คุณภัทนีย์ เล็กศรีสมพงษ์ จากเด็กหญิงวิ่งเล่นรง.อาหารสัตว์ตรอกจันทน์สู่วิชาการอาหารสัตว์ซีพี กับการวิวัฒน์อาหารสัตว์บนรากฐานคุณภาพสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

วัยเด็กวิ่งเล่นรง.อาหารสัตว์ตรอกจันทน์
คุณภัทนีย์ เล็กศรีสมพงษ์รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิชาการอาหารสัตว์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)หรือซีพีเอฟและเป็นบุตรสาวท่านชนม์เจริญ 1ในผู้ก่อตั้งร้ายเจียไต๋จึงบอกเล่าเรื่องราวการทำงานในเครือซีพีและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ของซีพีกับคณะทำงานด้านContent 100 ปีซีพีว่า

“ตั้งแต่จำความได้อยู่ที่ตรอกจันทน์ วิ่งเล่นอยู่ในบ้านซึ่งมีโรงงานอาหารสัตว์อยู่ที่ตรอกจันทน์แล้ว การผลิตอาหารสัตว์ซีพีเริ่มมา60กว่าปีก็พอๆกับอายุของภัทนีย์ ภัทนีย์เกิดปี2495 ขณะที่กิจการร้านขายวัตถุดิบอาหารสัตว์เกิด ในปี 2496 ได้เห็นโรงงานอาหารสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จากโรงงานอาหารสัตว์ที่ตรอกจันทน์ที่ถือเป็นแห่งแรก แต่ที่เห็นมากกว่านั้น ที่ตรอกจันทน์เริ่มมีห้องแล็ปแล้ว เพราะท่านประธานอาวุโสให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพและดร.หลิน(ชิงชัย โลหะวัฒนกุล)เองเป็นผู้บริหารคนแรกทางด้านวิชาการ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของห้องแล็ป เวลาวัตถุดิบที่จะเข้ามาผสมเป็นอาหาร รถก็จะต้องมาจอดและมีคนเก็บตัวอย่างทุกกระสอบที่สามารถทำได้เป็นรอบแรก และจุดนี้เองท่านประธานอาวุโสเป็นห่วงว่าจะมีการปลอมปนหรือไม่ อย่างรำข้าว ปลายข้าว ต้องเอากระสอบใส่วัตถุดิบมาสุ่มตรวจ เรื่องคุณภาพถึงมีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มแรก ต่อมายังต้องมาเช็คความชื้น โปรตีน ไขมัน กาก ตั้งแต่ 40กว่าปีที่แล้ว แม้แต่ท่านประธานประเสริฐ พุ่งกุมารสมัยอยู่หน้าร้าน ฝ่ายขายอยู่ที่ทรงวาดแต่ท่านพักอยู่ที่ตรอกจันทน์เห็นว่าทุกครั้งที่ท่านกลับมาบ้านพักที่ตรอกจันทน์ ท่านก็จะเดินเข้าโรงงาน เข้าโกดัง แล้วก็ตรวจสอบคุณภาพก่อนที่ท่านจะขึ้นไปที่บ้าน ได้เห็นภาพนี้มาตลอดก่อนที่ภัทนีย์จะเดินทางไปเรียนหนังสือในต่างประเทศ ฉะนั้นจะเห็นว่าผู้บริหารช่วงแรกๆ นั้นให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ ดูแลเรื่องคุณภาพ ใส่ใจเรื่องคุณภาพมาตั้งแต่เริ่มต้น

หลังจากที่ไปเรียนต่างประเทศกลับมา จบทางด้านเคมี ก็มาเริ่มงานกับซีพี ปี2518 โดยคุณพ่อ(ท่านชนม์เจริญ)บอกกับท่านประธานอาวุโสว่าลูกสาวจบมาแล้วมีงานอะไร ก็มาทำงานที่โรงงานอาหารสัตว์กม.21มีห้องแล็ปที่ทันสมัยกว่าโรงงานที่ตรอกจันทน์มาก มีเครื่องไม้เครื่องมืออย่างที่วัดโปรตีนAmino Acidซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของโปรตีน เครื่องวัดแร่ธาตุต่างๆเพื่อให้รู้ถึงระดับแร่ธาตุ เทียบเครื่องไม้เครื่องมือสมัยก่อนคิดว่าเป็นโรงงานที่ทันสมัยในเอเชียในเรื่องธุรกิจอาหารสัตว์ ตอนนั้นเรามีนักวิชาการอยู่ 2คน ดิฉันก็เข้ามาอยู่ตรงส่วนของการคิดสูตรอาหาร ตั้งแต่เริ่มแรก ตรงนั้นเองก็มีนักวิชาการคนอเมริกัน2คน อย่างดร.เรตัน ซึ่งท่านประธานอาวุโสและดร.หลินให้ความสำคัญด้านวิชาการ ใครที่เก่งที่สุดท่านก็จะเชิญมา ก็มีดร.เรตัน จากนั้นดร.เรตันก็ไปอินโดนีเซีย ก็มีดร.ฮ็อกเตนเรอร์เข้ามาต่อ เรามีผู้ชี่ยวชาญฝรั่ง 2คน ผู้เชี่ยวชาญไต้หวัน เป็นนักโภชนาการ ส่วนดิฉันเป็นFormulator แต่สูตรอาหารจริงๆก็เริ่มตั้งแต่ท่านประธานอาวุโส ดร.หลิน พอดิฉันเข้ามาก็มีสูตรแล้ว แต่ตอนหลังก็ใช้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพมากขึ้น มาทำงานสัก 2ปีท่านก็มีความคิดด้านฟาร์มทดลองที่หัวกุญแจ ตอนนั้นเรามีทีมไปทำResearchฟาร์มแห่งแรกของเครือ”

