คุณพัชรี คงตระกูลเทียน 45ปี ในซีพีกับ 6ยุคสมัยการบุกเบิกเติบโตขยายตัวเปลี่ยนแปลง

คุณพัชรี คงตระกูลเทียนหัวหน้าคณะผู้บริหารสำนักกำกับการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ 1ในผู้บริหารหญิงของ เครือซีพีที่ทำงานกับซีพีมา 45 ปี ได้รับรู้ สัมผัสและร่วมอยู่ในเหตุการณ์ การเติบโต การพัฒนา เปลี่ยนแปลงในช่วง 4ทศวรรษ ได้ถ่ายทอดบอกเล่ากับคณะทำงานด้านContent100 ปีซีพีทำให้เห็นวิวัฒนาการของเจียไต๋และซีพีในเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจให้เรียนรู้

ยุคก่อตั้งร้านเจียไต๋ค้าเมล็ดพันธุ์
คุณพัชรีบอกว่าอยากจะแบ่งช่วงเวลาของเจียไต๋- ซีพี ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยช่วง 40ปีแรกถือเป็นเป็นช่วงยุคผู้ก่อตั้งไปถึงผู้บริหารรุ่นที่2ของซีพีคือท่านประธานจรัญและท่านประธานมนตรี โดยยุคแรกของการก่อตั้งร้านเจียไต๋จึงใช้เมล็ดพันธุ์เป็นตัวตั้งต้นทำธุรกิจ ที่สื่อถึงคุณธรรม ปรัชญาทางธุรกิจ 3ประโยชน์ที่บอกถึงปรัชญารูปสามเหลี่ยม คือเกษตรกร ผู้บริโภคและซีพี สมัยนั้นเจียไต๋ มีการพิมพ์บอกถึงวันหมดอายุของสินค้า ถือเป็นแนวคิดธุรกิจอันแรก เพราะว่าต้องเห็นใจเกษตรกร จากแนวคิดที่บอกว่าต้องดูแลทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค ยุคแรกของซีพีคือเรื่องของความซื่อสัตย์ที่คุณพ่อท่านประธานอาวุโสใส่วันที่หมดอายุของเมล็ดพันธุ์ เพราะเมล็ดพันธุ์มีชีวิต ถ้าหมดอายุไปแล้วให้มาเปลี่ยนใหม่โดยไม่ต้องเสียเงิน คุณพ่อท่านประธานอาวุโสบอกว่าในเมื่อเกษตรกรยากจนอยู่แล้ว แล้วถ้าไปปลูกแล้วเปอร์เซ็นต์งอกไม่ดี เค้าใส่ปุ๋ยไป ใส่อะไรไปแล้วมันไม่งอกหรืองอกไม่ดี เกษตรกรจนอยู่แล้วก็ยิ่งจนยิ่งขึ้น นี่คือBasic Concept ของ3ประโยชน์ ความซื่อสัตย์ที่มีต่อลูกค้า ซึ่งเกือบร้อยปีที่แล้วไม่มีใครคิดถึงเรื่องวันหมดอายุ ส่วนเครื่องหมายตราเครื่องบินบ่งบอกถึงความทันสมัยถึงเอาเครื่องบินเป็นตัวตั้ง คุณพ่อท่านประธานอาวุโสกำลังพูดว่ากำลังให้เทคโนโลยีอย่างดี สินค้าที่มีคุณภาพอย่างดีให้กับผู้ที่เอาไปใช้ประโยชน์ เกษตรกรคือคู่ชีวิต ผู้บริโภคที่ซื้อไปปลูกก็ เช่นเดียวกัน

“สมัยที่ทรงวาด มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากเมืองจีนกลับมาก็มาช่วยกันเอาเมล็ดพันธุ์ใส่ซอง คนที่มีInnovativeมากๆ คือคุณพ่อท่านประธานอาวุโส แต่คนที่รันธุรกิจได้อย่างดี มีคุณธรรมคือท่านชนม์เจริญ น้องชายคุณพ่อท่านประธานอาวุโส ท่านเป็นคนเข้มงวดมากมีDiscipline มาก เป็นคนที่ใจดี ลูกๆหลานๆรัก กล้าเข้าหา

พี่เคยเห็นภาพที่ถ่ายที่โรงงานอาหารสัตว์ที่สิงคโปร์ เป็นภาพของนิสิตจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งด้านเกษตร รัฐบาลจีนถือว่า ให้ความนับถือคุณพ่อท่านประธานอาวุโสกับท่านชนม์เจริญผู้น้อง เรื่องของคนที่คิดเทคโนโลยี ท่านเคยได้รางวัล จากเมืองที่ท่านอยู่ เค้ามีการปะระกวดดอกไม้ในหน้าหนาว ทุกคนเลี้ยงดูอย่างเต็มที่จนดอกไม้พากันออกดอกหน้าหนาว แต่คุณพ่อท่านประธานอาวุโสก่อนถึงวันประกวด สองอาทิตย์ท่านก็เอาผ้าดำคลุม แล้วค่อยเอาผ้าดำออกก่อนปะกวดวันสองวัน ต้นไม้เมื่อมันโดนแดด ดอกก็จะเริ่มบาน ขณะที่ของคนอื่นบานกันหมดแล้ว”

