมด คุณอาจจะใช้สามสิบเดือน ถ้าขยัน เอาใจใส่ และที่ผมมองคือระบบอยู่ในตัวผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนก็ตามข้างล่างจะมองข้างบน ผมเห็นคุณพ่อทำงาน ผมเห็นท่านประธานอาวุโสทำงาน ผมเห็นท่านประธานจรัญ ท่านมนตรีและไม่ว่าความเห็นจะต่างกันแค่ไหน สุดท้ายแล้วไม่มีการโกรธกัน การระดมความคิด การเอาปัญหาขึ้นมาแก้ก็เหมือนกับทีมฟุตบอลว่าเราชนะไปแล้วเราแพ้ไปแล้ว แต่เราเป็นนักกีฬาที่แท้จริง งานก็คืองานออกจากงานเราก็ไปกันได้”

“ถ้าเราจะทำงานในตลาดที่เรามีความมั่นใจ เราเอาแนวทางหรือโปรดักซ์ ไอเดียจากประเทศที่พัฒนามากกว่าเราแต่เราก็ต้องหาวิธีการของเราที่สามารถปรับให้อยู่ในสภาพที่อยู่ในManagement Styleของพวกเราได้ ตรงนี้สอนกันไม่ได้ เกิดจากการเรียนรู้ไปเรื่อยๆด้วยตัวบุคคลเอง มันเป็นDNA เป็นอัตโนมัติ เขียนออกมาเป็นตำราอะไรไม่มีมีตำราเดียวเท่านั้นคือมาเรียนรู้ ที่ท่านประธานอาวุโส เน้น ถ้าไม่รู้อะไร ไปหาข้อมูล พอรู้ข้อมูลอันนั้นลึกซึ้งก็ให้หาคนที่จะทำได้ทำ ถ้าเราถนัดธุรกิจอะไรก็ต้องพยายามโตให้มากที่สุดในธุรกิจอันนั้น แต่ซีพีพยายามหาแนวใหม่อยู่ตลอด เพราะว่าแนวเก่ามีโอกาสอิ่มตัวและล้าสมัย ท่านประธานอาวุโสถึงคิดเสมอว่าเอาของที่มีอนาคตอย่างโทรคมนาคม ถือว่าแหวกแนว ไม่มีประสบการณ์แต่รู้ว่ามันมีอนาคต สำหรับซีพีอะไรที่ยิ่งยากแต่มีอนาคตต้องทำเพราะว่ามีน้อยคนที่จะทำเป็น ทำได้ ผมยกตัวอย่างไอศครีมทำไมผมถึงโดดเข้ามา มันเป็นความท้าทายอันหนึ่ง มีรายใหญ่อยู่ สองราย เรารู้ว่าธุรกิจนี้ไม่ใช่ทุกคนทำได้มันเป็นการท้าทายว่าเราต้องสร้างระบบที่เรามีโอกาสที่จะทำได้ดีกว่าคู่แข่งเรา อันนี้เราก็ใช้เดียวกันกับธุรกิจสัตว์เลี้ยง อะไรที่คู่แข่งเราอ่อน เราก็หาทางชนะจุดอ่อนนั้น แต่เรามาร์เก็ต คอนโทรลจะดีกว่า”