หัวใจของอาหารสัตว์คือคุณภาพคุณภาพเกิดจากความซื่อสัตย์
คุณภัทนีย์เล่าอีกว่าเมื่อเรารู้เรื่องวัตถุดิบ รู้เรื่องความต้องการของสัตว์ พันธุ์สัตว์ ซึ่งท่านประธานอาวุโสให้ความสำคัญกับพันธุ์สัตว์ อย่างไก่ก็อาร์เบอร์เอเคอร์ หมูก็เชิญดร.หยี(โทมัส เจที หยู) ตรงนั้นเป็นการเริ่มต้นของสายพันธุ์หมูจนเรามีสายพันธุ์หมูของเราเอง ตั้งแต่Pure Breed จนออกมาเป็น 2สายและ 3สาย เป็นการปูพื้นฐานที่แข็งแรงในเรื่องปศุสัตว์ตั้งแต่ต้นทางคือสายพันธุ์ อาหารสัตว์ก็เรื่องคุณภาพอาหารสัตว์ ส่วนFormulatorกับนักโภชนาการจะต้องทำอะไร Formulatorถึงแม้นักโภชนาการจะให้requirementของโปรตีนของสัตว์อย่างไร Amino Acid อย่างไร วิตามิน แร่ธาตุอย่างไร อีกด้านหนึ่ง ของวัตถุดิบอาหารสัตว์เราต้องmake sureว่าของที่มีอยู่ในโรงงาน ที่เราใช้ในโรงงานจะต้องเหมือนกับสิ่งที่เราใช้เป็นข้อมูลอยู่ในFeed Formulationที่เราเซ็ทไว้ในเครื่อง ดร.หลินเองก็บอกดิฉันว่า ถ้าคุณจะรู้ว่าคุณภาพของที่มันอยู่ในนั้นจริงหรือเปล่า คุณต้องไปดูในโรงงาน ก็เลยกลายเป็นQuality Control Managerไปในตัว ตอนที่เป็นQuality Controlก็ยังไม่เข้าใจ ก็โชคดี ที่ตอนนั้นซีพี Joint VentureกับContinental Grain ได้เดินทางกับคณะไปที่Continental Grainที่อเมริกา ไปดูเรื่องQuality Control พวกเราไปหลายคนเพื่อเรียนรู้เรื่องQuality Control ว่าคอนโทรลอย่างไร จากนั้นเราก็ApplyระบบQuality Controlที่ไปศึกษามากับของเรา พอเราเดินเข้าโรงงาน เราก็ต้องเข้าใจเครื่องจักร การทำงานเครื่องจักร วัตถุดิบเข้ามาจะ เก็บรักษาอย่างไร อย่างปลาป่นตั้งแต่ทำงานมา

ดร.หลิน บอกรถทุกคันของปลาป่นต้องรู้คุณภาพโปรตีน ไม่ใช่แค่รู้ว่าคุณภาพสดหรือไม่สดเท่านั้น เก็บตัวอย่างเข้าห้องแล็ปได้ผลออกมาแล้วถึงจะมาโพสต์ว่าอันนี้เป็นโปรตีน 55 อันนี้ 58 อันนี้ 60 แล้วเวลาที่เราจะต้องFormulateให้ได้ตามโปรตีนนั้น ก็ต้องแน่ใจว่ามีอะไรอยู่ที่นั่น เราก็ต้องใช้ให้มันถูกต้อง ยกตัวอย่างเราต้องการโปรตีน 60กับ55 บางครั้งกองมันเล็กก็ต้องมาผสมเป็น58ยังต้องไปหน้าเครื่อง ไปดูคนงานผสมกองนี้ กระสอบหนึ่ง 60 กระสอบหนึ่ง 55 ผสมแล้วประมาณ57, 58 ดร.หลินบอกต้องไปดูนะว่าเค้าผสมจริงไหม กลายเป็นว่าเราต้องใส่ใจทุกขั้นตอนของการผลิตอาหารสัตว์ สิ่งเหล่านี้ทำให้คุณภาพของอาหารสัตว์มันนิ่ง อันนี้ก็เป็นหัวใจอันหนึ่งทำให้เราเข้าใจในProcessด้วย คุณภาพวัตถุดิบด้วย คุณภาพจะเกิดได้ต้องมาจากความซื่อสัตย์ ใจต้องสะอาดก่อนแล้วคุณภาพมาจากความรู้ วิชาการ ท่านประธานอาวุโสใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น อันนี้คือส่วนที่เห็นและได้ทำมาตลอด วันนี้สามารถบอกได้ว่าห้องแล็ปที่กม.21ของเราก็ยังเป็นที่1ในการทำอาหารสัตว์ เป็นที่1ของเอเชีย วันนี้เรามีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถวิเคราะห์ลงไปถึงระดับDNA