“อีกภาพที่ดิฉันเห็น คุณพ่อท่านประธานอาวุโส ท่านเป็นคนตัวเล็ก แต่ต้นผักกาดขาวที่ท่านปลูกสูงเท่ากับบ่าท่าน ตอนนั้นท่านอายุ 20กว่า นี่คือภาพที่ดิฉันเห็นที่สิงคโปร์ ดิฉันโชคดีเข้ามาปลายๆยุค2ได้รู้จักคุณพ่อท่านประธานอาวุโส ทันท่าน นอกจากเมล็ดพันธุ์แล้ว เจียไต๋ก็เริ่มมีค้าไข่ เราเรียกว่าอาเยี้ยงเจ๊กและก่อนเยี้ยงเจ็กก็มีพี่สาวท่านประธานจรัญก็ไปอยู่โรงไข่อยู่ตรงข้ามกับออฟฟิศที่อยู่ริมแม่น้ำ อยู่แถบเดียวกับวัดเกาะ ก็มีการขายไข่เพราะตอนคุณพ่อท่านประธานอาวุโสกับท่านชนม์เจริญอพยพมาจากซัวเถา ทั้ง2ท่านก็มาอยู่ฮ่องกงและก็ค้าขายไข่ก่อนมาอยู่เมืองไทย”

คุณพัชรีบอกว่าปรัชญาแนวคิด3ประโยชน์ดังกล่าวมาส่งผลมากๆเมื่อตอนซีพีมาจับธุรกิจการเลี้ยงไก่ สมัยก่อนไก่ตัวหนึ่ง เป็ดตัวหนึ่ง คนธรรมดาไม่มีโอกาสกินหรอก ยกเว้นตรุษจีน เพราะว่าสมัยเมื่อ60-70ปี ที่แล้ว ไก่ตัวหนึ่งไม่ต่ำกว่า100บาท เป็ดก็เช่นเดียวกัน สัมยที่คุณพัชรีไปโรงเรียน แม่ให้ตังค์ไปโรงเรียน 5สตางค์ ก๊วยเตี๋ยว1ชาม 3สตางค์ แต่ไก่ตัวหนึ่ง 100บาทลองคิดดูแพงขนาดไหนและสมัยก่อนเลี้ยงไก่อยู่หลังบ้าน เก่งที่สุดเลี้ยงได้ไม่เกิน50ตัว เก่งที่สุด 100ตัว ใช้เวลาเลี้ยง 6เดือนกว่าจะโตและเป็นการเลี้ยงปล่อยไม่มีการควบคุม ไม่มีระบบการป้องกันโรค ขายได้ต้นทุนประมาณ80บาท ก็ได้กำไรสมมุติว่า 20บาท ใช้เวลา 6เดือน 100ตัวก็ได้กำไร200 บาท พอมาถึงยุคท่านประธานอาวุโสสามารถเลี้ยงไก่ได้เป็นหมื่นตัว เพราะไปเอาเทคโนโลยีจากอเมริกา พันธุ์อย่างดี มีการส่งเสริม คนที่บุกเบิกเรื่องนี้คือคุณธีรยุทธที่ไปที่ชลบุรีก่อน เกษตรกรหลังหนึ่งเราการันตีเงินกู้แล้วช่วยเค้าผ่อนส่ง ไก่หมื่นตัว ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ1เดือนครึ่ง พักเล้าอีกครึ่งเดือน ใน2เดือน สมมุติกำไรตัวละ 1บาท ต้นทุน80 ผู้บริโภคซื้อไป19บาท เกษตรกรเลี้ยงหมื่นตัวก็ได้กำไรหมื่นบาทใน2เดือน จากกำไร 200 บาทเป็น5,000บาทนี่คือConceptของการwin win win 3ประโยชน์ เกษตรกรได้ประโยชน์ ผู้บริโภคได้ประโยชน์ ซีพีได้ประโยชน์

ซีพีสู่ยุค2 ค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่งออก เริ่มอาหาร
คุณพัชรีเล่าต่อมาถึงยุคที่2 คือยุคท่านประธานจรัญ เปิดร้านเจริญโภคภัณฑ์ ค้าขายพวกวัตถุดิบที่เป็นสินค้าการเกษตรช่วงเวลานั้นประเทศไทยส่งออกพวกสินค้าคอมมอดีตี้ ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าว ท่านประธานจรัญ ในช่วงต้นของยุคที่2นี้ ซีพียังไม่ได้ขายอาหารสัตว์ เป็นยุคที่ส่งออกดูแลโดยท่านเชิดชัย เจียรวนนท์ มีสำนักงานที่สุรวงศ์

