คุณธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล 57 ปี ในซีพีจากพนักงานหน้าร้านซีพีกับตำนานการสร้างโมเดลธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมซีพีไทยสู่โลก

คุณธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้สัมภาษณ์คณะทำงานด้าน Content 100ปี ซีพีถึงจุดเริ่มการเข้ามาทำงานกับซีพีพร้อมกับบทบาทในการมีส่วนร่วมบุกเบิกสร้างโมเดลธุรกิจเกษตรครบวงจรทำให้เครือซีพีมีประสบการณ์ ความรู้ในการบริหารจัดการด้านการทำเกษตรอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยก่อนขยายไปต่างประเทศ พร้อมข้อคิดจากการทำงานในซีพีว่า

“ผมเข้ามาทำงานที่ซีพีจนถึงวันนี้ รวม 57ปี จากเด็กหาดใหญ่ สงขลา มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพ มีโอกาสเรียนที่ ACC โรงเรียนที่ถือว่าแข็งแกร่งด้านภาษาอังกฤษ ที่ส่วนใหญ่จบแล้วจะไปทำงานองค์กรในบริษัทฝรั่ง หรือองค์กรระหว่างประเทศเงินเดือนค่อนข้างสูงแต่กลับตัดสินใจทำงานกับซีพีในยุคเป็นร้านเจริญโภคภัณฑ์ย่านวัดเกาะ”

เข้าซีพีเหมือนชะตาลิขิต
คุณธีรยุทธเล่าว่า “อยู่มาวันหนึ่ง เพื่อนผมคนหนึ่งที่เรียนหนังสือด้วยกันชวนผมไปคุยกับท่านประธานธนินท์ วันนั้นที่ร่วมคุยด้วยมีท่านธนินท์ ท่านวัลลภ ท่านเชิดชัย เพื่อนผมและผม 5-6 คน คุยกัน ประธานธนินท์บอกผมมีงานว่างอยู่ตำแหน่งหนึ่งทำเกี่ยวกับเสมียนหรือทั่วๆไปประธานธนินท์ชวนให้ผมมาทำงาน คุยไปคุยมา คุยกันถูกคอ จึงตัดสินใจ”

“วันที่ 1 เมษายน 2507 ผมก็มาทำงาน เริ่มต้นทำงานเกี่ยวกับเสมียนอะไรพวกนี้ เป็นร้านห้องแถว ทำงานไปประมาณสักปี ซีพีก็ย้ายจากเลขที่ 88 ไปอยู่สถานที่ที่กว้างขึ้นเป็นห้องแถวสองห้อง พอไปที่ออฟฟิศใหม่ผมก็มีหน้าที่ช่วยท่านประเสริฐทำหน้าร้าน ขายของทุกสิ่งทุกอย่าง จริงๆแล้วสมัยนั้นไม่มีคำว่าอาหารสัตว์ ขายวัตถุดิบเป็นหลัก ปลาป่นเอย รำข้าวเอย กากถั่ว ช่วยกันทำไม่ ได้ มีว่าใครทำหน้าที่อะไร อยู่ที่วัดเกาะประมาณ 6-7 ปี ถึง ปี1970 ย้ายไปที่ตรอกจันทน์ซึ่งตรอกจันทน์จริงๆแล้วเป็นที่พักของท่านชนม์เจริญและตอนหลังธุรกิจเติบโต ก็ไปเอาที่ส่วนหนึ่งของที่ตรอกจันทน์ทำเป็นโรงงานและไปซื้อเครื่องจักรเก่า ที่ใช้ผสมอาหารอะไรต่อมิอะไร ท่านประธานธนินท์ก็ไปซื้อเครื่องนี้มาเป็นการเริ่มต้นทำอาหารสัตว์แบบใหม่ที่มีการผสม”

งานหนักแต่มีความสุขมีหัวหน้าดี
“ช่วงที่วัดเกาะ ทุกคนทำงานตั้งแต่เช้า 7 โมงถึง 3,4 ทุ่ม ผมกับท่านประเสริฐอยู่หน้าร้านและเสาร์อาทิตย์ผมกับท่านประเสริฐจะออกต่างจังหวัดไปด้วยกันไปเยี่ยมลูกค้า ทางอีสาน วันศุกร์เลิกงานก็ออกจากกรุงเทพ 6 โมง ขับรถสองคนผลัดกันไปถึงอุดรเที่ยงคืนสมัยนั้นถนนไม่ค่อยดี อุดรเสร็จก็ไปเยี่ยมที่สกลนคร นครพนม เสร็จแล้วอีกวันก็เยี่ยมลูกค้า ตกเย็นวันอาทิตย์ก็เข้ากรุงเทพ วันจันทร์ทำงานต่อ ทำแบบนี้ตลอดหลายปี ผมกับท่านประเสริฐ ผมพูดอยู่เรื่อยในเมืองไทยสมัยนั้น ผมไม่เคยไปจังหวัดเดียวคือ จ.เลย เพราะว่าเลยตอนนั้นเราไม่มีลูกค้า ที่อื่นเรียกว่าไปหมด นี่คือภาพการทำงานตอนนั้นและคุณประเสริฐเป็นหัวหน้าที่ดีมากและเป็นคนที่ขยันที่สุดที่ผมเคยเจอ ท่านอยู่ที่ตรอกจันทน์

ท่านทำอย่างไรรู้ไหมที่จะมาวัดเกาะ ท่านก็จะให้ขึ้นวัตถุดิบอาหารสัตว์รอไว้ตอนกลางคืน เช้าก็ขับรถออกมาจากโกดังเพื่อเอาวัตถุดิบมาขาย ตกเย็นท่านก็ขับกลับไปหลังทุ่มหนึ่ง เป็นอย่างนี้ทุกวัน เพราะฉะนั้นพวกที่อยู่หน้าร้านอย่างผมกับท่านประเสริฐก็จะอยู่ดึก เพราะรอให้รถไปส่งของที่ท่าเตียนตอนบ่าย รถก็ติดเวลาก็กลับไม่ได้ต้องรอถึงทุ่มรถก็กลับมา เช็คบิล ทุกอย่างถึงจะจบ แต่ชีวิตแบบนี้เรียกว่าทำงานหนักจริง แต่ค่อนข้างมีความสุขมาก พวกเรา 5-6 คนจะรวมกลุ่มกัน ทำงาน ท่านประเสริฐจะเป็นคนที่เสียสละที่สุด ส่งทุกคนกลับบ้านแล้วท่านถึงจะกลับ ถึงจะลำบากก็จริงแต่ทุกคนทำงานอย่างสนุก มีความสุขเพราะเราค่อนข้างเกาะกลุ่มกัน จะเรียกว่าบริษัทหรือร้านก็ไม่ต่างอะไรกันโดย มีท่านประธานธนินท์เป็นหัวหน้าใหญ่”