อาหารสัตว์ซีพีไม่หยุดนิ่งตามเทคโนโลยี
คุณภัทนีย์บอกว่าวันนี้เทคโนโลยีอาหารสัตว์ ไม่ใช่แค่เรื่องของNutritionอย่างเดียว มันไปเรื่องของไบโอ เทคโนโลยี ไปถึงระดับMoleculaว่าวันนี้ตัวสัตว์เอง Pro Bioticก็ตาม กินแล้วสัตว์เป็นอย่างไร Moleculaในนั้น หมายถึงMicroBiomeของมันมันเปลี่ยนอย่างไรไปบ้าง 40กว่าปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เราติดตามเทคโนโลยีมาตลอด อันนี้ก็เป็นอีกส่วนที่ค่อนข้างภูมิใจว่าจากที่เป็นFeed Fomulation คนหนึ่ง Quality Controlคนหนึ่ง วันนี้ก็เหมือนเราเป็นAll In Oneที่สามารถLeadให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาสามารถที่จะไปลงลึกในรายละเอียดในงานของเค้า โดยใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง วันนี้เรามีโรงงานเมืองไทย 13 โรงงาน ต่างประเทศอีกประมาณ 16ประเทศ ทีมงานของQuality Controlเราทำงานร่วมกับทีมITเพื่อสร้างSoftwareเอง เพื่อที่จะเป็นSoftwareสำหรับQuality Control รวมทั้งทางด้านControlของโรงงานที่เป็นStandard อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้It Technology ในส่วนของQuality Controlที่เคยเห็นเราใช้คนเหล่าฉ่ำ วันนี้กลายเป็นเราใช้Robot สามารถที่จะสุ่มฉ่ำวัตถุดิบที่มาเป็นเบาส์ ซึ่งแรกๆเราก็ใช้คนในการControl ก็จะเห็นการเก็บตัวอย่าง สมัยก่อนเราเก็บตัวอย่างส่งเข้าห้องแล็ป แต่วันนี้ดูดขึ้นมาปุ๊ปเราสามารถที่จะรู้ทันทีว่าความชื้นเป็นอย่างไร ผ่านเครื่องNIRที่อยู่ออนไลน์เพื่อที่จะรู้ว่าผลของโปรตีน Fat Fiberเป็นเท่าไหร่ ผ่านมาทางสายพานเราจะเห็นเลยว่าเราสามารถรู้ว่ามีเม็ดเสีย ราต่างๆ ด้วยRobotเพื่อที่จะเห็นว่าการตีเกรดของข้าวโพดโดยไม่ใช้คนเพื่อเป็นความโปร่งใส พูดถึงความโปร่งใสในการทำงาน สมัยก่อนเราพยายามหาคนที่ไม่สุจริต วันนี้เราก็ไม่จำเป็นที่จะเกี่ยวข้องกับคนให้น้อยที่สุดแต่ เราใช้เทคโนโลยีในการที่จะปรับในเรื่องนี้ อย่างสมัยก่อนเราเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อจะทดสอบดูว่ามียาฆ่าแมลงไหมในวัตถุดิบที่มา เพราะปลาหางนกยูงจะอ่อนไหว เราเอาข้าวโพดผสมน้ำแล้วปล่อยปลาก็จะรู้ว่าเป็นอย่างไร”

คุณภัทนีย์ เล่าอีกว่าการทำงานเราต้องRecognizeทีมงาน ให้โอกาสอย่างทีมงานที่อยู่ในห้องแล็ป ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เป็นหัวหน้าที่ดูแลQuality Controlก็มาจากห้องแล็ปเป็นนักเคมี พอเราให้โอกาสเค้าเป็นQuality Controlในโรงงาน เพราะฉะนั้นทีมงานเค้ารู้เบสิคต่างๆ ตั้งแต่การตรวจสอบวัตถุดิบด้วยทางเคมี ไปเดินกับหัวหน้าให้รู้ว่าเราจะต้องดูจุดไหนอย่างไร วันนี้ดิฉันก็ยังเดินอยู่ เวลาไปต่างประเทศก็ยังเดินอยู่ ลักษณะนี้ก็เป็นการเรียนรู้ เข้าใจในงานมากขึ้น เค้าจะมองความโปร่งใสเป็นอย่างไร และเราทำงานกับทีมไอทีเพื่อที่จะพัฒนาเรื่องของซอฟท์แวร์ จนวันนี้รถที่จะเข้ามาโรงงานจะมีIFTC Cardพอแตะปุ๊ปก็รู้ว่ารถของเค้าผ่านไม่ผ่าน คุณภาพผ่านแล้วจะต้องไปที่ไหนแต่ถ้าไม่ผ่านเพราะอะไร ซึ่งจริงแล้วก็เป็นการพัฒนาด้วยกันระหว่างทีมไอทีกับทีมงานของโรงงานและทีมงานของวิชาการอาหารสัตว์ อย่างเรื่องQuality Control มีการพัฒนาหลายๆเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นแรกที่เราพัฒนาซอฟท์แวร์เมื่อ 20กว่าปีที่แล้ว ทีมคุณประเดิมไปนอนBPอาหารสัตว์ อยู่ 3ปีตรงนั้นเพื่อพัฒนา ศึกษารายละเอียดของซอฟท์แวร์ตอนนั้นซอฟท์แวร์กว่าจะเขียนต้องรู้Requirement รู้อะไรต่างๆ ให้เข้าใจระบบ กระบวนการต่างๆ พอเขียนออกมาจากโรงงานหนึ่งก็ไปใช้ในโรงงานอื่นๆได้ ทั่วโลกก็เอาไปใช้ อย่างประเทศจีนแต่ก็เรียกในชื่ออื่น

แต่ก็มาจากไกด์ไลน์เดียวกันที่ทีมไอทีทำและก็มีการพัฒนาตลอดเวลาตั้งแต่สมัยไม่มีบาร์โคด คิวอาร์โค้ดจนวันนี้ไปถึงตรงนั้นพอสแกนก็รู้ สต็อกก็ออนไลน์หมด ทั้งดร.หลิน คุณพงษ์เทพ เจียรวนนท์ ให้โอกาส ให้การสนับสนุน อย่างคุณพงษ์เทพบอกต้องไปต่างประเทศ ไปสัมมนา เราอยู่ในแถบเอเชียเรามีโอกาสมากกว่าที่อื่น พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างเอเชียแปซิฟิคก็มีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือทางภูมิภาคยุโรปก็มีวิชาการ เทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ ค่อนข้างจะมาก อเมริกาอีก เราอยู่ตรงกลาง เรารับได้หมด ขึ้นกับว่าเราไปนั่งฟังแล้วเราเรียนรู้อะไร ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ตอนคุณพงษ์เทพดูแลเรื่องอาหารสัตว์ ท่านก็นั่งฟังสัมมนาตลอดเวลา วันนี้เรามีพาร์ตเนอร์ที่เป็นซัพพลายเออร์ใหญ่ๆ อย่างอีแลงโกก็ยังเป็นพาร์ตเนอร์กัน หรือBASF พาร์ตเนอร์เหล่านี้ก็ยังแข็งแรงอยู่ เราเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ตั้งแต่สมัยเค้าเป็นรายเล็ก วันนี้ก็ยังเป็นพาร์ตเนอร์และเป็นพาร์ตเนอร์ที่เรียนรู้จากเค้า เค้าก็มีผู้เชี่ยวชาญของตัวเองหรือจากสถาบันการศึกษา การวิจัยของยุโรปหรืออเมริกา เวลานี้เราเรียนรู้ เปรียบเสมือนน้ำที่ไม่เต็มแก้วและเราไม่ไปคนเดียวจะไปกับทีม เวลาไปดูงานหรือสัมมนาพี่จะพาลูกน้องไป”