จนกระทั่งในช่วงปลายยุค 2 ท่านประธานจรัญเกิดแนวคิดว่าอะไรที่เราทิ้ง ทำไมเราไม่ทำให้เกิดประโยชน์ ก็เลยเกิดแนวคิดเอาสิ่งเหล่านี้มาทำเป็นอาหารสัตว์โดยใช้มือทำและใช้โม่แบบโม่หินทำแบบManual จนซีพีนำเครื่องจักรจากบริษัทบูเรอร์ ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในโลกในการขายเครื่องผสมทำอาหารสัตว์เข้ามา กลายเป็นอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ตามมาด้วยโจทย์ที่ว่าพอออกมาเป็นอาหารสัตว์ แล้วจะเลี้ยงใคร กลายเป็นที่มาของแนวคิดในการเลี้ยงไก่มากขึ้น ริเริ่มโดยท่านประธานจรัญ ท่านประธานประเสริฐ คุณธีรยุทธที่เพิ่งจบACCคนแรกที่มาทำงานกับเครือ คุณธีรยุทธเป็นคนที่ทำงานที่ดีมาก ท่านประธานอาวุโสเลยให้คุณธีรยุทธไปหาคนจากACCเพิ่ม เป็นที่มาที่มีผู้บริหารมาร่วมงาน อาทิ ตั้งแต่คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ คุณพิทยา เจียรวิสิฐกุล คุณประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ ซึ่งมีการย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ตรอกจันทน์

คุณพัชรีบอกว่าเข้ามาอยู่ที่ซีพีราวปี พ.ศ.2519 ถือเป็นช่วงปลายของยุคที่2 มาทำงานอยู่ที่ตรอกจันทน์ ซึ่งห่างจากบ้านแค่กิโลเดียว แต่สมัยนั้นไม่มีใครรู้จักบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อยู่ที่ไหน ดิฉันอยู่ห่างออกไป1กิโลก็ไม่เคยได้ยินชื่อซีพีเลย

“ ตอนนั้นพี่เรียนACC พี่เป็นACCผู้หญิงรุ่นแรก สมัยก่อนะพี่เป็นครูสอนภาษาจีน แล้วพี่เกิดคออักเสบ ถึงขนาดต้องหยุดการสอน ตอนนั้นสอนอยู่ที่ศึกษาวัฒนา สามย่าน เลยเปลี่ยนวิถีชีวิต ตอนนั้นอายุ22แล้วก็ไปเรียนACCจบปี2519 ตอนนั้นคุณธีรยุทธทำชื่อเสียงไว้ดี เค้าก็อยากจะได้เด็กACCไปทำงาน คุณณัฐกิจสมัยนั้นเป็นHR สมัยนั้นคุณก่อศักดิ์เริ่มเข้ามาแล้ว คุณพิทยา แต่ว่าพี่อายุมากกว่าพวกเค้า เพราะว่าพี่ไปทำงานก่อนแล้วค่อยไปเข้าACC พี่เข้าเรียนช้า ตอนเข้าเรียนพูดภาษาไทยไม่ได้เลย เพราะพูดแต่แต้จิ๋ว คุณพ่ออยากให้เรียนภาษาจีน พี่ก็เลยจบช้า ตอนนั้นพี่อยากไปไต้หวันแต่พ่อไม่อยากให้ไปเพราะมีลูกสาวคนเดียว พี่ก็สะสมเงินตอนที่เรียนอยู่จนมีเงินพอซื้อตั๋วเครื่องบิน แต่พอไม่ให้ไป สมัยนั้นไม่ค่อยมีทางเลือก พ่อไม่ให้ไปไต้หวัน เพื่อนก็เลยชวนไปสอบใบอนุญาตเป็นครูจีน สมัยนั้นครูจีนต้องปั้มลายนิ้วมือ เพราะเค้าจะตรวจว่ามีประวัติเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์หรือไม่สอนอยู่ 2ปีกว่า กว่าจะเข้าACCก็อายุ 22แล้ว เพื่อนคนอื่นเข้าตอนอายุ16 เพวกเค้าก็เลยจบก่อนพี่ ก็ตอนที่สอบเค้าส่งกับตันหญิงในรุ่นพี่ไป แต่ไม่ได้เพราะไม่ได้ภาษาจีน พี่ก็เลยได้ไปสมัครเป็นพนักงานตอบจดหมายของคุณเอี่ยม งามดำรงค์ คุณเอี่ยมกับคุณณัฐกิจก็รับพี่เข้ามาเพราะพี่ได้3ภาษา ไทย จีน อังกฤษ มาช่วยในเรื่องโต้ตอบ หนังสือ 3ภาษา “