จากอาหารสัตว์สู่ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ครบวงจร
คุณธีรยุทธย้อนเหตุการณ์เมื่อปี 2513 เราก็ไปที่ตรอกจันทน์ ตอนนั้นเป็นผู้จัดการฝ่ายขายแล้วมีท่านประเสริฐเป็นหัวเรือใหญ่ ท่านประธานธนินท์ก็เปิดธุรกิจใหม่ๆ ท่านไปดึงไก่เข้ามา ดึงหมูเข้ามา แต่พวกเราจะหนักไปทางเรื่องอาหารสัตว์เป็นหลัก ฉะนั้นปี 2513 อยู่ตรอกจันทน์ช่วงหนึ่ง เรื่องอาหารสัตว์เราก็ขยับขยายไป หลังจากนั้นท่านประธานธนินท์ก็ไปนำอาร์เบอร์เอเคอร์เข้ามาเพื่อมาเลี้ยงไก่เนื้อ

อาร์เบอร์เอเคอร์ก็เข้ามาจดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศไทย ปี 2513 อาร์เบอร์เอเคอร์จดทะเบียนเรียบร้อยก็ไปอยู่ที่สยามสแควร์กับบริษัทแอ็ดวานซ์ฉะนั้นเราก็เริ่มมีการขายไก่พันธุ์ ลูกไก่ ให้ลูกค้าทั่วๆไป จนท่านประธานธนินท์บอกว่าถ้าเราทำอันนี้ไป ขายอาหาร ขายไก่ไป ลูกค้าไม่รู้จะไปขายที่ไหน สุดท้ายผู้เลี้ยงก็แย่จึงเริ่มที่จะคิดทำโรงฆ่าไก่

สมัยก่อนเราต้องยอมรับว่าเราไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ก็หาคนลงไปทำไก่ ไปทำโรงฆ่าไก่ แต่การทำก็ยังไม่ค่อยทันสมัย และสมัยนั้นมีพ่อค้าเยอะมาก ที่ซอยอารี ซอยคลองเตย ประธานธนินท์ก็มองว่าเราต้องเอาจริงเอาจังเพื่อที่จะไปช่วยเหลือเกษตรกร ก็เริ่มทำโรงชำแหละไก่เริ่มต้นที่บางนากม.2 เป็นแบบราวแขวนไก่

“ตอนแรกที่เราลงไปทำเป็นธุรกิจใหม่ โรงฆ่าไก่แห่งใหม่เมื่อไก่ถอนขนขึ้นราวแล้วออกมาจะต้องผ่านน้ำแข็งเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน ไม่เหมือนซอยอารี คลองเตย เชือดไก่เสร็จถอนขน เอาไก่กลับไปบ้านกินเลย แต่ของเราไม่ใช่ เพราะบางวันเราขายไม่หมดเราก็ต้องเก็บในห้องเย็น ถ้าเก็บในห้องเย็นแต่ไม่ผ่านชีลด์ก่อน มันเก็บไม่ได้ เก็บแล้วมันเสียฉะนั้นในตลาดลำบากมาก ทุกคนบอกไก่เย็นไม่กิน จะกินไก่เชือดสดๆ ก็ต้องถือว่าขายค่อนข้างลำบากในสมัยนั้น โรงงานนี้ตอนแรกล้มลุกคลุกคลาน”

“ตอนนั้นผมยังไม่ได้เข้าไปดูเต็มตัว มีคนลงไปทำคนแรกน่าจะเป็นคุณชาตรี คงสุวรรณตั้งแต่ลาดพร้าวเลยในการทำลำบากมากเพราะว่าของเราไม่ได้เอาเปรียบอะไร ถ้าเทียบกับในตลาดและตลาดยังไม่ยอมรับ ฉะนั้นการที่เราถอนขนอย่างเดียวแล้วขายไก่เป็นตัวลงไปสู้กับพวกซอยอารี คลองเตยเรียกว่าลำบาก ฉะนั้นเรื่องนี้กว่าจะทำได้ ปวดหัวมาก ท่านประธานธนินท์ลงทุน ลงแรงไปดู ไปประชุมที่โรงงานบ่อยมาก เพื่อหาทางแก้ไขให้ดีขึ้น ไม่ให้ขาดทุน ผมว่าใช้เวลาเป็นปีก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จฉะนั้นในฐานะที่เราร่วมหัวจมท้ายกันมากับท่าน เห็นท่านลำบากและดูแล้วไม่ค่อยดีเท่าไหร่

ผมเองก็เลยอาสากับท่านว่า อย่างนี้ก็แล้วกันอาหารสัตว์ที่เราขายอยู่ทั่วประเทศ เราก็มีคนอยู่ค่อนข้างเข้ารูปอยู่แล้ว มีท่านประเสริฐเป็นหัวเรือใหญ่และข้างล่างก็มีคนช่วย ผมจึงอาสาไปทำโรงงาน ดูว่าจะมีโอกาสดีขึ้นไหม อย่างน้อยผมก็ร่วมกับบริษัทมาอยู่ติดกับท่านประธานธนินท์ ท่านก็สอนอยู่ทุกวัน ผมก็เป็นคนแรกที่เข้าไปดูแลบริษัทนี้ ประมาณปี2515 เราก็จดทะเบียนบริษัทใหม่เรียกว่ากรุงเทพค้าสัตว์และผมก็ไปจดอีกบริษัทหนึ่งเรียกว่าฟาร์มกรุงเทพ กรุงเทพค้าสัตว์ก็ทำเกี่ยวกับโรงฆ่าสัตว์ ส่วนฟาร์มกรุงเทพก็เป็นฟาร์มไก่พันธุ์ที่ผลิตลูกไก่ขายให้ลูกค้า กรุงเทพค้าสัตว์อยู่ที่บางนากม.2 ฟาร์มกรุงเทพอยู่ที่เพชรบุรีตัดใหม่ ผมเองก็ไปช่วยจดทะเบียน สองบริษัทนี้แล้วก็ถือว่าเป็นผู้จัดการทั่วไปของสองบริษัทนี้ เราก็ลงทุนลงแรงไปปรับปรุง โดยเฉพาะโรงฆ่า ทำอย่างไรให้มันดีขึ้นก็ต้องหาคนมาช่วยในเรื่องต่างๆ”

“เวลานั้นเมืองไทยโรงฆ่าไก่เท่ากับศูนย์คือไม่มีอะไรเลย ยกตัวอย่างเรื่องแรกสมัยนั้นการฆ่าไก่ต้องฆ่ากลางคืนเป็นประเพณีจับกลางคืนต้องขนมากลางคืน อย่างนี้คนก็เบื่อคนงานก็หายากด้วย เราก็ค่อยๆทำ ปรับเปลี่ยนใหม่ เราบอกไม่จำเป็น เราทำกลางวันก็ได้ก็เปลี่ยนมาฆ่ากลางวัน หาคนงานก็ง่าย ฉะนั้นในการเปลี่ยนแปลงเรามีเยอะมากยกตัวอย่างการชั่งไก่สมัยก่อนลงจากรถชั่งทีละเข่ง พอชั่งเสร็จก็เอาเข่งออก ชั่งต่อ รถหนึ่งคันมี30-50เข่ง คนงานขึ้นลงๆจนปวดหัวผมก็เปลี่ยนใหม่ชั่งเป็นคัน เอาไก่ลงหมดแล้วเอาเข่งกลับขึ้นไปแล้วหักลบกัน ก็ได้น้ำหนักไก่