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ Back to the Basic Basic is Qulity Control
คุณภัทนีย์ กล่าวว่าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มันอยู่ที่เบสิคจริงๆ เบสิคของวัตถุดิบคือเบสิคของQulity Control ตัวอย่างกรณีโรงงานที่อินโดนีเซียปีหนึ่งผลิต4หมื่นตัน พอได้ลูกค้ารายใหม่ ลูกค้ารายเก่าก็หาย หลังจากที่เราเข้าไป ไปเดินในโรงงานอาหารสัตว์ Quality Controlเค้าขึ้นไปได้จนทุกคนก็เชื่อใจเรา เพราะว่าเห็นตัวเลขของยอดขาย ดูตัวเลขคุณภาพ เพราะฉะนั้นถ้าQuality ดีก็ไปได้ ท่านประธานอาวุโสถึงพูดถึงต้นทุนของวัตถุดิบ ท่านพูดตลอดเวลาว่าต่อไปผมไม่ต้องมีห้องแล็ป วันนี้ท่านมองเหมือนกับที่อเมริกาว่ามีคนไม่กี่คน ท่านมองว่าทำอย่างไรให้วัตถุดิบต้นทางดี พอต้นทางดีก็ไม่ต้องมาตรวจสอบ สิ่งที่ท่านพูดเราต้องเข้าใจไม่เช่นนั้นจะมองว่าคุณภาพไม่สำคัญ แต่ท่านบอกคุณภาพต้นทางต้องดี ฉะนั้นพอมองย้อนกลับไปเบสิค หัวใจอยู่ตรงนั้น เบสิคมันต้องอยู่ที่คุณภาพ ทุกคนต้องเข้าใจว่าจะต้องทำงานอะไร แต่วันนี้เทคโนโลยีมันมา เทคโนโลยีเรื่องAI เราจะApply เทคโนโลยีอย่างไร ดาต้าที่อยู่บนคลาวด์ ต้องออนไลน์อยู่บนคลาวด์ วันนี้เราใช้ข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ที่จะดูเรื่องคุณภาพ เรารู้เลยว่าของอยู่ที่ไหน อายุเท่าไหร่ คุณภาพเป็นแบบไหน จากยุค40กว่าปีที่แล้วจนถึงวันนี้มันเปลี่ยนไปเยอะมาก แต่ออกมาเป็นอาหารสัตว์ที่ไปเลี้ยงสัตว์ ก็ยังเหมือนเดิมถ้าคุณภาพไม่ดีและเราไม่รู้Requirementของตัวสัตว์ก็ไม่ได้และวันนี้ตัวสัตว์Geneticมันเปลี่ยนมาก อย่างสมัยก่อนเลี้ยงไก่ขนาด 1.8กิโล. ใช้เวลาเลี้ยง52วัน วันนี้1.8กิโลเลี้ยงไม่ถึง 30วันก็โต จนคนคิดว่าเราใช้ฮอร์โมนซึ่งไม่ใช่ เพราะ จริงแล้วGeneticมันพัฒนาเปลี่ยนไปเยอะมากๆ

วิชาการอาหารสัตว์กับการสร้างคน
คุณภัทนีย์ บอกอีกว่าวันนี้ทีมงานที่เป็นนักวิชาการของซีพี เราสร้างคนที่เป็นPH.Dด้วยคนของเราเอง วันนี้เรามีPH. Dสังกัดอยู่ในวิชาการอาหารสัตว์ประมาณ 10กว่าคน โดยที่เราส่งให้เรียนเหมือนกับทุนการศึกษา โดยเราส่งให้เรียนมีทั้งไปโทไปเอกและหลังจากที่เราเริ่มมีอันนี้ขึ้นมาเราก็มีแขนขาแล้ว น้องๆที่จบเอกก็มีเพื่อนเป็นเอกก็กลับมาเป็นเครือข่ายให้เรา และเรายังสร้างคนที่อยู่ต่างประเทศ อย่างPH.Dคนสุดท้ายก็อยู่ที่เมียนม่า ทำงานกับซีพีด้านวิชาการแล้วไปได้ทุนเค้าเองที่มาเลเซียปริญญาโท เค้าก็มาถามว่าเราสนใจที่จะรับเค้าและให้ทุนไปเรียนปริญญาเอกไหม เราก็โอเคให้เค้ามาปรู๊ฟก่อนหลังจากนั้นส่งไปAITที่เมืองไทย จบเอกมา การสร้างคนจึงเป็นอีกความสำเร็จของทีมงานอาหารสัตว์ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะอยู่ในต่างประเทศ อย่างต่างประเทศเราสร้างคนที่เป็นQuality Controlที่เป็นคนท้องถิ่น ความสำเร็จจึงอยู่ที่การสร้างคนและคนที่เราสร้างเค้ารู้ว่าจะต้องทำอะไร