“ซีพียุคที่2 ตอนปลายก็เริ่มมี Feed Farm ไปถึงส่งเสริมการเลี้ยงไก่ และโรงฆ่า ยุคนั้นคุณธีรยุทธวางพื้นฐานไว้ สมัยโน้นเวลาไปส่งอาหารสัตว์ต้องขี่จักรยานไปให้ลูกค้า สมัยที่ตรอกจันทน์ แถวนั้นยังเป็นร่องผัก ยังมีคลอง สมัยนั้นถึงเรียกว่าสะพานหนึ่ง สะพานสอง เพราะมีคลองไปถึงวัดโพธิ์แมน เป็นสวนผักหมด ตอนเราอยู่ตรอกจันทน์ก็มีรายอื่นคือป.เจริญพันธุ์ เจ้าของเป็นเพื่อนนักเรียนประถมพี่ สมัยนั้นซีพียังไม่เป็นที่รู้จักนะ จนกระทั่งทำเป็นออโตเมชั่น ในยุคที่สองตอนปลายหรือจะถือว่าเป็นยุคที่สามที่เป็นออโตเมชั่น เป็นเครื่องผสมอาหาร ยี่ห้อบูเรอร์ พี่มาอยู่ตรอกจันทน์ตอนนั้นเป็นสิวเพราะเจอแต่ฝุ่น ถนนที่เดินเข้าไปซอยเย็นจิตก็มืด และทำงาน6วันสมัยนั้น วันอาทิตย์ผู้ใหญ่จะเอาอาหารไปส่ง ออกตรวจลูกค้าต่างจังหวัด ท่านประธานจรัญ ประธานมนตรี คุณประเสริฐ คุณธีรยุทธ แต่ช่วงหลังๆท่านมนตรีก็ไปเรื่องส่งออก ก็จะมีประธานจรัญ ประธานประเสริฐก็มาดูแลเรื่องอาหารสัตว์แล้วก็มีคุณธีรยุทธ คุณธีรยุทธก็มาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายอาหารสัตว์ สมัยนั้นก็มีคุณหญิงเอื้อปรานีมาเป็นพนักงานบัญชีคนแรกของเครือ”

คุณพัชรีเล่าอีกว่าชื่อเจริญโภคภัณฑ์ ท่านประธานจรัญเดิมทีท่านชื่อเจริญ แต่ชื่อไปซ้ำกับคนอื่นท่านก็เลยเปลี่ยนชื่อจากเจริญเป็นจรัญ ฉะนั้นชื่อนี้ตั้งตามชื่อของท่านประธานจรัญ

“ตำแหน่งงานแรกที่ซีพี มาเป็นพนักงานโต้ตอบจดหมาย ให้คุณพิเชษฐ์กับคุณเอี่ยม คุณพิเชษฐ์ก็จะเกี่ยวกับค้าขายคอมมอดิตี้ จะแจ้งราคาค้าขายคอมมอดิตี้วันนี้ค้าขายราคาเท่าไหร่แล้วก็ส่งไปมะละกา มาเลเซีย ฮ่องกง ส่วนคุณเอี่ยมเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศแล้ว มีการส่งออกพวกคอมมอดิตี้ไปต่างประเทศ สมัยนั้นพิมพ์ดีดเป็นแบบไอบีเอ็มหัวลูกกอลฟ์ ตอนนั้นดร.หยีมาดูแลเรื่องนำเข้าหมูก็มาติดต่อจะนำเข้า ดิฉันก็จะเป็นคนร่าง จนกระทั่งมีโรงงานกม.21ก็มีการนำเข้าเครื่องจักร นำเข้าวัตถุดิบ เวลาเสียหาย คุณเอี่ยมก็มาจัดการเรื่องประกันภัย พี่ก็ทำหน้าที่มารีเคลม บังเอิญACCมีสอนเรื่องประกันภัยและบังเอิญพ่อเป็นผู้จัดการบริษัทประกันภัย ก็เลยอาจมีเลือดประกันภัย ก็เลยทำหน้าที่เคลมสินค้าเสียหายให้กับคุณเอี่ยม เลยทำ2หน้าที่ ก็เริ่มมีผู้บริหารรุ่นที่2ปลายๆกับรุ่นสามเข้ามา เช่นคุณพิเชษฐ์ เหล่าเกษม มาจากแบงก์กรุงเทพ คุณพิเชษฐ์เป็นคนพาประธานไปหาอาร์เบอร์เอเคอร์”