ซึ่งหลายคนบอกว่าทำอย่างนี้ไม่ได้คุณจะเอาเปรียบเราอะไรต่างๆ มีโอกาสเอาน้ำใส่ในรถถ่ายน้ำออกไปเท่ากับน้ำหนักไก่เพิ่มขึ้น เราก็พยายามแก้ไขให้เรื่องนี้ไม่มีปัญหา คือเราไม่ได้เอาเปรียบใคร เพราะทุกคนดีขึ้น สามารถประหยัดคนงานขนขึ้นขนลง นี่ก็เป็นอันหนึ่งที่เราปรับปรุง อีกเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่รักษาผลประโยชน์ซึ่งกันและกันคือวิธีการรับไก่ สมัยก่อนไก่ส่งไปซอยอารี คลองเตย รถขนไก่ไปถึงรอ1ชั่วโมงก็ได้ รอ3ชั่วโมงก็ได้ รอ6 ชั่วโมงก็ได้ เกิดวันนี้มีรถขนไก่มาเต็มไปหมดขนไม่ทันก็ขายไม่หมด ก็เกิดความเสียหายมาก เสียต่อเกษตรกร พอชั่งแล้วรอ เมืองไทยอากาศร้อน ไก่ตาย ตายในเข่ง

ข้อ2 ใน1ชั่วโมงไก่อยู่ในรถน้ำหนักสูญหายไป สุดท้ายเกษตรกรก็เสียหายไปหมด แต่เค้าก็ชั่ง เพราะไม่ได้คิดถึงการอินทิเกรท ไม่คิดถึงเกษตรกร แต่ของเราไม่ เราคิดถึงความเสียหายที่จะเกิดกับเกษตรกร ซึ่งเท่ากับเราเสียหายด้วย เหมือนเราไปทำที่ศรีราชถ้าเกษตรกรขาดทุนเราก็ขาดทุน สมัยนั้นผมมีทีมงานคนหนึ่งชื่อสรัญญาเก่งมากจบสถิติ มาคำนวณเลยว่าวันหนึ่งเชือดได้กี่ตัว สมมุติ1,300ตัว ฉะนั้นก็ต้องเข้าทุก30นาทีต่อคัน เราก็มาจัดให้เหลื่อมเวลากันอาจจะมารอสัก5นาที10นาที เลยทำให้วิธีการจัดระบบการนำไก่เข้ามาถูกต้องตามระบบคือเข้ามารอ30นาทีก็ได้ ยกเว้นแต่คันไหนมาผิดเวลาก็ต้องมาต่อคิวคันอื่น ที่โรงงานกม.2เราพยายามปรับปรุงการชำแหละและพยายามทำให้มีมาตรฐาน พออย่างนี้เราก็มาคิดว่าเมืองไทยเวลาชำแหละมีชิ้นส่วนหลายชิ้นส่วนมาก ชิ้นส่วนนี้ขายดี ชิ้นส่วนนี้ขายไม่ได้ นี่คือปัญหาของเราตลอดเวลาเราต้องไปแก้ไขอย่างไรให้ดีขึ้นโดยเฉพาะเมืองไทยเรา อย่างชิ้นส่วนเนื้อหน้าอก คนไทยไม่ชอบกิน คนไทยชอบเนื้อน่อง สะโพก ปีก มากกว่า อย่างนี้ก็เป็นโจทย์ว่าเราจะทำอย่างไร

ส่งออกเนื้อไก่รายแรกของประเทศไทย
นอกจากปรับปรุงเรื่องราคา อะไรต่ออะไร ก็เริ่มคิดเรื่องการส่งออก เราพยายามทำมาตรฐานให้ดีให้สามารถส่งออกได้มีโอกาสไหม เพราะส่งออก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น เขาพิถีพิถันมาก ไม่เหมือนเรา น่องไก่ต้องชำแหละ เอากระดูกไก่ออก สะโพกต้องตัด ปีกต้องตัดสองท่อน สามท่อน เราก็คิดว่ามีโอกาสทำอย่างไรที่จะส่งออกได้ ฉะนั้นก็ไปสำรวจตลาดที่ญี่ปุ่น ซึ่งท่านประธานธนินท์รู้จักกับคนไต้หวันที่ไปอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น คือมิสเตอร์อองและอีกคนคือฮายาชิ 2คนนี้เค้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ที่ญี่ปุ่น พูดจีนกลางได้

ก็เลยมีโอกาสไปเยี่ยมเค้าที่ญี่ปุ่นประมาณปี2515 ก็ไปเยี่ยมเค้าและศึกษาว่าเรามีโอกาสไปได้ไหม มิสเตอร์อองก็รู้จักบริษัทที่โน้น ก็แนะนำคือบริษัทเซยู บริษัทเซยูเป็นบริษัทค้าไก่ใหญ่มากในญี่ปุ่นและเป็นซูปเปอร์มาร์เก็ตเชนด้วย ดีพาร์ตเมนท์สโตร์ด้วย แต่มิสเตอร์อองรู้จักกับบริษัทเมจิ มิลค์ เราก็เลยชวนบริษัทเมจิ มิลค์มาดูของเราที่เมืองไทยและช่วยเป็นเอเยนต์ให้เราเพื่อไปขายต่อในประเทศญี่ปุ่น มิสเตอร์อองก็พาพวกเค้ามา มาดูของเรา เค้าก็มาแนะนำว่าถ้าจะทำส่งออกไปญี่ปุ่นจะต้องทำอะไรบ้าง อย่างไร แบบไหนทางเราก็พยายามช่วยกันทำ ทำอย่างไรให้เรามีโอกาสไปได้

จากความพยามของทุกคน คุณสมัย คุณปรีชาก็มีโอกาสลงไปทำจนสุดท้ายเราก็สามารถส่งออกได้ใน ปี2516 ในปีแรกเราส่งออกไปถ้าจำไม่ผิด 5-10ตัน ทุกคนดีใจจนไม่รู้จะดีใจอย่างไร ทุกคนช่วยขนขึ้นรถเพื่อส่งออกไปในปี2516 ซึ่งเท่ากับว่าซีพีเราเป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่ส่งออกไก่ไปญี่ปุ่น ซึ่งในช่วง5-6ปีแรกไม่มีใครส่งเราเป็นเจ้าเดียว ซึ่งเราก็ค่อยๆขยายออกไป เมจิก็เป็นเอเยนต์ไปและไปขายต่อกับเซยู ต้องยอมรับว่าสมัยนั้นการนำเข้า ส่งออกไปญี่ปุ่น ยังไม่เข้มงวดเหมือนสมัยนี้เพราะว่าไก่พอชำแหละจะมีชิ้นส่วนหลายอย่างมาก ตอนแรกเราก็ส่งไก่ เนื้อไปไม่ว่าเนื้อหน้าอก เนื้อสะโพกไปญี่ปุ่น

แต่ไปๆมาๆเนื้อน่องสะโพก เนื้อปีกกลับขายได้ดีกว่า ญี่ปุ่นก็เหมือนกันคนไทย คนจีนชอบกินเนื้อดำDark Meatมากกว่า เนื้อหน้าอกเอาไหม เอา แต่ราคาถูกเอ อย่างนี้เรามีโอกาสทางอื่นไหม ก็สำรวจตลาดยุโรป คนอเมริกัน คนยุโรปชอบกินเนื้อขาว นี่คือสาเหตุอันหนึ่งที่เราเปิดตลาดยุโรปได้เนื้อหน้าอกก็จะไปทางยุโรปเป็นหลัก ฉะนั้นทำไม เรื่องการส่งออกไก่ไปต่างประเทศ เราต้องบอกว่าเราได้เปรียบ คือเรารู้จักการทำตลาดที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน”