คุณภัทนีย์ ยังเล่าถึงท่านประธานอาวุโสเป็นที่ปรึกษาของฮาร์วาร์ด บิสเนส สคูลมานานและหลังๆท่านประธานอาวุโสสนใจเรื่องไบโอเทคโนโลยีซึ่งถือเป็นBackup ดีมากสำหรับวิชาการ ท่านมีโครงการเมื่อ3ปีที่แล้วกับฮาร์วาร์ด 3-4โครงการ ส่วนใหญ่ก็จะใช้เทคโนโลยีด้านไบโอติก แต่ละโปรเจคอย่างกุ้งมีปัญหาโรคตายด่วนก็จะมาดูเรื่องDNAกุ้งเมื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์และหาวิธีป้องกันไม่ให้กุ้งเสียหาย เรื่องสายพันธุ์ ท่านก็มองว่าสายพันธุ์หมูมีไวรัสหลายๆตัวที่จะทำอย่างไรสามารถปรับปรุงให้รู้ DNAของหมูเพื่อที่จะทนทานกับไวรัสเหล่านั้น และก็โปรเจคเรื่องFood ทางด้านสุขภาพจะมีนักวิชาการที่เกี่ยวกับFood เพื่อที่จะดูว่าการวิจัยเรื่องอาหารต้องมีวิชาการ เรื่องFoodเราอาจยังไม่มีนักวิชาการลงลึกไปทางด้านนี้ ขณะที่วิชาการอาหารสัตว์เรามีนักวิชาการ เราก็ส่งนักวิชาการไปอยู่ที่นั้น ประมาณ2เดือน 3คนเพื่อไปเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆเพื่อเอามาใช้ เพราะว่าทุกๆโปรเจคเค้าจะให้นักวิชาการไปฝึกอบรมได้ด้วย ฉะนั้นแต่ละคน อย่างหมูก็มีนักวิชาการหมูเข้าไป กุ้ง สัตว์น้ำก็จะมีนักวิชาการเข้าไป ไปอยู่ที่ฮาร์วาร์ดประมาณ 2เดือน ท่านประธานมองถึงเทคโนโลยี มองถึงคอนเนคชั่น และตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ผู้บริหารแต่ละBUให้ความสำคัญกับไบโอ เทคโนโลยีมากขึ้น อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นการจุดประเด็น ทำให้เราทำงานง่ายขึ้น

AI/IOT/Big Dataกับอาหารสัตว์ซีพี
ถามถึงการเข้ามามีบทบาทของ AI IOT ในวงการต่างๆ คุณภัทนีย์กล่าวว่าในส่วนของการนำAI IOTมาใช้ในวิชาการอาหารสัตว์ เราพูดถึงBig Data ประมาณ3-4ปีที่แล้ว เรามีDataเยอะมาก คำว่าเยอะมากหมายถึงว่าทุกๆ Transectionของการรับวัตถุดิบก็ตาม การขายอาหารสัตว์ก็ตาม เวลารถวัตถุดิบเข้ามาก็จะมีการเก็บข้อมูลเป็นInputและTransectionจากวัตถุดิบที่เอามาใช้ก็เป็นInput พอOutputก็จะเป็นอาหารสัตว์ชนิดไหน อันนี้ก็เป็นInputที่กลายเป็นOutputว่าขายอาหารสัตว์ไปที่ไหน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าTransection-ของInputเยอะมาก จนเราเรียกว่าBig Data ถึงแม้จะไม่มากเหมือนTransectionของเซเว่นฯที่เยอะมาก สมัยก่อนInputมันก็จะอยู่แต่ละกองแต่ละโรงงานก็มีServerตัวเอง พอหลังจากที่มีคลาวด์กับบิ๊กดาต้า ไอทีก็เอาข้อมูลเหล่านี้ขึ้นคลาวด์ แต่ขึ้นไปบนคลาวด์แล้วมันก็เป็นแต่Data วันนี้เราก็พยามยามดึงดาต้าเหล่านี้แล้วใช้โปรแกรมเรียกว่าPower BI เราก็มานั่งคุยกันกับทีมไอทีเพื่อที่จะดึงข้อมูลเหล่านี้มาเป็นแพลต์ฟอร์มของเราเองเพื่อออกมาเป็นเทมเพลทที่เราต้องการ เทมเพลทพวกนี้ทำให้เราพัฒนาการทำรายงานง่ายขึ้นเราก็สามารถคอนโทรลได้ว่าอะไรเป็นอะไร ส่วน AI คือการสอนให้การทำงานที่ซ้ำๆกันตลอดเวลาให้ใช้สอนเครื่อง วันนี้พอมาถึงเรื่อง Quality Control       ที่เราใช้อยู่ จริงๆ เราทำNRI มา2-3อย่างเราพูดถึงเรื่องการGenarate ที่เป็นเครื่องNIR NIRก็เป็นสเปคทรัมต่างๆเราเอาข้อมูลที่วิเคราะห์วัตถุดิบแล้วมาสอนให้รู้ว่าวัตถุดิบอันนี้เข้าไปปุ๊ป หน้าตาแบบนี้ โปรตีน ไขมัน กาก ความชื้น Amino Acidเป็นอย่างไร สอนมันให้รู้ว่าวัตถุดิบแบบนี้ หน้าตาแบบนี้มันก็จะPredictให้เรารู้ว่าคุณภาพออกมาเป็นแบบไหน อันนี้ก็คล้ายกับAIที่เราให้ความสำคัญมาตั้ง 20ปีจากห้องวิเคราะห์เครื่องมือใหญ่ๆกลายเป็นเครื่องๆหนึ่งที่เราสามารถใส่เข้าไปมันก็Predictออกมาได้ ซึ่งจริงๆก็คือAI แต่เป็นAIอีกรูปแบบ หลังจากนั้นเราก็Poolขึ้นมาอยู่บนคลาวด์เพื่อให้เป็นข้อมูลใหญ่ขึ้น แต่มาถึงเวลานี้ที่เรียกAIกันจริงๆ ก็คือยุคที่เราเอากล้องมาถ่ายให้เป็นหน้าตาของข้าวโพดแบบนี้ก็สอนมันให้รู้ว่าข้าวโพดแบบนี้ เม็ด มีเชื้อรา อะไรต่างๆแล้วก็Inputเข้าไปเป็นซอฟท์แวร์ เพราะฉะนั้นเวลาวัตถุดิบผ่านกล้องVDMวิดีโอมิเตอร์พอผ่านปุ๊ปวันนี้ใช้เวลาไม่ถึง10นาทีต่อ1ตัวอย่าง พอรถผ่านก็สามารถPredictมีเม็ดแตกเป็นยังไง เม็ดเสียเป็นยังไงพร้อมทั้งรู้ว่าความชื้นเป็นแบบไหน โปรตีนเป็นแบบไหน ตั้งแต่NIRมาที่ตรงนี้ เทคโนโลยีพวกนี้เราตามมาตลอด