เข้าสู่ยุค3สู่ยุคอินทิเกรทปูฐานเกษตรอุตสาหกรรมอาหารขยายการลงทุนต่างประเทศ
“พอมีการขยายไปเรื่องของฟาร์มไก่ คนที่มาดูเรื่องฟาร์มก็คือคุณเทิดพันธุ์ ในความคิดของพี่ถือเป็น ยุคที่3 เริ่มอินทิเกรทแต่ยังไม่ถึงแปรรูป จากไก่เป็นไปโรงฆ่าแล้วก็เป็นไก่สด ไก่แช่แข็งไปประเทศญี่ปุ่น ซีพีเป็นรายแรกที่ทำได้ดีจนญี่ปุ่นยอมรับ ขณะเดียวกันก็เริ่มธุรกิจหมู เราเชิญมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องหมูคือดร.หยี อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์ไต้หวัน คุณเอี่ยมดูต่างประเทศ มีผู้ช่วยคนหนึ่งที่มาดูส่งออกโดยเฉเพาะ คือคุณดำรงเดช ฉลองพันธรัตน์ ต่อมาคุณดำรงเดชก็ไปช่วยดร.หยีไปดูฟาร์มหมูที่กำแพงเพชร ดร.หยีท่านเอาเทคโนโลยีผสมเทียมของวัวมาใช้กับหมู เราก็เลยได้พันธุ์หมูที่ดีมากมาถึงปัจจุบันนี้”

“ ตอนที่ฝ่ายต่างประเทศย้ายจากชั้น2ไปซอยเย็นจิตต์ พี่เป็นพนักงานคนแรกนั่งอยู่ชั้น 3 ข้างในเป็นบริษัทแอ็ดวานซ์ฟาร์ม่ากับเจริญโภคภัณฑ์อินเอกซ์ ของคุณเชิดชัย ก่อนคุณอรุณีคือคุณพิไลลักษณ์เป็นCFO คุณอรุณีเป็นผู้ช่วย มีดร.หลิน อาหารสัตว์ คุณเอี่ยมเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ คุณก่อศักดิ์เป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ คุณบุญประกอบก็เข้ามาช่วงนั้น ชั้น2เป็นทีมขายอาหารสัตว์ทั้งหมด ประธานประเสริฐอยู่ข้างล่าง ประธานอาวุโส คุณธีรยุทธ คุณณัฐกิจ มีคุณธงชัย อัษราวุธเป็นผู้ช่วย ต่อมาคุณณัฐกิจไปเป็นผู้ช่วยคุณธีรยุทธสายอีสาน มีคุณธงชัยมาดูHR แทน คุณบุญประกอบไปเป็นCFOธุรกิจหมู คุณเทิดพันธุ์ก็ดูคอนแทรคฟาร์มมิ่ง คุณธีรยุทธดูเรื่องของขาย ขายอาหารสัตว์ไปจนถึงโรงฆ่าและก็มีผู้บริหารยุคกลางเข้ามา หมูก็มีคุณสมบูรณ์ มีคุณปรีชามาช่วงที่ขยายกิจการไปต่างประเทศ คุณพงษ์ศักดิ์ “

“ในช่วงยุค3 จากการมีFeed Farm โรงฆ่า ก็เริ่มหาโอกาสในการทำธุรกิจในต่างประเทศ คุณประเสริฐไปสร้างธุรกิจอาหารสัตว์ที่มาเลเซีย ดร.หลินไปสร้างธุรกิจอาหารสัตว์ที่ไต้หวัน คุณดำรงเดชนำโดยดร.หยี ไปตั้งฟาร์มกำแพงเพชรให้เป็นโมเดล โครงการเลี้ยงหมูเต็มรูปแบบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และมีกลุ่มพืชด้วย ไปทำข้าวโพด กลุ่มพืชก็จะเกิดในยุคนี้ พอเรามีอาหารสัตว์เราก็เจอปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบ เลยมาปลูก ยุคนั้นก็อาจารย์มนตรี คุณก่อศักดิ์เป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อก็รีครูทอาจารย์มนตรีเข้ามาเพื่อมาขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ซึ่งก่อนหน้านั้นมีคุณเกรียง ดูจัดซื้อก่อนคุณก่อศักดิ์นิดหน่อย เสร็จแล้วก็มาคุณก่อศักดิ์ นี่สายวัตถุดิบ พอคุณก่อศักดิ์เข้ามาก็เอาคุณพิทยาเข้ามา อาจารย์มนตรีมาส่งเสริมปลูกข้าวโพดเพราะข้าวโพดเป็นวัตถุดิบหลักของอาหารสัตว์ เพราะฉะนั้นประเทศไหนที่ซีพีไปลงทุน ทีมอาจารย์มนตรีจะตามไปด้วยไปส่งเสริมให้ปลูกในประเทศเท่าที่ทำได้เพราะต้นทุนอาหารสัตว์มากกว่า87%เป็นเรื่องของวัตถุดิบ”