“งานแบบเดียวกันแต่อาจมองคนละแบบอาจจะมีคนบอกไม่เห็นจะมีอะไร คำว่าไม่เห็นมีอะไร แล้วทำไมคุณไม่ไปหาของที่คุณคิดว่ามันมีอะไร อย่างตอนที่ผมกลับมาอยู่ด้านเทคนิค วิชาการ แต่วิชาการจริงๆมันก็ไม่มีอะไรออกสูตรดูแลคุณภาพวัตถุดิบ จบ แต่หลังจากงานผมไปไหน วันเสาร์ผมก็ไปหน่วยงานที่ดูแลฟาร์มกับเรื่องขาย แต่ไปแล้วก็ได้เรียนรู้ว่าอีกธุรกิจหนึ่งทำอะไร มันต่อเนื่องกันอย่างไร เราก็ต้องพยายามเรียนรู้เพราะว่าเราอยากจะเรียนรู้ แต่ถ้าไม่มีคำว่าอยากเรียนรู้มันก็ไม่ไปหา อย่างอินทิเกรทไม่ใช่อยู่ดีๆ ท่านประธานอาวุโสพาไป ไปหาคนที่รู้เรื่องนี้ชื่อดอน โคเบิร์ต สมัยอยู่อาร์เบอร์เอเคอร์ เป็นคนที่ท่านรู้จักดีและเคารพท่านประธานอาวุโส คนนี้เป็นคนที่ทำงานร่วมกับซีพีตอนที่ซีพีซื้อไก่จากอาร์เบอร์ฯ เขาก็ไปทำอินทิเกรทของเขาเอง ท่านประธานอาวุโสก็ไปเยี่ยม ผมก็หาทางสร้างความสัมพันธ์กับคนที่ดูเรื่องไก่กระทง ไก่พันธุ์ ผมก็บินไปเลยไปอยู่กับเขาสามสี่วันจนกลายเป็นเพื่อนกัน เรียนรู้ว่าทำอย่างไรจากไก่กระทงผมก็ไปไก่พันธุ์ ไม่มีใครบอกผมว่าผมต้องไป แต่ผมไปดูแล้วสนุก มันเหมือนเล่นPuzzle ผมรู้เรื่องสูตรอาหารแล้ว ไก่มันเป็นอย่างไร โปรแกรมการเลี้ยงเป็นอย่างไร ไม่รู้ไปเรียนรู้ก็รู้ การพักผ่อนคือการไปเรียนรู้ ไปทำงาน”

ถามเรื่องความภูมิใจในโอกาส 100 ปีซีพี คุณพงษ์เทพบอก ภูมิใจ อันแรกเลยคือสิ่งที่ต้องทำ ถ้าคุณดูแลไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต่างๆ คำว่าผลงานสำหรับผมไม่ใช่อะไรเพราะทุกอย่างต้องไปเป็นทีม คือเรากำลังจะสร้างความมั่นคงให้ทีมงาน บริษัททมีกำไรก็ต้องกลับคืนมาให้คนที่ทำงาน อันนี้แน่นอนและถ้าบริษัทจะอยู่รอด คนส่วนใหญ่ก็ต้องได้รับผลประโยชน์เหมือนกัน ถ้าคุณจะไปขยายงานคุณก็ต้องสร้างความเป็นผู้นำ เวลาผมเกษียณก็ต้องมีคนแทนไม่ว่าผมจะใส่ Successor ไว้กี่คน สุดท้ายก็ต้องมีผู้นำ”

ถามคุณพงษ์เทพว่ามีอะไรฝากเป็นข้อคิดสำหรับคนรุ่นใหม่ที่เข้าโปรแกรมเถ้าแก่น้อยคุณพงษ์เทพกล่าวว่า
“ผมว่าประธานอาวุโสท่านเห็นว่าถ้าเผื่อท่านมีประชากร แน่นอนถ้ามีสิบคนสิบแคนดิเดท ถ้ามีร้อยคนร้อยแคนดิเดท คือมันจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ที่มันจะสำเร็จ ท่านมองเองก็รู้ว่าแนวทางจะเป็นอย่างไร ผมก็ถือว่าคนที่มีโอกาสที่จะเข้ามาในโปรแกรมนี้คือเค้ามีโอกาสที่จะเรียนรู้อันนี้อยู่ที่คนเค้าแล้ว ท่านให้โอกาสผมว่าแทนที่จะต้องใช้เวลาสิบปียี่สิบปีก็ให้โอกาสเรียนรู้เร็วเพราะสมัยนี้ข้อมูลข่าวสารเร็วกว่าพวกเราสมัยก่อนที่เป็นกระดาษต้องไปวิ่งหา สมัยนี้พูดสองคำเดี๋ยวเอามาให้แล้ว แต่ผมเชื่อว่าธุรกิจอยู่ที่ความถนัด ถ้าเรามีคนถนัดด้านลอจิสติกส์ แน่นอนว่าถ้าเขามีแนวคิดที่เหนือกว่าคู่แข่ง มันเกิดแน่ เพราะฉะนั้นทุกอย่าง การค้าทุกชนิดอยู่ที่ความสามารถของผู้นำที่จะสร้างแนวความคิดก่อน คุณรู้ได้อย่างไรว่าตัวนี้จะเป็นคีย์ที่จะชนะ มันเป็นเกมส์อึดนะไม่เหมือนเกมส์ฟุตบอลถึงเวลาเลิก อันนี้ไม่มีเวลาเบรก ไม่มีเวลาอะไร เพราะธุรกิจเราคือขายของขายยิ่งมากคุณยิ่งมีส่วนแบ่งตลาดมาก เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่คุณเรียนรู้ ทุกทีม”