หลายๆอย่างของวิชาการมันต้องผสมผสานกับเทคโนโลยี อันนี้เป็นด้านQuality Control แต่พอมาถึงเรื่องNutrition วันนี้เรามีฟาร์มทดลองตั้งแต่หัวกุญแจ 30-40ปีที่แล้ว สมัยก่อนเราก็เลี้ยงสัตว์มีทั้งหมู ทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่พันธุ์ หมูพันธุ์เวลาเราจะทดสอบมีวัตถุดิบใหม่ๆจะใช้ได้ปริมาณเท่าไหร่เราก็ทำสูตรให้หมูเทียบกับสูตรเก่า พอเปลี่ยนสายพันธุ์ เราก็เอาพันธุ์สัตว์เปลี่ยน ปรับปรุงก็เอาเข้าไป เราก็จะรู้ว่าวันนี้อาหารของเรามันจะต้องให้โตแล้วโตดีขึ้น และเป็นความโชคดีที่เราIntegrationตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ เรามีอินทิเกรชั่นแรกที่ศรีราชา เราก็จะเห็นว่าเราเอาสูตรอาหารแบบนี้ไปเลี้ยงไก่แบบนี้ ถ้าไก่โตเดี๋ยวไม่โตมันก็ไม่ถูกต้อง เราก็มีผลการเลี้ยงออกมา ใส่อาหารไป ถ้าไม่มีคอมเพลนก็แปลว่าไม่มีอะไร ถ้าเรามาเลี้ยงเอง รู้ผลการเลี้ยงและผลการเลี้ยงผู้จัดการฟาร์มก็ต้องการPerformanceเหมือนกันให้ดี มีตัววัดก็จะบ่งบอกเราว่าวันนี้อาหารเรามีคุณภาพเป็นอย่างไร นิ่งไม่นิ่งImproveไหม โดยต้นทุนต้องไม่แพงขึ้น การเปลี่ยนสูตรเราเปลี่ยนทุกอาทิตย์ สูตรอาหารนี่ไม่ใช่ว่าสูตรเดียวแล้วใช้ได้ สเปคของNutritionมันไม่เปลี่ยนจนกว่าเราจะมีการทดลอง แต่วัตถุดิบมันเปลี่ยนทั้งราคา คุณภาพ ปริมาณที่มีอยู่ในตลาด มันถึงต้องมีทีมในการเปลี่ยนสูตร จัดซื้อต้องให้ข้อมูลมา ปริมาณการใช้มากปุ๊ปเราก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็ต้องมาทำงานกับจัดซื้ออีก วันนี้คุณภาพแบบนี้เป็นอย่างไร เราต้องส่งทีมงานไปกับจัดซื้อไปดูไปเยี่ยมผู้ผลิตรายใหญ่ในต่างประเทศ ฉะนั้นมันมีฟังชั่นเยอะไปหมดในการทำอาหารสัตว์ให้ได้คุณภาพ ฉะนั้นย้อนกลับมาที่เรื่องงานวิจัย เราดูว่าไก่ โตไหม หมูโตไหม หลังๆไม่ใช่แล้ว มันพูดถึงสิ่งแวดล้อม การลดไนโตรเจนการปล่อยของเสียออกไป ฉะนั้นเราก็ต้องมาดูRequirement มันต้องใช้ให้ได้มากขึ้นๆ เวลานี้เรามีฟาร์มทดลองอาหาร5แห่ง หัวกุญแจ บ้านบึง แก่งคอย ท่ามะปราง แต่สิ่งที่เราทำลึกลงไปคือการใช้สารอาหารให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ดูว่าวัตถุดิบจะนำมาใช้ได้มากสุดประมาณไหน เราต้องใส่ สารเอ็มไซม์เข้าไปเพื่อให้มันช่วยย่อยซึ่งเราก็ใช้เอ็นไซม์กันมาตั้งแต่สมัยต้นๆ แต่ถ้าเราไม่คิดที่จะเรียนรู้ อยากจะลองใช้มันก็ไม่ได้ใช้ มันมีเอ็นไซม์ที่จะช่วยย่อยพวกแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส มีผลดีกว่าเก่ามันจะได้ไม่ปลดปล่อยในสิ่งแวดล้อม มันจะมีเอ็นไซม์ที่มาช่วยย่อยพวกโปรตีน ในเรื่องของคาร์โบไฮเดรดต่างๆเยอะแยะไปหมด