“ฉะนั้นเราผลิตไก่ในเมืองไทยไม่ใช่ว่าต้นทุนถูกนะ เราแพงกว่าประเทศอื่น แพงกว่าอเมริกา แพงกว่าจีน แพงกว่าบราซิล เพราะว่าอเมริกามีวัตถุดิบที่ถูกมาก เลี้ยงเป็นล่ำเป็นสัน บราซิลก็มีวัตถุดิบที่ถูกมากเป็นล่ำเป็นสัน แต่ทำไมเราไปตลาดโลกได้ดีมากเพราะเรามีแรงงานที่ดี ที่เก่ง มี skill labour ที่ถูกกว่า อเมริกาก็ทำไม่ได้ จนมาถึงวันนี้ถือว่าไก่ชำแหละของเราชนะใครๆทั้งนั้น จีนตอนหลังซีพีเราไปลงทุนก็มีการสร้างโรงฆ่าไก่ มีการตัดแต่ง แต่จีนสู้ไทยไม่ได้ เพราะอะไร ไม่ใช่แรงงานสูงอย่างเดียว แต่มันมีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สู้เราไม่ได้ เพราะเนื้อหน้าอกเค้าไม่มีทางไป เพราะคนจีนก็ไม่ชอบกินเนื้อหน้าอก แต่ยุโรปบอกไก่จีนมาไม่ได้ ฉะนั้นยังไงก็ต้องขายไปญี่ปุ่น ฉะนั้นไทยเรายังไงก็ยังได้เปรียบอยู่จนถึงวันนี้ในเรื่องการส่งออกไก่ไปทั่วโลก”

ปธอ.เริ่มโครงการส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงไก่แบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง
คุณธีรยุทธบอกตอนที่ประธานธนินท์เปิดโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ก็เห็นว่าคอนแทรคฟาร์มมิ่งเป็นเรื่องที่ดีที่เกษตรกร1คนสามารถเลี้ยงไก่ได้หมื่นตัวและมีประโยชน์ต่อหลายส่วนคือ 1 .บริษัทได้ไก่ที่แน่นอน คุณภาพดี ราคาควบคุมได้ 2.ท้องที่ดีคือประเทศชาติได้ประโยชน์เราไปส่งเสริมได้งาน 3.เกษตรกรได้เงินที่แน่นอนเพราะประธานธนินท์พูดอยู่ตลอดเวลา คนที่เสียเปรียบสุดคือเกษตรกร ฉะนั้นเราจึงไปส่งเสริมเกษตรกรไม่ให้ราคาหวือหวามาก คนสุดท้ายคือสถาบันการเงิน สถาบันการเงินสมัยนั้นไม่มีทางปล่อยกู้ให้เกษตรกร เสี่ยงมาก ฉะนั้นบริษัทก็เข้าไปเป็นตัวกลางให้สถาบันการเงินมั่นใจว่าได้เงินคืน ฉะนั้นเราก็เอาสี่ประสานนี้ ท่านประธานธนินท์ก็เป็นคนไปเริ่มที่ศรีราชา อยู่ใกล้กับโรงฆ่าที่บางนา กม.2 ซึ่งตอนแรกเริ่มลงไปทำประจำจริงๆคือคุณเทิดพันธุ์ ไปส่งเสริมที่ศรีราชา ทำขึ้นมาตอนแรก ลุงแถมเป็นเกษตรกรคนแรกที่ขึ้นฟาร์ม ขยับขยายจน200-300หลัง นี่คือจุดเริ่มต้นสี่ประสานที่ประธานธนินท์เป็นคนไปผลักดัน หลังจากนั้นก็เรื่องเลี้ยงหมู เลี้ยงอะไร พยามยามคิดถึงวิธีการต่างๆแล้วก็นำวิธีการต่างๆไปเมืองจีน ไปประเทศอื่นๆ ทั้งหมดเลย คิดว่าดีที่สุด

“หลังจากที่เราทำโรงฆ่าที่ กม.2 ได้ดี ถือว่าเต็ม เต็มเสร็จเราก็คิดขยับขยาย ผมก็ไปสร้างโรงงานอยู่ที่มีนบุรีโรงที่สอง หลังจากนั้นศรีราชา พอมีคนเลี้ยงมาก ความต้องการอาหารสัตว์มาก เราก็ไปสร้างโรงงานอยู่ที่บางพระอีกโรงเป็นเบาส์เป็นหลัก ซึ่งอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ก็ใส่ถุง แต่ตอนที่เราไปทำโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่งก็ใช้แบบเบาส์ทั้งหมดที่บางพระ มีคุณพงษ์เทพ เจียรวนนท์ไปช่วยคุมการสร้าง โรงนี้หลังจากกม.21นิดหน่อย เป็นการสร้างแบบใช้สลิฟฟอร์คแห่งแรก ใช้เวลาก่อสร้างไม่กี่วัน”

หาลู่ทางการลงทุนในต่างแดนที่มีโอกาส
คุณธีรยุทธเล่าต่อว่า พอปี2521จีนเปิดประเทศ ทุกคนมองว่ามีโอกาสที่จะไปเมืองจีนไหม ซึ่งท่านประธานธนินท์พูดอยู่เรื่อยว่าธุรกิจของเราเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับคน ประเทศไหนมีคนมากก็มีโอกาส ฉะนั้นสมัยที่จีนยังไม่เปิดประเทศ ทางเราก็มองว่าเอเราควรจะไปที่ไหนดี สุดท้ายเราไปอินโดนีเซีย เพราะอินโดนีเซียมีประชากรมากก็ไปอินโดนีเซีย2511 ท่านสุเมธนำทีมไป ซึ่งเวลานั้นจีนยังปิดประเทศอยู่ พอปี2521 หลังเติ้งเสี่ยวผิงกลับมาใหม่ก็เปิดประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัย เติ้งเสี่ยวผิงก็มองว่าเพื่อไม่ให้ประเทศยุ่งยากมากก็ควรจะเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ชายฝั่งทะเลเพราะไม่รู้ว่าเปิดแล้วจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็เพื่อเป็นการทดลอง ฉะนั้นเค้าก็เปิด 4จุดก่อนในประเทศจีน จุดแรกเลยคือเซินเจิ้น เค้าคิดว่าเซินเจิ้นใกล้ฮ่องกง มีโอกาสมาก ไปมาก็สะดวก แห่งที่สองคือซันโถว ซันโถวนี่มีคนจีนโพ้นทะเลเยอะมาก อย่างเมืองไทยคนจีนหลักใหญ่ก็มาจากซันโถว แล้วก็เปิดจูไห่ จูไห่สมัยนั้นอยู่ตรงข้ามกับมาเก๊า อีกแห่งก็ไปเปิดเซี๊ยะเหมินอยู่ตรงข้ามไต้หวัน แต่ที่เค้าคิดว่าน่าจะได้ผลดีที่สุดคือเซินเจิ้น เพราะจากฮ่องกงเข้าไปสะดวกมาก