“ที่ตรอกจันทน์เราใช้ชื่อว่าเจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม ตอนนั้นดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุลเข้ามากับดร.อาชว์ เตาลานนท์ ดร.วีรวัฒน์เข้ามาปรับวิธีการเป็นเจ้าของเดียวให้เป็นบริษัทจำกัด ดร.อาชว์มารวางระบบManagement System ดร.อาชว์เข้ามาวางระบบmangaementถึงมีระบบBudgetingครั้งแรกของเครือ ดร.วีรวัฒน์ช่วยวางระบบของการแปลงจากเจ้าของ ให้เป็นในรูปของบริษัทจำกัด สมัยนั้นถ้าจะกูเงิน ผู้ใหญ่ต้องไปค้ำประกันส่วนตัวจะไปกู้เงินธนาคาร ต้องเซ็นกัน3-4คน ทั้งผู้ใหญ่เจียรวนนท์ไปจนถึงคุณมิน คุณมินบอกถ้าคุณมินไม่เซ็นแบงก์ไม่เอา เราเจอปัญหาไม่สามารถขยายต่อ เพราะว่าเค้าไม่เชื่อบุคคล คือบุคคลไม่ใช่เค้าไม่เชื่อแต่จะใช้ชื่อบุคคลมาค้ำประกันมันไม่มีหลักทรัพย์อะไรเท่าไหร่ ตอนหลังเค้าต้องระดมเงินทุนก็ต้องเป็นบริษัทจำกัด ดร.วีรวัฒน์ก็มาช่วยวางระบบแปลงให้เป็นบริษัทจำกัด ดร.อาชว์ก็มาช่วยวางระบบบริหารการจัดการ ซีพีไม่ได้เป็นบริษัทครอบครัว”

“จากไก่ไปหมู หมูก็เช่นเดียวกัน ขายอาหารหมูก็ต้องมีฟาร์มหมู ฟาร์มหมูก็มีทั้งฟาร์มหมูพันธุ์ ฟาร์มหมูขุน หมูจะไม่เหมือนกับไก่ ถ้าเป็นฟาร์มหมูพันธุ์ สมมุติออกมาแล้วเป็นฟาร์มGGP บางตัวจะรักษาลักษณะของพ่อแม่ได้ก็จะเป็นGP แต่บางตัวออกมาแล้วขาเกิดเสียหายก็กลายเป็นขุนไปเลย บางตัวรักษาลักษณะของพ่อแม่ได้บางทียังมีลักษณะที่โดดเด่นก็ขึ้นไปเป็นGPPใหม่ได้ แต่ไก่ทำไม่ได้ ต้องอาศัยการลงทุนที่เยอะมากเราถึงต้องไปเซิรฟธุรกิจเพียวไลน์เพราะเราต้องการปริมาณมาก มันถึงเป็นที่มาของทีหลังที่เราต้องไปซื้อเอเวียนที่อเมริกาที่ปิดไปแล้ว เดี๋ยวนี้ก็มีพันธุ์ใหม่ที่มา”

“จาก 2สาย ไก่หมูก็เข้าสู่ยุคที่3 ก็ไปอินโดนีเซียท่านสุเมธ แล้วท่านประธานมนตรี ประเทศจีนเริ่ม ตอนที่ท่านประธานสุเมธไปอินโดนีเซีย ซีพีกำลังเริ่มโต ประธานธนินท์เป็นArea Presidentของประเทศไทย การจัดองค์กรสมัยนั้นไม่ได้จัดเหมือนปัจจุบันคือดูแลเป็นเขตประเทศ ไทยประธานอาวุโส ประธานอาวุโสก่อนมาเป็นArea Presidentก็ไปฝึกงานที่ฟาร์มที่นครปฐม เลี้ยงหมูเพราะฉะนั้นท่านประธานอาวุโสถึงเก่งมาก รู้เรื่องหมู ท่านรู้หมดแม้กระทั่งอุณหภูมิเท่าไหร่ ที่มาของอีแวบก็เพราะแบบนี้ ทำไมเวลาที่หมูคุลุกเขา เวลาหมูจะคลุกเขาลงไปกินน้ำต้องทำให้เรียบเพราะไม่เช่นนั้นหัวเข่าหมูจะถลอกจะทำเสียราคาและเชื้อโรคก็จะเช้าไป ประธานสุเมธไปต้องนั่งโต๊ะนักเรียนไม้กลางแจ้งคุมการก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์อยู่1ปีที่เขตอุตสาหกรรมอังโจ้ จากาตาร์ ท่านไปคุมการก่อสร้างจนเสร็จ เพราะฉะนั้นก็เป็นยุคที่เริ่มออกสู่ต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง เพื่อขยายด้วย “