พอมายุคที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นอีกสเตปหนึ่ง ความจริงอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของเราต้องยอมรับว่าเราส่งออกไปต่างประเทศตั้งแต่ศรีราชา ตอนแรกๆเราก็ส่งไปญี่ปุ่น หลังๆก็ไปยุโรป ยุโรปสเปคยิ่งกว่าญี่ปุ่นอีก ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เปลี่ยนในเรื่องของอุตสาหกรรมในเรื่องของการส่งออก พอเราขายให้เทสโกได้เทสโก้มีrequirementมากกว่าญี่ปุ่น เทสโกมีrequirementก็มาAudit ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม โรงฆ่า โรงแปรรูป จะมีลิสต์ที่จะมาปรับปรุงโรงงานแรกที่โคกตูม มีลิสต์เป็นร้อยที่ต้องมาปรับปรุงให้ได้มาตรฐานของเทสโก้ พวกโรงงานก็ไปเรียนท่านสงสัยจะไม่ไหวท่านก็บอกถ้าพวกคุณไม่ทำผมก็เปลี่ยนผู้จัดการ ก็ต้องทำ แต่พอเริ่มทำก็เริ่มรู้ว่ามาตรฐาน สมัยก่อนพี่ต้องมีทีมไปออดิต หลังๆพอเทสโก้มาพี่กับทีมสบายเลย เราอ้างได้เลยว่านี่มาตรฐานๆ นี่ก็ทำให้เรื่องของอาหารสัตว์ได้รับมาตรฐานดีขึ้น เป็นอีกจุดที่เปลี่ยนยุคของคุณภาพของอาหารสัตว์และพอเราผ่านมาตรฐานเทสโก้ปุ๊ป เราก็ขายได้ง่ายในยุโรปและก็มีมาตรฐานอื่นๆตามมา แต่ตรงนั้นถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนในเรื่องของการปรับปรุงครั้งใหญ่ของโรงงานอาหารสัตว์ให้ได้มาตรฐานดีขึ้นและเป็นมาตรฐานที่สากลยอมรับ และไม่เพียงจุดเปลี่ยนของโรงงานอาหารสัตว์ยังรวมไปถึงฟาร์ม โรงฆ่า เค้ามาคนละชุดและปีหนึ่งมา1-2ครั้ง เราจะไปทำแบบปลูกผักชีไม่ได้
อาหารสัตว์กับไบโอเทคโนโลยีและความยั่งยืน
คุณภัทนีย์บอกว่ามาถึงวันนี้มีเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง อะไรต่อมิอะไร จุดนี้ทำให้เราอยู่นิ่งไม่ได้ เราต้องมีวิจัยลงลึก ทำไมเราต้องใช้Bio Technologyในการรับรู้ว่า Feed adjectiveที่เราใส่เข้าไป ตัวไหนที่ดีแล้วเราจะรู้อย่างไร เรารู้จนถึงขั้นว่าพอเราปรับเปลี่ยนแล้ว เราก็ติดตามในฟาร์ม เราจะรู้ว่าไก่ที่เราเลี้ยง แบคทีเรียหรือMicro Biomeของเค้ามีการเปลี่ยนเป็นแบคทีเรียที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีทั้งนั้นเลยในการเลี้ยงสัตว์ จุดเปลี่ยนของสายพันธุ์ต่างๆ วันนี้ถ้าเราดูเทคโนโลยี”คน” ไปไกลแล้วเพราะคนเวลานี้ใช้โปรไบโอติกแทนแอนตี้ไบโอติก ในโรงพยาบาลจะเห็น คนมีข้อมูลDNAตั้งแต่สมัย20ปีที่แล้วที่มีการลงทุนเพื่อหาว่าDNAของคนเป็นอย่างไร ใช้เวลาประมาณ10ปี ตอนหลังเหลือ8ปี ลงทุนหลายหมื่นล้านบาท คนนี่ไปสเตปที่1 ส่วนสัตว์นี่เพิ่งเริ่มไม่นาน ก็ยังดีที่พาร์ตเนอร์ของเราเช่นอาร์เบอร์เอเคอร์ที่เปลี่ยนเจ้าของมาจนวันนี้เรียกว่าAvegien ก็สนใจไบโอเทคโนโลยีและก็ปรับปรุงสายพันธุ์มา10กว่าปี จากเรื่องของจีโนมิก พวกโอมิก DNAทั้งหลาย 3เท่าในการคัดสายพันธุ์ของตัวสัตว์ ฉะนั้นเราจะเห็นว่าทำไมไก่ถึงโตขึ้นมา ปีหนึ่งFCRอาจดีขึ้นมา1Point สิ่งเหล่านี้เราเรียนจากเค้า ติดตามเค้าแล้วเราก็ทำความเข้าใจ อย่างของพี่สนใจเทคโนโลยีก่อนที่ประธานจะพูดถึงฮาร์วาร์ด หลังๆทุกคนพูดเหมือนกับเรา ที่เราสนใจเพราะไปนั่งฟังสัมมนา ไปดูพาร์ตเนอร์ของเราเรื่องวิจัยเรื่องFeed Adjectiveของเค้า ในเรื่องของไ บโอเทคมีอะไรอีกมากมายที่เราต้องพยายามเข้าใจและนำมาแอฟพลาย บางพาร์ตเนอร์เค้ามีผู้เชี่ยวชาญที่เราทำโปรเจคร่วมกัน มีเซ็นMOU โปรเจ็คเหล่านี้เราสามารถให้โภชนาการของเราใกล้Requirementของสัตว์มากขึ้น วันนี้เราพูดได้ว่าฝรั่งมาพูดงานวิจัยของเราเค้าไม่คิดว่าซีพีทำถึงขั้นนี้