บุกเบิกกิจการในจีน
ในปี2521หลังจากจีนเปิดประเทศแล้วท่านประธานธนินท์ก็คุยกันว่าจีนมีคนตั้งมากแล้วมาอย่างนี้คงไม่กลับไปเหมือนเดิม ยังไงก็ต้องเปิดประเทศพวกเราน่าจะไปโดยแรงสนับสนุนจากคุณพ่อท่าน เนื่องจากท่านมาจากเมืองจีน ท่านบอกว่าควรจะไป อย่างนี้ต้องพาพวกเราไป ผมไปเพราะผมพูดภาษีจีนได้ รู้ภาษาจีน ผมก็ไป ที่จริงนอกจากหัวเรียวหัวแรงท่านเจี่ยเอกชอแล้ว ท่านจรัญ ท่านสุเมธ ท่านมนตรี ท่านธนินท์ สี่พี่น้องเอาหมด ก็ไป ดึงผมไปด้วย ดึงคุณธนากรไปด้วย ดึงแจ็คฮวงจากไต้หวันก็เข้าไปสำรวจชานหวอง ก็เข้าไปสำรวจว่ามีโอกาสไหม ท่านเจี่ย เอ็กชอยังพูดว่าเราเป็นลูกหลานเมืองจีน เรากลับไปช่วยประเทศจีน ตอนนั้นซีพีก็มีฐานพอสมควรแล้ว อาจจะเสียหายบ้างก็ไม่เป็นไร ถือว่าคืนให้กับมาตุภูมิ ท่านเจี่ย เอ็กชอช่วยผลักดัน แขกจากเมืองจีนท่านก็ต้อนรับ เรียกว่าท่านก็อายุเยอะแล้วท่านยังมาช่วยต้อนรับจนถึงท่านป่วยอยู่ที่สิงคโปร์ก่อนอาทิตย์หนึ่งก่อนไปป่วยที่สิงคโปร์ท่านก็ยังช่วยต้อนรับแขกจีน เรียกว่าลงทุนลงแรงมหาศาลสำหรับท่านเพื่อที่จะตอบแทนประเทศชาติ มาตุภูมิ

“ปี2521ตอนเข้าไปตอนแรกคนจีนไม่ค่อยรู้เรื่องการทำสัญญาหรือจะลงทุนอะไรไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องเพราะเรื่องแรกคือเซินเจิ้นเมื่อเปรียบเทียบคือหมู่บ้านเล็กมาก ในเมืองจีนไม่รู้จักหรอกเซินเจิ้น เป็นหมู่บ้านประมงเล็กๆหมู่บ้านหนึ่ง ไม่ก็ไม่มีที่พัก ที่พักไม่มีเพราะเค้าไม่เคยเตรียมตัว แต่พวกเราถือว่าโชคดี เค้าถือว่าเราไปลงทุน เค้าก็มีที่รับรองของรัฐบาล แต่หน้าหนาวจากประสบการณ์ผมหนาวมาก อาบน้ำ น้ำร้อนอยู่ที่ไหน มี แต่ต้องลงไปหิ้วจากชั้นล่าง เค้าต้มเป็นกระทะใหญ่ๆ ลงมาหิ้วข้างล่างไปอาบข้างบน เค้าไม่มีอะไรเลย โรงแรม ผมก็เข้าๆออกๆอยู่ช่วงหนึ่งก็เลยมีโอกาสไปดูว่าจะต้องทำอะไร แบบไหน สุดท้ายก็มีโอกาสเซ็นสัญญากับประเทศจีนที่จะไปลงทุน “

“กว่าเราจะสร้างโรงงานอาหารสัตว์ได้ ใช้เวลานาน ต้องไปหาที่ซึ่งตอนนั้นจีนยังไม่พร้อม ทางเราทำอย่างไร ทางเราตอนนั้นมีโรงงานอาหารสัตว์ที่ฮ่องกงซึ่งคุณธเนศพี่ชายผมเค้าดูแลอยู่ที่นั่น เค้าก็บอกอย่างนี้เราเอาเครื่องจักรที่ง่ายที่สุดมาประกอบสองเดือนก็เสร็จ ทำอาหารผงไม่ต้องปั้มเม็ดเอาไปขายเลย นี่คือจุดเริ่มต้นที่เราไปไม่กี่เดือนทำออกมาขาย คนจีนถึงกับต่อแถวซื้อกัน จากนั้นก็ไปเลือกที่จะสร้างโรงงานที่ทันสมัย

กำลังผลิตที่180,000ตันก็ใช้ เวลาสร้างปีกว่า 1981เราก็สร้างเสร็จ จึงได้ใบอนุญาตในปี2524ซีพีเป็นบริษัทต่างชาติอันดับแรกที่เข้าไปลงทุนถือเป็นแห่งแรกของประเทศจีนผมก็เข้าๆออกๆที่เซินเจิ้นและก็ยังมีงานที่ต้องดูแลที่เมืองไทยด้วย

ช่วยเจียไต๋แก้วิกฤต
ช่วงปี2523ท่านสุเมธร่างกายไม่แข็งแรง ทำท่าจะเรียกผมไป สุดท้ายท่านก็บอกไม่ต้องพอปลายปี2523ผมถูกท่านประธานธนินท์สั่งให้ไปแก้ปัญหาให้บริษัทเจียไต๋ ตอนนั้นเจียไต๋มีปัญหามากพอสมควร บอกคุณธีรยุทธไปช่วยแก้ปัญหา ผมก็บอกว่าถ้าท่านจะให้ผมไปผมก็ไป โดยที่ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเลย แต่เราถือว่าเราเป็นลูกหม้อ มีความลำบากก็ต้องไปช่วยแก้ ไปเจียไต๋ ผมไปกับคุณพงษ์เทพ เจียรงวนนท์ 2คนเจียไต๋กำลังลำบากเราจะต้องไปแก้ไขผมทำได้สัก6เดือนเสร็จก็อยู่ระหว่างแก้ไขปรับปรุง เสร็จแล้วประธานธนินท์ก็มาบอกผมว่าต้องไปอินโดนีเซียเพราะท่านสุเมธป่วยขอให้ผมไปอินโดนีเซียแล้วก็บวกสิงคโปร์ กับมาเลเซีย ผมดูแลอยู่ถึง7ปี

เกษตรอุตสาหกรรมคือรากฐานการเติบโต
คุณธีรยุทธบอกอีกว่าอันหนึ่งของเราในซีพีต้องพูดว่าหลักของเราคือการเลี้ยงสัตว์เกษตรอุตสาหกรรม ผมคิดว่าเกษตรอุตสาหกรรมของเราไปทั่วโลกได้ เราไม่ได้แพ้ใครเลย เพราะเราเอาเข้ามาแล้วปรับปรุงใหม่ ทำให้ดีขึ้นหรือแม้แต่การเลี้ยงสัตว์อื่นๆไปได้ฉะนั้นซีพีไปลงทุนประเทศไหน เกษตรอุตสาหกรรมมาก่อนไม่เคยมีอย่างอื่นไปก่อนทำให้จากเมืองไทยขยายไปหลายๆอย่าง เสร็จแล้วไปต่างประเทศก็เอาไปหลายๆอย่างๆ จากหนึ่งประเทศก็ขยายไปหลายประเทศ การที่บริษัทเป็นแบบนี้ได้ก็เพราะมีผู้นำที่ดี เป็นยอดมนุษย์