“ส่วนท่านประธานอาวุโส ช่วงนั้นซีพีเริ่มตั้งตัวได้ ที่ตั้งตัวได้เพราะมันมีเหตุการณ์สำคัญ ในปี2525 พลเอกเปรมมาเป็นนายก ช่วงนั้นประเทศไทยมีการลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ท่านประธานอาวุโสขึ้นมาเป็นประธานArea President ตอนนั้นเรายังไม่มีซีพีเกษตร เรามีโรงงานอาหารสัตว์อยู่ไม่กี่แห่ง กม.21 ตรอกจันทน์ และเราเริ่มไปตั้งที่ลำพูนคุณอดิเรกไปอยู่ลำพูน ช่วงนั้นเราก็มีคู่แข่ง แต่พอลดค่าเงินบาท ทุกคนหยุดการลงทุนหมด ท่านประธานอาวุโสเป็นคนเดียวที่บอกว่าเราต้องขยาย ท่านก็สั่งให้ตั้งร้านซีพีเกษตรทุกจังหวัดในประเทศไทย เพื่อเป็นแหล่งระบายอาหารสัตว์ ยาสัตว์ อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์และก็ไข่ ลูกเจี๊ยบเป็นซีพีเกษตร ถ้าเราคิดถึงซีพีเพรชมาร์ทในปัจจุบันนั่นคือสำเร็จแล้ว ซีพีเกษตรก็คือLaw Material สมัยนั้น พี่หนักที่สุด ทุกคนก็หนักเพราะอะไร เพราะท่านประธานสั่งให้ลุย ในขณะที่คนอื่นหยุด

พอหลังจากนั้นปี2528ประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว คนอื่นที่นำหน้าซีพีหยุเดซีพีซึ่งแข่งกันมาแซงหน้า นี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญสุดสำหรับซีพี วิกฤตคือโอกาส ก็ขยายอย่างมาก แต่ก็เป็นที่มาของงานพี่ก็คือว่า ช่วงนั้นพอมันขยายมาก โรงงานอาหารสัตว์ผลิต24ชั่วโมง 7วัน ไม่มีเวลาหยุดเพื่อซ่อมบำรุงก็เริ่มมีปัญหาฝุ่นระเบิด ไฟไหม้ วัตถุดิบระอุไหม้ทุกแห่ง และขณะที่ธุรกิจไปดีมากก็เริ่มไปต่างประเทศด้วย เป็นแบบนี้ ทีมข้าวโพดก็ต้องตามไปด้วย อาจารย์มนตรีกับทีมก็ต้องตามไปช่วยที่อินโด ตอนนั้นเราเริ่มทำอินทิเกรทแต่ยังไม่ถึงขั้นแปรรูป ฟีด ฟาร์ม ยังไม่ถึงฟู๊ด มีแค่โฟสเซ่นและส่งออกหรือในประเทศ นี่คือจุดขยายอย่างมากและตอนหลังก็ไปถึงตุรกีกับโปรตุเกส”

กรณีของ ตุรกี โปรตุเกส เวิร์ลแบงก์ได้รับการทาบทามจากกลุ่มบริษัทใหญ่ที่ทำอาหารสัตว์ที่อยากจะขยายมาทางภูมิภาคเอเชีย เค้าก็ต้องการลงทุนในในตะวันออกกลางและซีกตะวันออกของยุโรป เค้าก็ไปถามทางเวิร์ลแบงก์ว่าถ้าเขาจะมาทางเอเชียควรจะหาใครเป็นหุ้นส่วนเวิร์ลแบงก์ก็แนะนำว่าควรจะเป็นซีพีเค้าก็เลยมาหาซีพี ตอนนั้นเราไป4-5ประเทศแล้วและตอนนั้นราวปี2528 เราขยายอย่างรวดเร็ว เราเริ่มมีปัญหาเรื่องพีอาร์ มีสื่อแอบเข้าแล้วมารู้เรื่องของเราก็คิดไปใหญ่ว่าเราผูกขาดเราก็เลยจำเป็นต้องเปิดพอเปิดโลกก็รู้ คนเริ่มรู้จักซีพี บริษัทนี้ก็รับรู้แล้วก็มาคุยกับเรา จีบเรา เราก็คิดว่าดีนะที่เราจะมีโอกาสใช้ตรกีเข้าสู่ยุโรป ก็เลยตกลงกันว่าจะไปตั้งที่ตุรกีกับโปรตุเกส เซ็นเสร็จเรียบร้อย ปรากฏว่าท้ายที่สุด เปลี่ยนCEOทางบริษัทนั้นไม่เอาจะทำอย่างไงก็ต้องทำรายเดียว

แต่ปัญหาเราเจอที่โปรตุเกส กับตุรกีมี เพราะเข้าข่ายเป็นเมดิเตอร์เรเนียน คนที่ไปอยู่ที่นั่น อย่างโปรตุเกส ในหลักภูมิศาสตร์อากาศดีมากอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนี่ยนไม่ร้อนเกินไม่หนาวเกิน เลยกลายเป็นแหล่งเกษียณของชาวอังกฤษและเวลาหน้าร้อนทั้งตุรกี โปรตุเกส แทบหาคนทำงานไม่ได้เพราะเค้าจะพักกันเป็นเดือนและชวนครอบครัวไปอยู่ริมเมดิเตอร์เรเนียนแล้วก็พวกเค้าจะตื่นกันสาย ทานข้าวสายสิบโมงเริ่มงาน 2ทุ่มอาหารเย็นก็ต้องออกไปดื่มกันก่อน 3-4ทุ่มค่อยรับประมานอาหารเย็น กว่าจะกลับบ้านก็เที่ยงคืน แต่เราก็จะเร่งผลิตอาหารสัตว์ ปรากฏว่าไม่มีคนทำงาน บอกให้3แรงก็แล้วก็ไม่เอา แพคเกจจิ้งก็ทำไม่ได้เพราะคนงานหยุดไปต่อไม่ได้เลยต้องปิดโปรตุเกสเหลือไว้แค่ตุรกี