“Feed Adjectiveทุกตัวเราต้องวิเคราะห์ได้ต้องดูก่อนว่าดีไม่ดี ห้องแล็ปเราสามารถวิเคราะห์Feed Adjectiveได้ทุกตัว เรามีเครื่องไม้เครื่องมือวิเคราะห์ได้เกือบทุกตัวแล้ว นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่เราได้เปรียบ สอง พอวิเคราะห์ได้แล้ว ต้องทนความร้อนอีกเพราะวันนี้อุณหภูมิที่อยู่ในเครื่องปั้มเม็ดไม่ใช่ 80-90 ต้องมีไฮจิไนเซอร์ตั้ง80-90องศา หลังจากนั้นเรายังต้องไปทดสอบกับตัวสัตว์ พอทดสอบกับตัวสัตว์แล้วไม่ใช่แค่ว่าโตไม่โต ต้องมาดูว่าแบคทีเรียเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวสัตว์ ก็ต้องใช้Molecularทางด้านไบโอเทคโนโลยีมาช่วยด้วย พอเลี้ยงใช้ได้ก็ยังร่วมมือกับอินทิเกรทดูว่าผลการเลี้ยงเป็นอย่างไร ผลสุขภาพเป็นอย่างไร เอาตัวอย่างมาแล้วก็เอาไปเช็คกับDNA ดูแบคทีเรีย ฉะนั้นมันเปลี่ยนยุคของการวิเคราะห์วิจัย ไม่ใช่แค่เรื่องโตไม่โต เพราะวันนี้โตพรุ่งนี้อาจไม่โตก็ได้ ทุกอย่างมันเป็นเทคโนโลยีที่คนไม่เข้าใจ แต่ทำไมเราถึงต้องทำขั้นนี้ พี่บอกซัพพลายเออร์เลยว่าซีพีวันนี้เป็นที่1แล้วจะเป็นที่1ไม่ใช่เรื่องปริมาณ ซึ่งวันนี้Capacityเราเกือบ40ล้านตัน เราผลิตใช้เองจริงๆ30กว่าล้านตัน แต่ปริมาณก็ไม่ใช่เท่านั้น เราต้องมีเทคโนโลยีที่ก้าวเป็นที่1 ก้าวไปข้างหน้าอันนี้ถึงจะยั่งยืน ซึ่งในฐานะผู้บริหารคนหนึ่งก็รู้สึกภาคภูมิใจ”
จับมือกันสร้างคุณภาพอาหารมนุษย์
คุณภัทนีย์เล่าอีกว่าวันนี้ทีมงานวิชาการอาหารสัตวส์ทำงานร่วมกับทีมงานด้านตลาดเรื่องเกี่ยวกับFood วันนี้เรามีไก่เบญจา มีหมูชีวา มีไข่โอเมก้ามา10กว่าปี แต่ว่าการนำเสนอให้กับผู้บริโภคทางด้านการตลาด ซึ่งความจริงวิชาการอาหารสัตว์เน้นตั้งแต่เรื่องโอเมก้า3 เราก็สื่อกับฝ่ายการตลาด อย่างไก่เบญจาเราทำให้ไก่มันนุ่ม ต่อไปจะมีเบญจา พลัสที่จะเสริมเรื่องโอเมก้าเข้าไป กินอร่อยแล้วมีประโยชน์ หมูชีวากว่าจะเป็นหมูชีวา 3ปี ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆเอาโอเมก้า3ที่เป็นวัตถุดิบใส่เข้าไปแล้วจะเปลี่ยน แต่มันต้องมีสายพันธุ์หมู ซึ่งทีมทำงานกับทีมหมูว่าสายพันธุ์มันจะต้องสะสมไขมันแทรก เราก็ต้องมาทดสอบและไม่ให้แพงขึ้นในเรื่องของราคา เรื่องของคุณภาพ การสะสม วันนี้แล็ปของทีมวิชาการอาหารสัตว์สามารถเช็คได้เลยว่าสะสมไขมันอยู่ตรงไหน ปริมาณเท่าไหร่ กี่เท่าของโอเมก้าที่มีอยู่ อันหนึ่งที่ภูมิใจมากที่สุดคืออาหารสัตว์ซีพีใช้วัตถุดิบออแกนิค แร่ธาตุมาเกือบ20ปี เวิร์คกับทางด้านบริษัทซัพพลายเออร์ เราให้เค้าใส่ไอโอดีนเข้าไปเราก็ใส่ในไข่ ไข่ทุกฟองของซีพีรวมกับที่ใช้อาหาร ลูกค้าที่ใช้อาหารของซีพีประมาณ50%ในประเทศไทยมีไอโอดีนสูงประมาณ2ฟอง ตามRequirementของผู้บริโภคเพื่อเป็นประโยชน์กับสังคมมา 20ปี แต่คนไม่รู้ เป็นการปิดทองหลังพระ ผู้บริโภคทั้งคนมีรายได้ต่ำถึงสูงได้รับการบริโภคไข่มีโอเมก้า3ของซีพีมีทั้งวิตามินอีก็สูงเพื่อสุขภาพทั้งนั้น

“วันนี้เราทำFunctional Foodที่เป็นLaw Meterialในหมูชีวาซึ่งมีโอเมก้าสูงเราพยายามคุยกับทางด้านFood วิจัยไม่ใช่แค่ลดกลิ่น ความชอบ เพราะว่าวันนี้เราสามารถที่จะร่วมมือ อย่างPlant Based ต้องมามองNutritionมีอะไรที่เป็นFactorที่ทำให้เฮลตี้ ไม่ใช่ทำให้เหมือนหมู3ชั้น เราพยายามส่งนักวิชาการเข้าไปอยู่ในทีมเพื่อจะได้ช่วยกัน ออฟเฟอร์เลยว่าเราสามารถวัดได้ที่กม.21 แล็ปนี้สามารถวัดได้ทั้งกลิ่นทั้งสี ความหอม อะไรต่างๆ อย่างไมโครทอกซินหรือยาฆ่าแมลง แล็ปของเราสามารถเช็คยาฆ่าแมลงได้20-30ตัว เป็นโปรไฟล์หรือพวกที่เป็นไมโครทอกซินที่สมัยก่อนเรียกอัลฟ่าทอกซิน ใส่เข้าไปปุ๊ปสามารถรู้ทั้งโปรไฟล์ ฉะนั้นวัตถุดิบที่เอามาทำอาหารสัตว์อย่างที่ประธานพูด เรามีซอฟท์แวร์ในการวิเคราะห์และเราเอาซอฟท์แวร์พวกนี้ไปให้ห้องแล็ปทุกๆแห่งในเครือไม่ว่าจะเป็นอาหารสัตว์ ห้องแล็ปสัตว์น้ำให้ใช้เหมือนกัน วันนี้เราถึงมีBig Dataของค่าวิเคราะห์ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำว่าค่าวิเคราะห์เป็นอย่างไรและพยายามที่จะให้หน่วยงานทุกหน่วยงานและให้สามารถดึงมาตรฐานขึ้นมาให้ได้”