ถามว่าตลอดการทำงานมีเหตุการณ์ไหนที่ยากที่สุด เป็นบททดสอบที่ยากที่สุดและผ่านมาได้อย่างไร คุณพงษ์เทพบอกว่า”ในช่วงที่ยากที่สุดและสนุกที่สุดคือช่วงที่ไปทำงานเจียไต๋ เพราะเจียไต๋เจอเหตุการณ์ลดค่าเงิน สมมุติว่าวันนี้คุณดีอยู่ พรุ่งนี้คุณมาติดลบจากค่าเงิน อยู่ดีๆหายไปเลย1,300 ล้านเพราะฉะนั้นถ้าคุณเข้าไปอยู่ในบริษัทแบบนี้จะทำอย่างไร ผมก็บอกทุกคนผมไม่สามารถเลี้ ยงได้ทุกคน ตอนนั้นผมจำได้เรามีอยู่750 คน คุณมนัสกับทีมก็มาแพลนดูว่า เราต้องการประมาณเท่าไหร่ เราต้องการ350 แล้วจะทำอย่างไร ถ้าคุณเก็บไว้ 750 เรือลำนี้ก็จะจม แต่วิธีการที่ผมทำ คือเราเรียงอายุคนกับวิธีการสมัครใจ เพราะฉะนั้นบริษัทฟื้นได้จากคนที่รู้วัฒนธรรมองค์กร Moralยังมีอยู่อาหารแบ่งกันกิน อันนี้คือข้อสำคัญ คุณจะทำยังไง คุณทำเพื่อส่วนร่วมไม่ใช่เพื่อส่วนตัว ถ้าไม่รอดก็ตายกันหมด แต่มันต้องรอด มันมีวิธี สำหรับซีพีผมยังไม่เคยเห็นบริษัทที่อยู่ในกิจการหลักๆ จะเจอวิกฤตตลอดเวลา แต่หลังจากวิกฤตผ่านไป มันเติบโต ไม่มีเหตุการณ์ที่เราคิดว่าเราแก้ไม่ได้ ทุกอย่างใช้มนุษย์ทั้งนั้นถ้าไลน์ของธุรกิจมีอนาคตอยู่ที่วิธีที่คุณทำ ทีมงานสามารถ ทำงานเป็นทีม ท่านประธานอาวุโสถึงตั้งชื่อว่าสถาบันผู้นำ ผู้นำจะต้องเป็นผู้นำที่แท้จริง “

“ซีพีให้โอกาสที่คนเข้ามาในDNAเดียวกันผมไม่คาดหวังว่าทุกคนจะคิดแบบเดียวกันถ้าความชอบ DNAไม่เหมือนกัน เค้าก็ต้องไปหาสิ่งที่เค้าเหมาะสม ซีพีเราอาศัยผู้นำผมคิดว่าทุกองค์กรต้องมีผู้นำ อันแรกเลยที่ท่านประธานอาวุโสเน้นมากคือความซื่อสัตย์ อันนี้ในความเห็นผมหลังจากทำงานมานานถ้าคุณไว้ใจผู้บริหาร คนที่ท่านใช้คนคนที่ท่านไว้ใจตรงนี้สำคัญที่สุดและอีกอย่างท่านจะดูตลอดคือความรับผิดชอบ มอบแล้วถ้าไม่เห็นด้วยบอกมาเลย ประธานนินท์ เป็นผู้นำที่แท้จริง ผมเรียนรู้จากท่าน “