ถามว่าทำไมซีพีเติบโตอย่างต่อเนื่อง คุณธีรยุทธกล่าวว่าเพราะเราทำธุรกิจอาหาร พอคนมีกำลังซื้อมากขึ้นก็กิน สองเนื่องจากเรานำเทคโนโลยี เป็นวิธีการเลี้ยงหรือวิธีการใหม่หมด นั้นฉะนั้นในอุตสาหกรรมก็ต้องเปลี่ยน อุตสาหกรรมเลี้ยงนิดเดียวก็ต้องเปลี่ยนไป เราเข้ามาในอุตสาหกรรม ซีพีเราไม่ใช่เจ้าแรกในตลาดแต่เพราะเราปรับปตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขณะที่คู่แข่งไม่ได้ปรับตัว ทำให้ซีพีเติบโตมาเรื่อยๆฉะนั้นคนที่ตามเรามาหลายบริษัทก็ไม่สำเร็จก็ค่อยๆเลิกไป

เข้าใจธุรกิจมีขึ้นลงรักษาต้นทุนผ่านพ้นวิกฤต
ถามว่าซีพีทำอย่างรับวิกฤตที่เกิดขึ้น คุณธีรยุทธกล่าวว่าคือวิกฤตเราต้องพูดแบบนี้การเลี้ยงสัตว์หรือเกษตรอุตสาหกรรมมันเป็นธุรกิจที่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์เราการที่เรียกวิกฤตเค้าเรียกว่ามันเป็นวงจรหรือวัฐจักร ไม่ใช่วิกฤตหรืออะไรรุนแรง วิกฤตเพราะอะไรเพราะเวลาเราเลี้ยงไก่ ไก่ราคาดีมากก็แห่กันเลี้ยง ทุกคนก็เพิ่มการเลี้ยงจนวันหนึ่งมันล้น ล้นมันก็ต้องลง พอบลงปั๊ป คนที่ต้นทุนสูงกว่า ประสิทธิภาพต่ำกว่าก็ต้องออกไปมันจะเป็นวงจรแบบนี้ตลอดเวลา ฉะนั้นเราเป็นผู้ที่มีต้นทุนถูกกว่าคนอื่น เวลาที่เรามีต้นทุนถูกกว่าคนอื่น เวลามีกำไรเรากำไรมากกว่า เวลาขาดทุนเราขาดทุนน้อยกว่าฉะนั้นถ้าใครอยู่ในธุรกิจอย่างนี้ได้ก็ไม่มีวันล้มฉะนั้นถ้าจะมีวิกฤตก็คือเวลาลง เราทนขาดทุนได้แค่ไหนอย่างหมูอาจจะปีหรือสองปีพอกลับมาเราก็กำไรเยอะกว่าก็ขยายเพิ่มขึ้นอีก มันก็เป็นมาอย่างนี้ตลอดเวลา สำหรับเกษตรอุตสาหกรรมก็จะเป็นอย่างนี้ไม่ใช่มีอะไรที่เป็นปัญหามากๆไม่ใช่ เราต้องทำให้ต้นทุนของเราต่ำกว่าคนอื่นตลอดด้วยวิธีการเข้าไปอินทิเกรท คือคนที่อินทิเกรทจริงมาถึงโต๊ะอาหารน้อยมาก ถึงวันนี้ก็น้อยมาก ใครจะโตเร็วโตช้าก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน

บทเรียนในซีพีผู้นำสำคัญปธอ.เป็นต้นแบบ
ถามว่าอะไรคือบทเรียนที่คิดว่าสำคัญ คุณธีรยุทธบอกว่า
“ผมว่าไม่ว่าอะไรก็ตาม ผู้นำมีความสำคัญมาก ผู้นำทุกระดับ ซีพีเราต้องพูดว่าประธานธนินท์เป็นยอดมนุษย์ท่านคิดอะไรคิดล่วงหน้ากว่าคนอื่นๆคิดทั้งนั้น เมื่อท่านคิดล่วงหน้าท่านก็จะเตรียมคนว่าให้ไปทำต่อและท่านก็ยังติดตามงานว่าแต่ละคนไปทำแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ผิดแล้วแก้ไข ท่านพูดอยู่ตลอดท่านไม่กลัวคนทำผิด แต่กลัวคนทำผิดแล้วไม่แก้ ฉะนั้นทุกอย่างไม่ว่างานเกี่ยวกับเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่างานเกี่ยวกับเลี้ยงหมูหรืออะไรต่างๆท่านก็คิด แล้วเชิญผู้เชี่ยวชาญ ดร.ชิงชัยอย่างนี้ มีคนบอกเมืองไทยก็มีผู้เชี่ยวชาญทำไมต้องไปเอาอย่างนั้น สุดท้ายท่านก็ไปเชิญดร.หลินมาจากไต้หวันมาประจำแล้วก็เชิญผู้เชี่ยชาญจากไต้หวันหลายคนในสมัยแรก เชิญดร.หยีที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเลี้ยงหมูมาช่วยในเมืองไทยจนการเลี้ยงหมูของเราฝึกคนไทยขึ้นมาจนเก่งมากๆอย่างคุณสมควร ผมคิดว่าซีพีมีผู้นำที่เรียกว่าล้ำยุคล้ำสมัย ฉะนั้นแต่ละเรื่องที่ท่านคิดขึ้นมาก็ไปผลักดัน ซึ่งหลายคนคิดไม่ถึง อย่างท่านบอกเกษตรกรต้องได้เงินก่อนเราถึงจะได้เงิน ต่างกับพ่อค้าคนอื่นบอกต้องได้เงินก่อนเกษตรกร คิดต่างกันราวฟ้ากับดิน ฉะนั้นในซีพีผมคิดว่าผู้นำเป็นคนผลักดันให้เราโตวันโตคืน แล้วอะไรที่เราทำผิดไม่ดี แก้ไข สุดท้ายถ้าไม่ดีจริงๆต้องไม่เอา ที่ทำมานี่ไม่มีใครทำถูก100% ฉะนั้นผิดแล้วแก้อย่างไรให้ดีขึ้น

และอีกอย่างท่านประธานธนินท์เป็นคนที่เรียกว่าเห็นความดีความชอบของลูกน้องมากลูกน้องอยู่กับท่านต้องอยู่สุขสบาย อย่างผมต้องเกษียณไปนานแล้ว ท่านก็บอกยังเกษียณไม่ได้ คุณพูดอะไรก็ได้แต่ห้ามลาออก เราจึงมีพนักงานที่อยู่กับเครือ โดยเฉพาะคนรุ่นเก่า ท่านประเสริฐอยู่ 60กว่าปี คุณเอี่ยมอยู่ 60กว่าปี คุณมินอยู่60กว่าปี ท่านบอกพวกคุณทำได้เท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น ทำให้คนรุ่นหลังหรือคนที่ทำงาน ถ้าเค้าทำงานดี เค้าไม่มีปัญหาแน่ในบั้นปลาย นั้นทุกคนก็ทุ่มเท ผู้บริหารซีพีอยู่กันยาวๆ ฉะนั้นวัฒนธรรมของเราแบบนี้เราก็ยังโตไปเรื่อยๆ