ไต้หวันไปตอนแรกก็ไปได้ดี แต่มีปัญหาก่อนจีนเปิดประเทศ พอจีนเปิดประเทศ เราก็เข้าไปประเทศจีนไต้หวันก็เลยเริ่มชะลอและชาวไต้หวันก็เริ่มชิฟท์ไปอยู่ที่ประเทศจีน ส่วนมาเลเซียไปได้ดีแต่มาเลเซียเราทำได้แค่ไก่เพราะเป็นอิสลาม ส่วนอินโดนีเซียไปได้ดีมากเรื่องของไก่ อินโดนีเซียถ้าพูดถึงเกษตรจะใหญ่กว่าประเทศไทยเพราะคนมาก 120ล้านคน แต่เป็นเกาะการบริหารก็จะยากมาก ทุกอย่างต้องลงเรือข้ามเกาะก็จะเป็นความยากอีกอย่างแต่ก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพเพราะเราเป็นรายแรกมีส่วนแบ่งตลาดมาก และคนจะไปทำงานที่อินโดนีเซียไม่ง่าย มาเลเซียหรือสิงคโปร์ เพราะมีประเด็นเรื่องของการกีดกันคนผิว เพราะว่าอย่างอินโดพอมีคนจีนอพยพเข้าไปหลังจากจีนเปิดประเทศจีนก็เป็นนักธุรกิจ ก็เป็นการยึดธุรกิจ เศรษฐกิจอยู่ในมือคนจีนมากกว่าประเทศไทย แต่ประเทศไทยคนจีนเป็นนักธุรกิจเยอะก็จริงแต่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับคนไทยและเป็นที่ยอมรับ

สู่ยุคที่4 สู่ Modern Trade
คุณพัชรีบอกว่าหลังยุคที่3 ซีพีก็เข้าสู่ยุค ที่ 4 เริ่มไปสู่ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งโดยเริ่มต้นเซเว่น แม็คโคร โลตัส ตามมาด้วยอุตสาหกรรม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในช่วง30ปีหลัง ย้ายมาที่ตึกซีพี สีลม

สู่ยุคที่5 ยุคโทรคมนาคม
และตามด้วยยุค5มีกิจการโทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจแตกต่างจากยุคก่อน สำนักงานอาคารทรูแล้วช่วงนี้ก็มีธุรกิจปิโตรเคมีด้วยจนเป็นที่มาของกลุ่มบรรจุภัณฑ์ปัจจุบัน สำหรับยุคที่4-5 ถือได้ว่าเป็นยุคของการDiversify

แถมท้ายบทเรียนจากการทำรายการCCTV
ก่อนปิดการพูดคุย คุณพัชรีได้เล่าถึงเรื่องราวของซีพีว่าทำไมซีพีสำเร็จมากในประเทศจีนเพราะตอนเข้าไปที่จีน คุณธนากรไปทำรายการกับCCTV ตอนนั้นจีนเพิ่งเริ่มเปิดประเทศ เหมือนปิดประเทศมานานเกือบ50ปี คนจีนก็ไม่รู้ว่าโลกไปถึงไหน เราก็ไปทำรายการวาไรตี้โชว์ จีนเค้าเก่งมากในเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อ เค้ามีสถานีโทรทัศน์ตั้งแต่ระดับประเทศ มีหลายช่องมากและมีโทรทัศน์ที่มีการจัดกรายการเช่นสารคดี ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ฯลฯแล้วก็จะลงไปถึงระดับมณฑล ระดับเมือง บางแห่งลงไปถึงระดับอำเภอเพราะฉะนั้นเพื่อสื่อสารทั้งหมดของพรรคคอมมิวนิสต์ อาศัยทีวีเป็นสื่อประชาสัมพันธ์คนพันล้านคน เค้าก็บังคับว่าคุณจะดูโทรทัศน์ของอันไหนก็ได้แต่ให้CCTV1หรือ2ให้ถ่ายทอดทั่วประเทศซึ่งมีคนดูอยู่ประมาณ800ล้านคน เราไปได้ทีวีมาช่อง1หรือ2 พิธีกรหยางหลางก็เหมือนทายปัญหาในทีวี เช่นอันนี้คือที่ไหนของโลกพาไปทัวร์แล้วทายปัญหาการท่องเที่ยว คนจีนก็เลยดีใจมากเปิดโลกทัศน์ ชื่อเสียงเราก็เลยดี Corporate Brandก็ดี