นี่คือสิ่งที่ผมเห็นคือผู้นำที่ดีก็สร้างธุรกิจเพื่อเอาคนรุ่นใหม่มาและมีโอกาสให้เค้าแสดง แต่ละคนก็ขึ้นมาจากพื้นฐานทั้งนั้นไม่ว่าคุณอดิเรกคนรุ่นเก่าอย่างพวกเราความรู้น้อยมาก ก็ทำกันมาอย่างนี้ เรียกว่าอาศัยขยัน ซื่อสัตย์สุจริต อดทน เราทำงานเหมือนครอบครัวเดียวกัน ประธานธนินท์ถือว่าพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เราทำงานด้วยความไว้วางใจ พวกเราโดยเฉพาะคนรุ่นเก่าให้ความสำคัญในเรื่องของประเพณี จริยหรือวิธี วัฒนธรรมแบบคนจีนมาก สมัยแรกเลยเราไม่เคยคิดว่าตัวเราจะต้องมีอะไรคิดแต่เรื่องการทำงาน ท่านประธานธนินท์เคยคุยเล่นในที่ประชุมว่าทำไมคุณธีรยุทธมาจอยกับซีพี ผมคิดว่าเป็นผลจากจีน วัฒนธรรมและจริยธรรมแบบจีน เราทำกับคนจีน เราทำงานอย่างมีความสุข อยู่กันเหมือนครอบครัวเดียวกัน ก็อยู่มาเรื่อยๆ ถือว่าคิดถูกที่มาอยู่ซีพี

ภูมิใจช่วยซีพีเติบโตในจีน
พอปี2545ผมอายุครบแล้วก็ควรจะกลับได้แล้ว ขออนุญาตกลับไทย สุดท้ายท่านก็อนุญาตแต่ยังต้องช่วยดูแลต่อ ส่วนหนึ่งผมกับผิดชอบอย่างมณฑลกวางตุ้งผมก็ยังดูแลอยู่ คนที่รับไปทำเลยคือท่านประธานธนินท์ เกษตรอุตสาหกรรมท่านดูแลเอง ถึงวันนี้ก็ยังดูเองอยู่ เราเอาคนของเราเข้าไปสอนคนจีนทำแล้วค่อยๆถ่ายให้คนจีนดูแล ไปอยู่เมืองจีนสมัยก่อนลำบาก ยิ่งในอินแลนด์นะ แต่วันนี้รถไฟความเร็วสูงใช้เวลาเดินทางไม่นาน สมัยที่ผมไประกหว่างทาไม่มีข้าวกิน เค้ามีถังน้ำร้อนให้เอาไว้ใส่บะหมี่สำเร็จรูปนี่คือความลำบากสมัยนั้น ที่เราไปบุกเบิกในอินแลนด์ไม่ง่ายเลย คนจีนความรู้เรื่องระหว่างประเทศก็ไม่มี เมื่อเราทำที่เซินเจิ้นสำเร็จ เฉินตูสำเร็จ เค้าก็อยากจะได้ข้าราชการจีนต้องยกนิ้วให้ทำเพื่อประเทศชาติ ขอให้ช่วยท้องถิ่นได้ ช่วยประชาชนได้เราจึงคนที่เค้ายินดีต้อนรับก็ไปเกือบทุกเมือง ไปเลือกเมืองที่มีอะไรทำได้ ผมสร้างโรงงาน100กว่าโรง ฟาร์ม200แห่งแต่ว่านอกจากเราเอาคนจากต่างประเทศไปแล้วยังไม่พอ ยังไงต้องใช้คนจีน ก็ต้องสอนเค้าให้เค้าช่วยเราได้ บางเรื่องเราไปพูดกับเค้าๆก็ไม่เข้าใจ จริงหรือไม่ อย่างที่ประธานธนินท์บอกเลี้ยงไก่หมื่นตัวเค้าไม่เชื่อถามจริงหรือไม่ เค้าเลี้ยง500ตัวก็แย่แล้ว

ฉะนั้นเพื่อให้งานเราราบรื่น เราเชิญผู้นำเค้า อย่างนายอำเภอ ผู้ว่ามาเมืองไทย ถึงกับเราต้องตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งเพื่อต้อนรับคนจีนโดยเฉพาะ ปีหนึ่งเคยต้อนรับสูงสุดถึง 200-300คณะเพื่อมาดูงานของเราไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงไก่ โรงงานอาหารสัตว์ โรงฆ่าไก่หรือแม้แต่ไม่เกี่ยวข้องเราก็เป็นตัวกลางแนะนำเค้า เป็นร้อยๆคณะที่จะต้องมาแปล อย่างคุณชวนพูดภาษาจีนเก่งจบจากไต้หวัน ท่านประธานธนินท์เหนือเมฆกว่าไปสร้างทีวี เจียไต๋วิชั่น เราต้อนรับ400คณะในเมืองไทยไม่ได้อะไร เราลงทุนไปเท่าไหร่ไปทำทีวี ซึ่งเป็นทีวีแห่งแรกที่รัฐบาลจีนยอมให้ต่างชาติทำ นำเอาสิ่งที่ทั่วโลกเจริญมาฉายอยู่ในทีวีให้คนจีนทั่วประเทศดู รายการทีวีเราเป็นยอดฮิต ติดต่อกันเป็นสิบปี แล้วตอนหลังนอกจากต่างประเทศ แต่ละเมือง แต่ละมณฑลของจีนก็มีของพิเศษของเค้าที่มณฑลอื่นไปไม่ถึงเราก็นำมาอยู่ในรายการของเรา เค้าให้เรา2ช่อง CCTV1 CCTV2 แต่ว่าบทบาทในส่วนนี้พ้นสมัยไป เพราะ ทีวีของเราเป็นทีวีต่างชาติ รัฐบาลคุมน่าดู ให้เราทำแต่คุมเรา อันนี้ถือเป็นการทำความดีให้กับประเทศจีนมากเราก็ต้อนรับคนจีนมา จนถึงวันนี้หมดเพราะเค้าเก่งกว่าเรา เวลานี้เราใช้คนจีนเป็นหลักส่วนตำแหน่งที่สำคัญยังเป็นคนของเราเช่นสูตรอาหาร การเงิน ส่วนบริหารทั่วไปก็เป็นคนจีน ประธานธนินท์ถึงผลักดันคนท้องถิ่นและไปทุกประเทศ อย่างอินโดนีเซียที่ผมเคยอยู่ก็เปลี่ยนเป็นคนอินโดนีเซียแล้ว

คุณธีรยุทธยังกล่าวอีกว่า
“อย่างที่ผมบอกเรามีผู้นำที่ดีและเราก็ขยายกิจการออกไปเรื่อยๆ เราเอาหัวหอกเรื่องเกษตรอุตสาหกรรม นอกจากเมืองไทยเราทำให้ใหญ่แล้วเราก็ไปทำอีกประเทศหนึ่งก็ทำให้เราใหญ่ในอีกประเทศหนึ่ง อินโดนีเซียเราใหญ่ที่สุด หลังเวียดนามเปิดประเทศเราก็ไปเวียดนามเราก็ใหญ่ที่สุด เราไปพม่าก็ใหญ่ที่ สุดในพม่า เมืองจีนเรา ไม่ได้ใหญ่ที่สุดก็จริงในเรื่องเกษตรอุตสาหกรรม แต่เราก็ถือเป็น1ในกิจการใหญ่มากในจีนเนื่องจากจีนกว้างใหญ่มาก ทุกประเทศเราใช้หัวหอกอันนี้ไปเปิด อย่างตุรกีเอย แม้แต่รัสเซียเราก็ไปเกษตรอุตสาหกรรมๆจึงเป็นฐานของเครือที่ทำให้เราไปทั่วโลก เราไปอเมริกา ไปยุโรป ซึ่งจริงๆเราไปได้หมดถ้าเรามีคนที่ไปจัดการเรื่องเทคนิค ทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้นเครือเราก็ใหญ่ขึ้น พอใหญ่ขึ้นเราก็มีฐานที่ดี พอฐานที่ดี เราก็ขยับตัวที่เราเห็นว่ามีโอกาส พอเรามีชื่อเสียงดี ก็มีคนที่อยากให้เราไปร่วมลงทุนด้วย

อย่างมอเตอร์ไซค์จีนบอกเราทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศจีนมีธุรกิจอะไรมาช่วยกันทำ เค้าก็ให้เราทำอย่างมอเตอร์ไซค์ที่ลั่วหยาง คุณธนากรดูแลอยู่ช่วยให้เค้ากำไรตั้งมากมายรัฐบาลจีนเห็นซีพีทำคุณประโยชน์ มอบที่ดีแปลงหนึ่งพิเศษสุดให้ คิดราคาถูกไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นที่ดินที่ติดกับสำนักงานใหญ่ของเมืองอย่างลั่วหยางทำได้ดีมากเซี่ยงไฮ้ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นมีหลายเมืองมากที่เค้าคิดถึงเราไปทำประโยชน์ให้เค้าๆก็เอาโอกาสให้เรา ประเทศจีนผู้นำเค้าถ้าใครทำประโยชน์ให้ประเทศชาติเค้าจะคิดว่ามีอะไรที่จะตอบแทนเราได้ไหม ผู้บริหารของเมืองจ่ต่างไอยากให้เราไปทั้งนั้น เอาเรื่องไปทำ เรื่องนี้ไปทำ แต่เราก็ต้องมาดูว่าอะไรที่เราทำแล้วสำเร็จถ้าไม่สำเร็จอย่าไป

สำหรับซีพีเราถ้ามองในภาพรวมทั่วโลกเราก็ยังเทียบไม่ได้ รวมๆของทั่วโลกเราอาจจะมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ 60กว่าปีในประเทศไทยเราไม่เคยหยุดขยาย ตอนนี้อาจจะอิ่มตัวนิดหน่อย เราก็อาจจะขยายได้3% 5% 7% ประเทศที่เปิดใหม่อาจจะ10% ประเทศเกิดใหม่อาจจะ200%ก็ได้ ตอนนี้เราไป20ประเทศ แต่ในโลกมี200ประเทศ ฉะนั้นขึ้นอยู่กั[เรามีผู้นำดี มีคนทำงานไหม ถ้ามีผมคิดว่าเกษตรอุตสาหกรรมค่อนข้างไม่ค่อยมีปัญหา

ข้อคิดคนรุ่นใหม่
ในโอกาส100ปีซีพีจะฝากอะไรถึงคนซีพีรุ่นใหม่ คุณธีรยุทธบอกว่า
“ผมคิดว่าท่านประธานธนินท์เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเราทุกคนแล้ว ถ้าพวกเราถืออันนี้ ถือนโยบายอันนี้ 3ประโยชน์ ถ้าเราทำอะไรแล้วเป็น3ประโยชน์ รับรองเราก็ยังขยายไปได้เรื่อยๆ ไม่ว่าธุรกิจอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่าเราทำได้ทุกธุรกิจนะ เราอาจมีพาร์ตเนอร์ที่ดี เราเก่งอย่างเค้าเก่งอย่าง ก็ไปด้วยกัน อย่างที่ผมบอกเราก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะเกษตรอุตสาหกรรม เราขยายออกไปอีกหลายอย่าง อย่างเช่น7-11 แม็คโครโลตัส ซึ่งเป็นของใหม่ทั้งนั้น เราได้เทคโนโลยีเค้ามาแต่เรามีฐานที่เข้มแข็ง ดูเซเว่นในโลกมาจากอเมริกาแล้วขายให้ญี่ปุ่น นอกจากญี่ปุ่นแล้วเราเป็นอันดับสอง น่าจะแซงอเมริกาแล้ว เพราะซีพีเรามีฐาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหารทั้งหลายที่ช่วยไปเสริมอยู่ในเซเว่น ซึ่งประเทศอื่นไม่มี ฉะนั้น ทำไมเราโตเร็ว ทั้งที่คนน้อยและกำลังซื้อก็ไม่ได้สูงมากแต่เรามีหมื่นกว่าหาง ไต้หวันมีแค่ไม่กี่พัน อเมริกาทุกวันนี้ไม่ได้โตเท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายก็ขายหุ้นให้ญี่ปุ่น ผมคิดว่าซีพีอยู่ไปเป็นร้อยปีก็ต้องมีผู้นำที่ดีที่สืบทอดวิธีของท่านประธานธนินท์ โดยตัวธุรกิจเองผมคิดว่าเราค่อนข้างแน่น ผมพูดเรื่อยในหลายๆครั้งว่าวิกฤตในโลกนี้ ซีพีก็จะไปได้รอด เราก็เจอวิกฤตมาตลอดเวลา ขึ้นลงอยู่แบบนี้ เราจะทำอย่างไรให้วิกฤตสำหรับเรามีความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งทุกวันนี้เกษตรอุตสาหกรรมของเราไม่มีปัญหา

แม้ 80 หาวิธียืดอายุสุขภาพ
ผมอายุ 80แล้วเราเราหยุดเวลาไม่ได้ ผ่านไปปีหนึ่งก็แก่ไปปีหนึ่ง ร่างกายก็ต้องทรุดโทรมไปตามอายุ แต่เราต้องมาคิดใหม่ถ้าอายุเราหยุดไม่ได้ แต่ควาแข็งแรงเรายืดได้ถ้าเราแปดสิบยังไม่ต้องถือไม้เท้าก็ดีกว่าถือไม้เท้าหลังกลับจากเมืองจีนก็คิดว่าทำอย่างไรให้ร่าวกายดีขึ้น มี3อย่างคืออาหาร อย่ากินเกินไป อิ่มแล้วพอ อาหารการกินต้องระมัดระวัง ออกกำลังกาย ต้องมีระเบียบ ออกกำลังกายตามที่เราทำได้ ผมออกกำลังกายที่คนอาจจะว่าได้คือผมปีนเขา ผมไปภูกระดึงทุกปี เพราะไปเดินในสวนหรือเดินสายพานสู่อย่างนี้ไม่ได้ สุดท้ายหยุดไม่ได้ ผมเคยไปปีนเขาที่มาเลเซีย 3พันกว่าเมตร เดิน8ชม. ข้างล่างร้อน แต่ข้างบนหนาวต้องหาเสื้อมาใส่ ถ้าเดินไหวก็ต้องเดินทุกปี